พัฒนา "คน" แนวไหนดี ???


..." การพัฒนาบุคคลากรจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทั้งทางด้านจิตใจ และพัฒนาด้านทักษะ "

     จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เราพูดกันถึงแนวทางการพัฒนา บุคลากรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในวงแลกเปลี่ยนนั้น ทางศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานบอกว่า "มีหลักสูตรที่พัฒนาทักษะ" ในแต่ละด้าน อย่างเช่นช่างเชื่อมก็มีหลักสูตรเกี่ยวกับการเชื่อมต่างๆ ให้ได้ศึกษากัน

     มีคำถามอยู่อีกว่า " ถ้าพัฒนาให้บุคลากรมีทักษะ ความสามารถอย่างดีที่สุดแล้ว จะเพียงพอต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพไหม" ...ในช่วงนี้ได้มีผู้ประกอบการรายหนึ่ง ได้ยกตัวอย่างสถานประกอบการของตนเอง ที่ได้ส่งให้พนักงานไปอบรมด้านทักษะ  จนเกิดความเชี่ยวชาญในงาน ถือว่าเรื่องฝีมือ ไม่เป็นรองใคร  แต่เวลาทำงานชอบเหม่อลอย เวลาลูกค้ามาใช้บริการก็ไม่ค่อย สนใจ ...งานที่รับผิดชอบก้ไม่ค่อยสำเร็จ  มีงานค้างมากกว่าคนอื่นๆที่มีระดับฝีมือน้อยกว่า...

      ในวงแลกเปลี่ยนเราได้คุยกันค่อนข้างมาก..ทั้งจากเจ้าหน้าที่ทางศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ,เจ้าของสถานประกอบการ,เจ้าหน้าที่จาก  สกว. จนสุดท้ายเราได้ข้อสรุปว่า ..." การพัฒนาบุคคลากรจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทั้งทางด้านจิตใจ และพัฒนาด้านทักษะ " ถึงจะก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพได้ เพราะถ้าพัฒนาทางด้านทักษะอย่างเดียว แต่จิตใจไม่พร้อม หรือมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากที่บ้าน หรือที่ทำงาน ก็จะทำให้ไม่มีใจต่อการทำงาน...

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาบุคลากร
หมายเลขบันทึก: 99075เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2007 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

จิตเป็นนายกายเป็นบ่าวครับ....เมื่อจิตใจดี  งานก็ดีด้วย

มาเยี่ยมครับ

ขอบคุณมากค่ะ

แวะมาเก็บความรู้ดี ๆ จากบล็อกนี้ค่ะ :)

ส่วนหนึ่งดิฉันคิดว่า การพัฒนาเกี่ยวกับงาน คงจะต้องมีการปรับทัศนคติของพนักงานให้เป็นเชิงบวกด้วยค่ะ เพราะส่วนหนึ่งของการทำงาน ถ้าเรามีทัศนคติที่ดีก็จะทำให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่นและพร้อมที่จะเรียนรู้และทำงานได้อย่างมีความสุข ค่ะ

 

ขอบคุณครับ

คุณย่ามแดง...ที่แวะเข้ามาเยี่ยม และช่วยเติมเต็มให้บันทึกนี้สมบูรณ์ขึ้นครับ

คุณมะปรางเปรี้ยว..ถูกต้องแล้วคร๊าบ..ลองคนมีทัศนคติดี..จิตใจดี..ฝีมือดี..สุดยอดเลยครับ..

เห็นด้วยนะคะ การพัฒนาต้องพัฒนาคนทั้งคน ทั้งกาย จิต สังคม ถ้าพัฒนาจริงๆ ต้อง จิตวิญญาณด้วย (holistic) ขอบคุณนะคะ สำหรับสาระดีๆ ที่ถ่ายทอดลงมาในบล็อค จะพยายามแวะมาอ่านบ่อยๆค่ะ // แวะมาขอบคุณสำหรับความรู้ที่แชร์ในเวที KM Research ที่จุฬาฯ ด้วยค่ะ

My blog : http://weblog.manager.co.th/publichome/xanax

สวัสดีค่ะ คุณภูคา
P
 ตามหลักการออกแบบหลักสูตรเพื่อฝึกอบรม ที่ทราบมา วัตถุประสงค์ของหลักสูตรต้องครบทั้ง 3 ด้าน
 1. เรียนแล้วรู้อะไร (Knowledge)
  2. เรียนแล้วคิดอย่างไร เป็นอย่างไร (Attitude)
  3. เรียนแล้วทำอะไรได้ (Skills)
จึงจะทำให้ผู้เรียนได้ครบเครื่อง ปัจจุบันต้องกำหนดกิจกรรมสร้างแรงจูงใจให้อยากเรียน อยากนำความรู้ไปใช้ด้วย เรื่องนี้สำคัญมากค่ะ
 นอกจากนั้นในช่วงการนำความรู้ไปใช้จริง สภาพแวดล้อมในที่ทำงานต้องสร้างบรรยากาศ โอกาส และมีหัวหน้าคอยช่วยแนะนำเพิ่มเติม สำหรับกรณีที่เล่าว่า พนักงานเหม่อลอย ไม่สนใจลูกค้า งานนี้ต้องให้หัวหน้าคอยช่วย coaching & feedback และต้องมีการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
classroom training หรือ on the job training เป็นเพียงหนึ่งในหลายวิธีที่จะพัฒนาคน แต่คนส่วนใหญ่ชอบคิดว่าเป็นยาครอบจักรวาล

เห็นด้วยอย่างยิ่งคะ ว่าการพัฒนาบุคลากรต้องพัฒนาทั้งจิตและทักษะควบคู่กัน...
สำหรับในแง่มุมของตนเองคิดว่าจิตต้องมากก่อนทักษะคะ เช่น หากจิตพร้อมให้บริการ จะทำให้เราต้องค้นหาทุกวิถีทาง ทุกเวลา ที่จะทำให้การบริการดีเยี่ยมคะ

ขอบคุณครับ

  • คุณนริสรา..ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ..ยิ่งแลกเปลี่ยนกันมากๆ ก็เกิดความรู้ใหม่มากขึ้น..
  • คุณ citrus..ดีจังเลยครับที่สะท้อนให้เห็นแนวทางการพัฒนาใหม่ ที่หลุดออกจากกรอบเดิมๆบ้าง ท้ายที่สุดผมคิดว่าต้องผสมผสานกันไป ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ครับ...
  • คุณ ปิติกานต์..สำคัญก็คือเริ่มต้รที่ตัวเราด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท