ไปดูงาน และเข้าอบรม "คลัสเตอร์" ครั้งที่ 2 และ 3


เรียนไป ๆ ก็งง ๆ เหมือนกัน จึงนำประสบการณ์ที่ปฏิบัติมาเทียบ จึงค่อยเข้าใจเพิ่มขึ้น

     [อ่านการฝึกอบรมคลัสเตอร์ ครั้งที่ 1]

     การฝึกอบรมครั้งที่ 2  วันที่ 12  พฤษภาคม 2550  ทางผู้จัดฝึกอบรมโครงการผู้ประสานงานพัฒนาคลัสเตอร์ ก็ได้จัดให้ผู้เข้าเรียนทุกคนไปดูงาน "กลุ่มเครือข่ายระบบการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ GAP ภาคตะวันตก  และบริษัทกำแพงแสนคอมเมอร์เชียล จำกัด"  แต่ดิฉันติดภารกิจงานจึงไม่ได้ร่วมเดินทางดังกล่าว  ฉะนั้น จึงต้องตามเก็บบทเรียนและหาข้อมูลจากเพื่อน ๆ โดยการสอบถาม  พูดคุย  และสรุปถึงที่เกิดขึ้นหรือความรู้จากการดูงานนั้นมีอะไรบ้าง? คำตอบที่เกิดขึ้นคือ  เพื่อน ๆ บอกว่า  "ก็มีคนมานำเสนอและเล่างานที่ทำ ..... มีการซักถาม  และไปดูของจริงกัน"

     การฝึกอบรมครั้งที่ 3  วันที่  19  พฤษภาคม  2550 นั้นเป็นการเรียนรู้เครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล  วิเคราะห์ และสรุปคลัสเตอร์ที่เป็นอยู่นั้นอยู่ในสถานภาพหรือสถานการณ์ใด  และมีประเด็นอะไรบ้างที่จะเป็นจุดดีและจุดอ่อน ที่จะต้องพัฒนากันต่อไป โดยมีขั้นตอนการเรียนการสอน คือ

           ขั้นที่ 1  สอนหรือให้ความรู้ เกี่ยวกับ Value Chain and Cluster Development ที่เป็นหลักคิด  ปัญหาอุปสรรค/ทางออก  และกระบวนการของที่เกิดขึ้นจะไปเชื่อมโยงกับ โซ่อุปทาน  โซ่คุณค่า/มูลค่า  และลอจิสติกส์ โดยมีการยกตัวอย่างประกอบการบรรยาย

            ขั้นที่ 2  สอนเกี่ยวกับเครื่องมือ ในการวิเคราะห์คลัสเตอร์ ได้แก่  สถานการณ์  การวิเคราะห์ความสามารถ  การสรุปผล  ซึ่งตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่

               เครื่องมือที่ 1  Cluster Map เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ขอบข่าย ความหนาแน่น  ลักษระการเชื่อมโยง  และสถานภาพของคลัสเตอร์

               เครื่องมือที่ 2  Diamond Model เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ความเชื่อมโยง  สภาพบริบท  และสิ่งแวดล้อมของการดำเนินการธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มบริบท  กลุ่มเงื่อนไขปัจจัยการผลิต  กลุ่มเงื่อนไขด้านอุปสงค์  และกลุ่มเชื่อมโยงสนับสนุน

               เครื่องมือที่ 3  Benchmacking เป็นเครื่องมือที่ใช้หาข้อเปรียบเทียบ/เทียบเคียงสมรรถนะ หรือค้นหาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ Best Practice แล้วนำมาประยุกต์ใช้

     ดังนั้น  การที่จะนำเครื่องมือไปใช้งานคลัสเตอร์จึงควร

          1)  เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน  แล้วนำมากำหนดเป้าหมายรวม  กิจกรรมที่จะทำร่วมกัน  วิธีการเชื่อมโยงกิจกรรม  ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น  แล้วจึงนำไปใช้/ขยายผล

          2)  วิเคราะห์ข้อมูล  โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการประมวลและอ่านความสัมพันธ์เพื่อสรุปว่า  ดี/อ่อน  และอื่น ๆ

          3)  สรุปผลและข้อเสนอแนะ

     ทั้งนี้ ดิฉันก็ได้แต่ฟังการบรรยายประกอบการยกตัวอย่างเท่านั้น ส่วนการปฏิบัติจริงยังไม่ได้ไปลองฝึกทำดูกับเหตุการณ์จริงค่ะ.

คำสำคัญ (Tags): #คลัสเตอร์
หมายเลขบันทึก: 98212เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2007 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ถ้าทำจริงแล้ว นำมาให้เรียนรู้กันบ้างเด้อ...
 ต้องขอชื่นชมจริงฯ ที่คุณศิริวรรณ มีความมุ่งมั่นค้นหาความรู้และสร้างความรู้ ใหม่ฯมาลปรร. ให้นวส.ผ้ปฏิบัติได้รับความรู้  เพื่อนำไปพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรในภาคสนามอย่างเป็นรูปธรรม  ต้องขอบคุณที่นำมาแบ่งปัน  โอกาสต่อไปจะเข้าแวะเย่ยมนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท