การพยาบาลต่างวัยเพื่อสุขภาพเด็กและผู้สูงอายุ


Intergeneration Care for Health of Children and the aged

Intergeneration Care for Health of Children and the aged

การพยาบาลต่างวัยเพื่อสุขภาพเด็กและผู้สูงอายุ โดย รศ.ดร.ศิริพร ขัมภลิขิต

คำกล่าวที่ว่า ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูที่แม่ ดูให้แน่ต้องดูให้ถึงปูย่าตายายนี่คือการเริ่มต้นของการประชุมวิชาการที่โรงแรมรามาการ์เด้น เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548  เรื่อง การพยาบาลต่างวัยเพื่อสุขภาพเด็กและผู้สูงอายุ การที่เด็กได้อยู่ในสังคมที่มีผู้สูงอายุดูแลเป็นความเข้มแข็งของสังคมที่จะกั่นกรองวัฒนธรรมอื่นได้บ้าง ปกติในสังคมเดิมของคนไทย Intergeneration Care เป็นอยู่แล้วตามธรรมชาติ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลูก หลาน ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ปัจจุบันก็ยังมีอยู่และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

สังคมต่างวัยที่มีผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ และเด็ก อยู่ร่วมกัน มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร

ลักษณะนิสัย

การเรียนรู้ การสืบทอดวัฒนธรรมของสังคม ความคิด ความเชื่อ การปฏิบัติต่อกัน กริยามารยาท ระเบียบ ประเพณี

การที่ผู้สูงอายุดูแลเด็ก

เด็กได้รับการดูแลด้วย ความรัก ความอบอุ่น มีโอกาสที่จะเจริญเติบโตด้วยความรู้สึกที่ปลอดภัย รักผู้อื่น และรักผู้สูงอายุ ทั้งหมดต่างเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน

แต่สังคมปัจจุบัน บางส่วนอาจจะมี

-          ต่างคนต่างอยู่ ถึงแม้จะอยู่ร่วมกัน

-          ต่างคนต่างอยู่ แยกจากครอบครัวเพราะความจำเป็นของอาชีพ

-          ทิ้งภาระให้ผู้สูงอายุดูแลเด็กด้วยความไม่พร้อม

-          จำกัดขอบเขตปู่ย่าตายายในการดูแลเพราะความไม่เชื่อในภูมิปัญญาการดูแล

-          ปู่ ย่า ตา ยาย แย่งบทบาทในการดูแล

-          ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งอยู่ในสถานสงเคราะห์ เฉพาะกลุ่มอายุ

-          เด็กส่วนหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงเด็ก เฉพาะกลุ่มอายุ ทำให้ขาดโอกาสเรียนรู้ ดูแล ผูกพันซึ่งกันและกัน

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอายุในประเทศไทย และประเทศตะวันตก ต่างกัน

ในประเทศตะวันตกเป็นสังคมที่

-          ให้คุณค่ากับความเป็นอิสระในตนเอง ในการดำเนินชีวิต มีความเป็นส่วนตัวสูง

-          ให้คุณค่ากับการช่วยเหลือตนเองตั้งแต่เด็ก จนสูงอายุเด็กออกจากบ้าน หางานทำตั้งแต่วัยรุ่น

-          มีสวัสดิการสำหรับ เด็ก และผู้สูงอายุมากกว่า ทำให้ความจำเป็นในการพึ่งพาคนในครอบครัวน้อยกว่า

ความจำเป็นในการมี  Intergeneration care ในประเทศตะวันตก เพื่อเติมเต็มในด้านจิตใจและสังคมของทั้งสองฝ่าย

Intergeneration care หมายถึงอะไร

                คือการจัดการให้ผู้สูงอายุ ซึ่งอาจใช่ หรือไม่ใช่บุคคลในครอบครัวเด็กได้มีโอกาสอยู่ร่วมกันกับเด็ก ดูและซึ่งกันและกันมีกิจกรรมร่วมกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ผูกพันกัน มีความสุขทั้งสองฝ่าย มีสวัสดิการสำหรับเด็ก และผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก ผู้สูงอายุได้รับสวัสดิการพื้นฐาน จากรัฐทำให้ความจำเป็นในการพึ่งพาคนในครอบครัวมีน้อยกว่าในการตอบสนองด้านร่างกาย Physiological needs แต่อาจ เหงา ซึมเศร้า รู้สึกไร้ค่า

การดำเนินการในประเทศตะวันตก

                การให้ผู้สูงอายุและเด็กได้มีกิจกรรมร่วมกันช่วยเหลือดูแลอยู่ร่วมกัน เช่น การจัดสถานที่เลี้ยงเด็กในที่พักคนชรา แต่ไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบของผู้สูงอายุในการดูแลเด็ก การให้เด็กมัธยม สอนคอมพิวเตอร์ในผู้สูงอายุ การให้ผู้สูงอายุสอนเด็กเช่นศิลปะ ดนตรีหรือเล่าเรื่อง เล่านิทานให้เด็กฟัง การจัด Intergeneration school การจัด Intergeneration Day โดยมีองค์กรสนับสนุนเช่น www.qu.org เป็นต้น

การดำเนินการในประเทศไทย Intergeneration care ควรเป็นบทบาทของใครบ้าง

-          กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

-          กระทรวงศึกษาธิการ

-          กระทรวงสาธารณสุข

-          อบจ อบต

-          ชุมชน

-          ครอบครัว

บุคคล องค์กร สถาบัน ที่ควรรับผิดชอบมีบทบาทในการส่งเสริม Intergeneration care ไม่ใช่พยาบาลแต่เพียงคนเดียว วิชาชีพเดียว

ขอบเขตความรับผิดชอบของพยาบาลต่อการเกิด Intergeneration care

                การจัดการให้ผู้สูงอายุซึ่งอาจใช่ หรือไม่ใช่บุคคลในครอบครัวเด็กได้มีโอกาสอยู่ร่วมกันกับเด็ก ดูแลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมกันเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ผูกพันกัน อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข Intergeneration care ในประเทศไทย อาจเป็นเรื่องของการพยาบาลครอบครัว การพยาบาลชุมชน ในการสร้างสัมพันธ์ ปรับตัวในครอบครัวขยาย ในการสร้างการยอมรับภูมิปัญญาของผู้สูงอายุทั้งในครอบครัว และชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิง การเลี้ยงดูเด็ก การดูแลสุขภาพ การจัดการให้มีอาสาสมัครผู้สูงอายุดูแลเด็ก อาสาสมัครเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ

แนวทางการดำเนินงานควรเป็นอย่างไร

ใช้กลวิธีการพยาบาลชุมชน การระบุปัญหา การวางแผน การดำเนินการ การจัดทำโครงการ การประเมินผล ใช้หลักการมีส่วนร่วมของชุมชน การมีเครือข่ายกับองค์กร หน่วยงาน การใช้โอกาสจากประเพณี วัฒนธรรมไทยให้เกิดประโยชน์ เช่น วันสงกรานต์ วันผู้สูงอายุ จำทำอย่างไรให้มากกว่าการลดน้ำขอพรแล้วแยกกันไป วันเด็ก ทำอย่างไรให้มากกว่า การเล่นสนุกสนานในกลุ่มเด็กได้ของขวัญจากผู้ใหญ่แล้วเลิกกันไป......
               
หมายเลขบันทึก: 9927เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2005 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท