อนุทินล่าสุด


สุกัญญา ภิรมย์
เขียนเมื่อ

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาการจัดระบบบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนวัดสีสุก สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

ผู้ศึกษา              นางวาสนา  เจียนสุวรรณ

โรงเรียน            โรงเรียนวัดสีสุก สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

ปีการศึกษา        2555

บทคัดย่อ

        การศึกษาเรื่อง การพัฒนาการจัดระบบบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนวัดสีสุก สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานการพัฒนาการจัดระบบบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา  เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริหาร และการประกันคุณภาพการศึกษาของ โรงเรียนวัดสีสุก สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนวัดสีสุก สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน    67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา

       ผลการศึกษา

        ผลการศึกษาสภาพการจัดระบบบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนวัดสีสุก สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร พบว่า สภาพของระบบหลักของสถานศึกษา ได้แก่ ระบบการเรียนรู้ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และระบบกิจกรรมนักเรียน มีสภาพการดำเนินงานทั้งด้านการวางแผน การควบคุมคุณภาพและการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา สูงกว่าร้อยละ 70.00 ทุกข้อมีการดำเนินการมากที่สุด เรื่องการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ด้านวิชาการ ทั้ง 8 กลุ่มสาระ ด้านการวางแผนคุณภาพร้อยละ 100.00 ด้านการควบคุมคุณภาพ ร้อยละ 98.51 และด้านการปรับปรุงคุณภาพ ร้อยละ 97.01 สภาพการดำเนินการน้อยที่สุด เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก้ปัญหาท้องถิ่นได้และสามารถนำไปปฏิบัติ

ได้จริงด้านการวางแผนคุณภาพ ร้อยละ 74.63 ด้านการปรับปรุงคุณภาพร้อยละ 73.13 และด้านการควบคุมคุณภาพร้อยละ 70.15 สำหรับปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาคุณภาพของระบบบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา ในระบบหลักของสถานศึกษา พบว่า ด้านการวางแผนคุณภาพปัญหาที่พบมากที่สุด เรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือปัญหาครูขาดความสนใจ และขาดจิตสำนึกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและชุมชนไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการวางแผนพัฒนาการศึกษา แนวทางแก้ปัญหาได้แก่ การอบรมให้ความรู้และพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง ศึกษาดูงาน ประเมินผลการทำงานจากการสอนและการวางแผน ครูที่พัฒนาการสอนจนได้คุณภาพควรเลื่อนวิทยฐานะ และให้ค่าตอบแทน และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการควบคุมคุณภาพ ปัญหาที่พบมากที่สุด เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่นคือปัญหา ขาดครูและบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญในการสอนวิชาเกี่ยวกับหลักสูตรที่มีในท้องถิ่น แนวทางแก้ปัญหาได้แก่ จัดให้มีบุคลากรภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นวิทยากรจัดการเรียนการสอน และด้านการปรับปรุงคุณภาพ ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ เรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ หลักสูตรความต้องการของตัวผู้เรียนและท้องถิ่น คือปัญหาขาดผู้ชำนาญการด้าน หลักสูตรที่จะมาทำหลักสูตรร่วมกับครูผู้สอน แนวทางแก้ปัญหาได้แก่ จัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร มาให้ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ในส่วนของแนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษาในระบบหลักของสถานศึกษา ด้านการวางแผนคุณภาพ การควบคุมคุณภาพและการปรับปรุงคุณภาพ ได้แก่ การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างโรงเรียน บ้านและชุมชน การพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอน ให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการสอน ผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็นผู้นำและส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชา ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องปฏิบัติในสังคมร่วมกับผู้อื่น จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร การดำรงจุดแข็งและปรับปรุงจุดอ่อนของโรงเรียน และการจัดให้มีทีมคุณภาพของโรงเรียน

 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

สุกัญญา ภิรมย์
เขียนเมื่อ

เรื่อง                    การพัฒนาและผลการใช้หนังสือเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                             เรื่อง ขุนคณิต คิดหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย                   นางสาวสุกัญญา  ภิรมย์       ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

หน่วยงาน          โรงเรียนวัดสีสุก  สำนักงานเขตจอมทอง  กรุงเทพมหานคร

ปีการศึกษา        2556

บทคัดย่อ

 

                      การพัฒนาและผลการใช้หนังสือเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ขุนคณิต คิดหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสือเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ขุนคณิต คิดหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การหาร จากการเรียนโดยใช้หนังสือเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ขุนคณิต คิดหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ขุนคณิต คิดหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคต้น         ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดสีสุก สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ หนังสือเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ขุนคณิต คิดหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีทั้งหมด 5 เล่ม ได้แก่ (1) เรื่อง ทบทวนการหาร (2) เรื่อง การหารสั้น (3)  เรื่อง การหารที่ตัวหารมีสองหลัก (4) เรื่อง การหารที่ตัวหารมีสามหลัก และ (5) เรื่อง โจทย์ปัญหาการหาร แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การหาร และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ขุนคณิต คิดหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม  SPSS  หาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า

                      1.   หนังสือเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ขุนคณิต คิดหารกลุ่มสาระ   การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  (E1/E2: 85.03/84.70)

                      2.   นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ขุนคณิต

 คิดหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การหาร สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                3.            นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสือเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ขุนคณิต คิดหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก ทั้ง 5 เล่ม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท