การทำบล็อก


บล็อก (Weblog, Web log, Blog)
Blog คืออะไร?
        Weblog หรือเรียกสั้นๆ ว่า blog (บล็อก) มาจากคำ 2 คำ คือ " Web” ก็คือเว็บไซต์ กับคำว่า “Log” ที่หมายถึงสมุดที่ใช้บันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน พอจับมารวมกันเลยออกเสียงควบเป็น Web–Blog ( เว็บ - บล็อก) บางครั้งก็ย่อเหลือเพียง Blog (บล็อก)และใช้ภาษาสคริปต์เช่น PHP อยู่เบื้องหลังการจัดการระบบบล็อก  ให้อธิบายง่ายๆ blog คือไดอารี่ออนไลน์นั่นเอง เริ่มจากเราทำการสมัครสมาชิกของ blog หรือจะตั้งเซิร์ฟเวอร์เองก็ได้ โดย blog จะแสดงผลตามวันเหมือนกับไดอารี่ทุกประการ หลายคนอาจเกิดคำถามว่า แล้วจะเขียนเรื่องอะไรลงใน blog ของเราดีล่ะ อันนี้หลากหลายมาก (เหมือนกับเราเขียนไดอารี่นั่นแหละ) บางคนอาจจะบันทึกเรื่องที่เจอในแต่ละวัน บางคนอาจจะเขียนวิจารณ์ข่าวสารบ้านเมือง บางคนอาจจะแนะนำเว็บไซท์ที่เจอมาในวันนั้น แต่งกลอน โพสต์รูปที่ไปเที่ยวมา หรือบางครั้งก็ร่วมกันเขียนเป็นทีม ขึ้นกับเจ้าของ blog ว่าต้องการเขียนไปในทางไหน


ข้อแตกต่างระหว่าง Weblog กับ Webpage และ Weblog กับ Webboard
         ความแตกต่างระหว่าง Weblog กับ Web Page คือ Blog มีเนื้อหาใหม่อยู่เรื่อยๆ เราสามารถดูแล Blog ให้ใหม่ทันสมัยได้ง่ายกว่า และไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรพิเศษเลย แต่ Web Page เนื้อหาจะคงที่ update ยาก ไม่ทันเหตุการณ์ ในส่วนของ Weblog กับ Web Board นั้น Web Board ควบคุมเนื้อหาได้ยาก ทุกคนเขียนได้หมด เพราะไม่มีเจ้าของชัดเจน ส่วน Blog นั้นมีเจ้าของชัดเจน เจ้าของสามารถจัดการเรื่อง Comment ได้ จะห้าม comment หรือ ลบ comment ก็ได้ Weblog นั้น คงไม่สามารถมาแทนที่ Web Board ได้ แต่จะอยู่ร่วมกันไป เรื่องใดที่ต้องการควบคุมเนื้อหาได้ก็ใช้ Weblog ส่วนเรื่องใดที่ต้องการให้มีการแสดงความคิดเห็นเยอะๆ ก็ใช้ Web Board

ทำไม blog ถึงมีค่าแก่การพูดถึง?
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว การเขียน blog ฟังดูธรรมดามากเลยใช่มั้ยครับ แต่ตอนนี้มันกลายเป็นสิ่งที่ฮิตและอินเทรนด์ที่สุดบนอินเทอร์เน็ตไปแล้ว สาเหตุที่น่าจะทำให้ใครๆ ก็ติด blog มีหลายประการดังนี้
1.       เขียน blog เหมือนกับเล่นเว็บบอร์ด
        กฎข้อแรกของการสร้างเว็บไซท์ให้ติดตลาด คือ ต้องทำให้ผู้ชมกลับมาเยี่ยมเว็บของเราอีกให้ได้ และวิธีที่ง่ายและได้ผลที่สุดคือสร้างชุมชนของผู้ชม (Community) ให้เกิดขึ้นบนเว็บของเรา เพราะเหตุนี้จึงทำให้เว็บที่เน้นการสนทนาผ่านเว็บบอร์ดอย่าง Pantip.com กลายเป็นเว็บไซท์อันดับหนึ่งของเมืองไทยมาหลายปี blog เป็นการแสดงความคิดเห็นของเราให้คนอื่นอ่านวิธีหนึ่ง เพียงแต่เป็นเว็บบอร์ดส่วนตัวที่คนเขียนคือเจ้าของ blog เท่านั้น (ผู้ชมสามารถแสดงความเห็นได้เป็น comment)
2.       เขียน blog ไม่ต้องระวังเท่าเว็บบอร์ด
      จุดอ่อนของเว็บบอร์ดคือคนเยอะ และเมื่อเกิดความขัดแย้งกัน ก็จะทะเลาะกันใหญ่โต Pantip.com เจอปัญหานี้มากจนต้องตั้งระบบสมาชิกที่เข้มงวด ทำให้ลำบากในการสมัคร blog เข้ามาทดแทนในจุดนี้ได้พอดี เราสามารถเขียนอะไรลงใน blog ของเราก็ได้โดยไม่ต้องกลัวใครว่า ไม่ต้องกลัวข้อมูลมั่ว (เพราะว่าเป็น blog ของเรานี่นา) ทำให้หลายๆ คนเกิดความสบายใจในการเขียน blog มากกว่าเว็บบอร์ดที่มีคนมาคอยเถียงหรือจับผิด
3.       blog มีเนื้อหาต่อเนื่อง
คนที่สนใจในเรื่องเดียวกันก็มักจะเข้าเว็บบอร์ดเฉพาะเรื่อง แต่ปัญหาอีกอย่างของเว็บบอร์ดคือ กระทู้ตกเร็ว และแต่ละกระทู้ไม่ต่อเนื่องกัน เพราะต่างคนต่างโพสต์ แต่ blog นั้นเป็นของเจ้าของคนเดียว เขียนคนเดียว สามารถควบคุมความต่อเนื่องของเนื้อหาได้สะดวกกว่า ยิ่งเจ้าของ blog นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เราสนใจพอดี นี่จะสนุกมากเลยครับ ได้อ่านอะไรๆ ที่วงในเค้ารู้กันได้จาก blog นี่ล่ะ
4.       มันก็เหมือนแอบอ่านไอดารี่คนอื่น
การแอบอ่านไดอารี่เป็นอะไรที่ไม่ดีแต่สนุกมาก blog นั้นกลับกัน เป็นไดอารี่ที่อยากให้คนอื่นอ่าน ดังนั้นเจ้าของ blog จะประดิษฐ์ ประดอยหาเรื่องที่น่าสนใจมาเขียนให้อ่าน ทำให้เรื่องใน blog นั้นก็น่าสนใจมากขึ้น

จะเขียน blog ได้ที่ไหน?
        หลายท่านคงอยากจะลองอ่านหรือเขียน blog กันบ้างแล้ว วิธีที่ง่ายที่สุดคือสมัครสมาชิกของเว็บไซท์ที่ให้บริการ blog ซักแห่ง โดยจะมีแนะนำ blog ของไทยตอนท้ายของเอกสารนี้  สำหรับ blog ของต่างประเทศ ที่แนะนำและนิยมที่สุดคือของ blogger (www.blogger.com) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกูเกิล ใช้ง่ายและมีเครื่องมือค่อนข้างครบครัน blog ที่สมัครกับ blogger สามารถจะฝากไว้ (ได้ชื่อเป็น username.blogspot.com) หรือจะให้ส่งข้อมูลของ blog มาที่เซิร์ฟเวอร์ของเราเองก็ได้ในกรณีที่มีเซิร์ฟเวอร์ รายละเอียดทางเกี่ยวกับ Weblog ปัจจุบันมีหนังสือภาษาไทยออกมาแล้ว ชื่อว่า “ทำเล่นให้เป็น blog” เขียนโดยคุณ เกรียงไกร วิชระอนนท์ ราคา 195 บาท ISBN 974-91996-8-5 เนื้อหาละเอียดมาก

ปัจจุบัน blog เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารมาก ขนาดที่บิลล์ เกตส์ยังต้องออกมาพูดถึงว่า ในอนาคต การสื่อสารภายในองค์กรจะใช้ blog นี่ล่ะ โครงการโอเพ่นซอร์สใหญ่ๆ นักพัฒนาคนสำคัญจะมี blog ไว้แสดงความก้าวหน้าในการพัฒนาโปรแกรมของตนเอง เมื่อนำมา blog ของทุกคนมารวมกัน ก็จะได้ข่าวสารวงในที่อัพเดตไม่แพ้สื่ออื่นๆ เลยครับ
การสร้าง blog
                Blog ที่จะสร้างนั้นในขั้นตอนการสร้าง จะคล้ายกัน แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดของเจ้าของเวบผู้ให้บริการ blog โดยในการแนะนำวิธีสร้าง blog นี้ จะเป็นวิธีสร้างในเวบ http://gotoknow.org
รู้จักกับ gotoknow.org
เป็นเวบผู้ให้บริการ blog ที่มีเนื้อหาส่วนใหญ่ในด้านวิชาการ การทำงาน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีบันทึก ทางด้านวิชาการเกิดขึ้นมากมายในแต่ละวันเราสามารถมาอ่าน สร้างบล็อกหรือมาแสดงความคิดเห็นได้

                เริ่มต้นเป็นเจ้าของ blog
                ก่อนอื่นเราต้องสมัครสมาชิกก่อนโดยเข้าไปที่ http://gotoknow.org ไปที่มุมขวาบน
คลิก “สมัครสมาชิก”

                ก็จะเข้าสู่หน้าลงทะเบียนโดยใส่ข้อมูลดังนี้ ซึ่งส่วนนี้เป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องใส่และเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
ชื่อผู้ใช้  : เป็นชื่อที่จะใช้เปิด URL เพื่อเข้ามาอ่าน Blog และ
                แก้ไขบล็อก
รหัสผ่าน, รหัสผ่านเพื่อการยืนยัน : ใส่รหัสผ่านที่กำหนดขึ้นเอง
                ให้เหมือนกัน 2 ช่อง
อีเมลล์   : เป็นอีเมลล์ที่ทางผู้จัดการระบบจะติดต่อสื่อสารกับเรา
               ซึ่งจะต้องเป็นอีเมลล์ที่ยังใช้ได้
ส่วนที่เหลือจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ที่บางช่องไม่จำเป้นต้องใส่ก็ได้ และสามารถเข้ามาแก้ไขภายหลังได้
ชื่อแฝง : เป็นชื่อที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เรียกเจ้าของบล็อก โดยจะมีหรือไม่ก็ได้
ตรงช่อง link ของรูปถ่ายและเราสามารถ
เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วใส่ตัวเลข 5 ตัวเพื่อยืนยันการกรอกข้อมูล
คลิกถูกที่ “ข้าพเจ้ายอมรับ”
คลิก “ สมัครสมาชิก”
กลับไปที่หน้าแรกอีกครั้งเพื่อ Login
-          ใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน
-          ใส่ตัวเลขที่กำหนด
-          คลิกเข้าสู่ระบบ เมื่อเข้าได้แล้วจะพบกับ รูปร่างดังรูป

        สร้างบล็อก
        หน้าหลัก --> จัดการเกี่ยวกับบล็อก --> สร้างบล็อกใหม่
-          Link ที่อยู่ของ blog  : ตรงนี้ให้ใส่เป็นชื่อผู้ใช้ เพื่อป้องกันความสับสน
-          ชื่อบล็อก เป็นชื่อของบล็อกที่จะปรากฎหน้าแรกของบล็อก สามารถแก้ไขภายหลังได้
-          รายละเอียดของบล็อก  บล็อกนี้มีรายละเอียดอย่างไร เกี่ยวกับอะไร เป็นข้อมูลพื้นฐาน ใส่หรือไม่ก้ได้
-          คลิก “สร้างใหม่”
-          เราก็จะได้บล็อกขึ้นมาพร้อมที่จะบันทึกข้อความลงไป
การสร้างบันทึก
-          คลิกที่ “ สร้างบันทึกใหม่”
-          ใส่ชื่อบันทึก ซึ่งเป็นชื่อของบทความนั้น
-          ประโยคเด่น  บันทึกนี้มีประโยคเด่นอะไร (Key word) จะเป็นประโยชน์ในกรณีมีผู้ค้นหาข้อความจากหน้าแรกของ gotoknow
-          ใส่เนื้อหา เราสามารถพิมพ์, คัดลอกมาวาง ก็ได้ซึ่งเมนูจะเหมือน word processing
-          ตีพิมพ์ทันที  เราจะมีบันทึกไปปรากฎในหน้าแรกของบล็อกเราและจะปรากฎในหน้าแรกของเวบ gotoknow เช่นกัน เป็นหัวข้อที่มีการบันทึกล่าสุด
-          บันทึกเป็นร่าง  เมื่อยังไม่พร้อมตีพิมพ์เราสามารถนำกลับมาแก้ไขและตีพิมพ์ในภายหลังได้


        จัดการบันทึกที่มีอยู่
-          คำที่ต้องการค้นหา  เป็นประโยคเด่น, เป็นคำที่ปรากฎในเอกสารนั้น
-          เลือก  เลือกแก้ไขจากวันที่บันทึกข้อความนั้นในกรณีที่จำวันที่บันทึกได้
-          ไปที่ข้อความที่ต้องการแก้ไข  คลิก “แก้ไข” ที่ท้ายข้อความนั้น
-          ก็จะเข้ามาสู่บันทึกที่ต้องการแก้ไขหรือพิมพ์ร่างไว้
-          เมื่อแก้ไขแล้วคลิก ตีพิมพ์ทันที  หรือ บันทึกเป็นร่าง 
การจัดการไฟล์ข้อมูลและรูปภาพ
1. การอัพโหลดไฟล์ เป็นการนำไฟล์รูปภาพที่จะใช้ไปเก็บไว้ในบล็อกก่อนหลังจากนั้นจึงนำไปใช้ได้
                - Brouse เลือกไฟล์ที่ต้องการ โดยที่ขนาดของไฟล์ไม่ควรใหญ่เกินไป ขนาดไม่ควรเกิน 150 KB หรือขนาดกว้าง,สูงด้านใดด้านหนึ่งไม่ควรเกิน 500 Pixel
2. สถิติการอัพโหลด  จะแสดงรายละเอียด ถึงจำนวนไฟล์ และจำนวนเนื้อที่ที่ใช้ไปโดยเนื้อที่เก็บรูปจะถูกจำกัดไว้ที่ 30 MB
3. แสดงรายละเอียดของไฟล์รวมทั้ง URL ของรูป
4. เราสามารถลบรูปที่ไม่ต้องการได้โดยคลิก “ถูก” ในกล่องด้านหลัง และคลิกลบทิ้งไฟล์ที่เลือกไว้ทางด้านล่าง
5. เมื่อจะนำรูปไปใช้ให้คัดลอก URL ใต้รายละเอียดรูปไปใช้


               
การใส่รูป
1. คลิกที่ไอคอนรูปต้นไม้

2. จะมีหน้าต่างสำหรับใส่รูปขึ้นมา                3. คัดลอก URL ของรูปมาใส่ในช่องบนสุด
                  
4. คลิก Insert
5. รอสักครู่รูปที่ต้องการจะปรากฎในเอกสาร
Note : เราสามารถใส่รุปตรงไหนของเอกสารก้ได้โดยเลื่อน Curser ไปบริเวณตำแหน่งที่ต้องการ

                จัดการคำหลักของบล็อก
                ประโยคเด่นในบล็อกว่าบล็อกเราเกี่ยวกับอะไร จะเป็นประโยชน์ในกรณีที่ผู้เข้าชม ค้นหาจากหน้าเวบของ gotoknow
                จัดการเกี่ยวกับบล็อก
                สร้างบล็อกใหม่ แก้ไขบล็อก สมัครเข้าชุมชนบล็อก ลบบล็อกทิ้ง
               
                ลิงค์เวบที่เข้าบ่อย
                เป็นส่วนที่จัดการลิงค์ที่เราคลิกเข้าไปดุบ่อยๆเมื่อเพิ่มลิงค์แล้วไม่ต้องจำ URL นั้นอีก ให้เข้าเมนูนี้และคลิกลิงค์ไปเลย
                นำบล็อกเข้าร่วมชุมชน
                เป็นการนำบล็อกของเราเพื่อเข้าร่วมชุมชนที่เกี่ยวข้อง
1.       ชุมชนที่บล็อกนี้ลิสอยู่  เป็นรายชื่อชุมชนที่มีทั้งเขามาเข้าร่วมชุมชนและเราไปเข้าร่วมชุมชนกับเขา
2.       การชวนเชิญจากชุมชน  เมื่อได้รับเชิญให้เข้าร่วมชุมชนจะมีรายชื่อชุมชนที่เขาเชิญเราปรากฎอยู่
3.       กำลังรออนุมัติจากชุมชน  เมื่อเราสมัครเข้าชุมชนใดๆแล้ว ทางเวบ gotoknow.org จะส่งคำร้องขอไปที่ผู้จัดการชุมชนนั้นๆทางอีเมลล์ เพื่อให้ผู้ดูแลชุมชนนั้นๆ อนุมัติ ให้เข้าร่วมชุมชน
4.       ขอเข้าร่วมชุมชน  ให้ใส่ชื่อชุมชนและกด “ค้น” เมื่อพบแล้วจะปรากฎรายชื่อชุมชนดังกล่าว เมื่อต้องการเข้าร่วมชุมชนให้กด “ขอเข้าร่วม” รายชื่อชุมชนนี้ก็จะไปปรากฎในช่อง กำลังรอการอนุมัติจากชุมชน
5.       รายนามชุมชนที่ถูกปฏิเสธ  เป็นรายชื่อชุมชนที่เราขอเข้าร่วมแล้วและถูกปฏิเสธกลับมา อย่างไรก็ตามเราสามารถขอเข้าร่วมใหม่ในภายหลังได้
สร้างชุมชนใหม่
1.       รายละเอียดเหมือนการสร้างบล็อกใหม่
2.       ใส่ลิงค์ของชุมชน, ชื่อชุมชน และรายละเอียดคร่าวๆเกี่ยวกับชุมชนนี้
3.       คลิก “สร้างใหม่” เราจะได้ชุมชนใหม่ที่เราสร้าง
แก้ไขข้อมูลชุมชน  :  แก้ไขข้อมูลต่างๆของชุมชน
จัดการคำหลักของชุมชน : สร้าง/แก้ไข/ลบ คำหลักของชุมชน เพื่อที่สมาชิกในชุมชนจะได้เลือกเมื่อสร้าง
                                           บันทึก
บริหารบล็อกในชุมชน  : ชวนเชิญบล็อกร่วมชุมชน และอนุญาต/ถอดถอน/ปฏิเสธบล็อกที่สมัครเข้าร่วม
                                        ชุมชน
จัดการด้านผู้บริหารชุมชน : เพิ่มหรือลบผู้บริหารชุมชน
       ประวัติเจ้าของบล็อก : เราสามารถเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่ใส่ในครั้งที่สมัครได้  รวมทั้งใส่ภาพเจ้าของ
                                           บล็อก โดยที่รูปดังกล่าวจะมีขนาดไม่เกิน  160 x 120 หรือ 120 x 160 pixel
       การดูผลลัพธ์ของบล็อกหลังจากตีพิมพ์บันทึกแล้ว
       ให้เราพิมพ์ URL ในช่อง address bar ใน Internet explorer สามารถพิมพ์ได้ 2 รูปแบบ
1.  http://ชื่อผู้ใช้.gotoknow.org หรือ ชื่อผู้ใช้.gotoknow.org
                                                   หรือ
2. http://gotoknow.org/ชื่อผู้ใช้   หรือ  gotoknow.org/ชื่อผู้ใช้
เช่น  http://dmbuddhachin.gotoknow.org  หรือ  http://gotoknow.org/dmbuddhachin
                เมนูค้นหาในหน้าแรกของเวบ gotoknow.org
                สามารถใส่ keyword เพื่อค้นหา ได้ 4 กลุ่ม คือ ชุมชนบล็อก  บล็อก  บันทึก และ เจ้าของบล็อก

การจัดการภาพ
ในการนำภาพหนึ่งภาพใดมาใช้นั้นถ้านำมาใช้เลยโดยที่ยังไม่ตกแต่งก่อนเลย บางครั้งผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้ตัวไฟล์มีขนาดใหญ่ หรือได้ภาพแบบรวมโดยไม่สามารถสื่อถึงจุดที่สำคัญบนภาพได้ ดังนั้นในการนำภาพมาใช้จึงจำเป็นที่จะต้องตกแต่งก่อน ดดยในการนี้จะแนะนำส่วนที่สำคัญ 2 ส่วนคือ การลดขนาดภาพและการตัดภาพ อ้างอิงโปรแกรม ACDSee  Version 8.0
               
การลดขนาดภาพ
1. เปิดภาพที่ต้องการลดขนาด                                                 2. ไปที่เมนู Modify  --> Resize


3. เมนูทางด้านขวามือ สามารถเลือกได้ว่าต้องการลดขนาดแบบใด
    - แบบ Pixel : สามารถใส่ตัวเลขได้ทันทีและอีกด้านหนึ่งตัวเลขจะปรับอัตโนมัติ
    - แบบ Percent : ลดความกว้างหรือยาวให้เหลือเปอร์เซนต์ที่ต้องการ
    - แบบกำหนดเป็น นิ้ว/เซนติเมตร/มิลลิเมตร สามารถตั้งต่าความละเอียดของภาพได้ว่าต้องการกี่จุดต่อนิ้ว
    - นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่น กำหนดอัตราส่วนของภาพเพื่อที่จะยืดให้ยาวออก หรือสูงขึ้นโดยที่อีกด้านหนึ่งความยาวยังคงที่ได้อีกด้วย
    - โปรแกรมจะ Preview ให้โดยอัตโนมัติเมื่อพอใจแล้วเลือก “ Done”

4.       จะได้ขนาดภาพที่ลดลงตามต้องการ
       5. เลือก  File --> Save as -- > ตั้งชื่อที่ต้องการและคลิก “SAVE”
       6. สามารถนำภาพดังกล่าวมาใช้ได้
 


                การตัดภาพ
1.       เปิดภาพที่ต้องการตัด
2.       เลือกเมนู  Modify --> Crop
3.       จะพบกับเมนูการตัดภาพ สามารถเลือกตัดภาพได้ 2 แบบ
-          แบบเลือกเอง  แบบนี้เราสามารถใช้ Mouse เลือกขนาดกรอบภาพเฉพาะที่ต้องการ
-          แบบกำหนดเอง  กำหนด ความกว้าง สูง เองได้ เป็น Pixel ,นิ้ว , เซนติเมตร, มิลลิเมตร
นอกจากนี้ส่วนที่เป็นพื้นดำคือส่วนที่ไม่ได้เลือก สามารถปรับความสว่างได้

                4. คลิก “Done” ก็จะได้ภาพที่ถูกตัดตามที่กำหนด

                5. เลือก  File --> Save as -- > ตั้งชื่อที่ต้องการและคลิก “SAVE”  ; เหมือนการลดขนาดภาพ
                6. สามารถนำภาพดังกล่าวมาใช้ได้
ตัวอย่างรายชื่อเวบไซต์ที่ให้บริการบล็อกในประเทศไทย

http://gotoknow.org

http://www.blogit.in.th/blogit/index.php

http://blog.212cafe.com/formadduser.php

http://gblog.gmember.com/

http://blog.phrathai.net/

http://weblog.manager.co.th/

http://www.bloggang.com/register.php  (กรณีที่เป็นสมาชิก Pantip.com)

http://www.exteen.com/

http://blog.freemac.net/

http://www.fridaycollege.org/blog.php

http://www.khwai.com/

http://blog.deedeejang.com/login.php

http://www.nokkrob.org/blog.php

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 9894เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2005 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท