หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (จุดที่ 2 หมู่ที่ 8 บ้านท้องคุ้ง ตำบลสวนหลวง จังหวัดสมุทรสงคราม )


ปลูกตามที่กิน กินตามที่ปลูก ก็เป็นทั้งอาหารและยาบำรุงสุขภาพได้อย่างดี แถมประหยัดรายจ่ายในครัวเรือนด้วยค่ะ

[ อ่าน : หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  7  กรณีตัวอย่าง] 

ในช่วงบ่ายของวันที่ 25  เมษายน  2550 ดิฉันและทีมงานก็ไปชวนชาวบ้าน จุดที่ 2  หมู่ที่ 8  บ้านท้องคุ้ง  ตำบลสวนหลวง  จังหวัดสมุทรสงคราม คุยกันเรื่อง หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  แล้วทำการจัดเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 3 ห่วง 2 เงื่อน  ซึ่งสรุปได้ว่า

  <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">                  1)  กระบวนการสร้างชุมชน  ในอดีตมีการทำนาเป็นอาชีพหลัก  หลังจากนั้นได้ปรับเปลี่ยนอาชีพเป็นทำสวน เช่น  สวนมะพร้าว  สวนลิ้นจี่  และ สวนส้มโอ  ปัจจุบันอาชีพที่ทำ คือ  ทำสวนมะพร้าว  สมุนไพร  ท่องเที่ยว  รับจ้าง  แม่ค้าขายขนมหวาน  ทำปุ๋ยชีวภาพ  ผักปลอดสารพิษ  และอื่น ๆ  มีกลุ่มเกษตรกร  มีกลุ่มออมทรัพย์  มีการใช้ผลิตภัณฑ์ของพื้นบ้าน  ส่วนความเป็นอยู่จะอยู่ร่วมกันอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้ำใจ มีการทำบุญในวันสำคัญที่วัด  ทางด้านจุดเด่นของหมู่บ้าน ได้แก่  มีกลุ่มออมทรัพย์ชนะเลิศระดับประเทศ  เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นแหล่งท่องเที่ยว  มีตลาดวัฒนธรรมริมน้ำ  เป็นหมู่บ้านที่ปลอดภัยไม่มีโจรผู้ร้าย  มีการทำงานกันเป็นกลุ่มร่วมกัน/กล้าแสดงออก  ทำอาชีพโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น  ใช้ปุ๋ยชีวภาพ  และลดต้นทุนการผลิต  มีรายได้เสริมของครัวเรือนและแต่ละครัวเรือนมีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย  มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย  และมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดูแลและสนับสนุนจำนวนมาก</p><p>                  2)  กระบวนการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  ความเป็นอยู่ของชาวบ้านจะมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน  ทำกิจกรรมและประกอบอาชีพกันเป็นกลุ่ม เช่น  กลุ่มออมทรัพย์  กลุ่มเกษตรกร  และกลุ่มอื่น ๆ  เพื่อต่อรองกับพ่อค้า  เพื่อซื้อขายผลผลิต และเพื่อปรึกษาหารือกับการประกอบอาชีพ  ซึ่งอาชีพที่ทำจะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม  มีระบบการดูแลคนในชุมชน  มีการจัดระเบียบของชุมชน  ส่งเสริมการออมในครัวเรือน  นอกจากนี้ความเป็นอยู่ของชาวบ้านจะมีอาชีพหลักและอาชีพเสริม  โดยปลูกพืชไว้กินเองเป็นหลักและเหลือก็เอาไปขาย  และใช้ชีวิตกันอย่างสบาย ๆ จึงสรุปเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ได้ว่า   </p><p>                (1)  ความพอประมาณ  ได้แก่  ผลิตแบบพอกิน  ทำช้าแต่คิดรอบคอบ  ผลิตโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม (จึงไม่มีอุตสาหกรรม)</p><p>                (2)  ความมีเหตุมีผล  ได้แก่  การจัดการกลุ่มที่มีหลักเกณฑ์/นโยบาย  เริ่มต้นการทำงานที่ตนเองเป็นหลัก  ใช้ความต้องการของชาวบ้านเป็นหลักในการพัฒนา  ชาวบ้านเปิดตัวรับรายได้จากการท่องเที่ยวโดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ในตำบลและมีตลาดอยู่ใกล้ตัว  การจัดการทรัพยากรการผลิตโดยทำปุ๋ยชีวภาพ  มีการผลิตเพื่อต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรม  แปรรูปผลิตภัณฑ์ (ลิ้นจี่แห้ง)  มีการเพิ่มมูลค่าที่ทุกคนมีส่วนร่วม  และมีมาตรฐานการผลิต                                                </p><p>                (3)  มีภูมิคุ้มกัน  ได้แก่  มีภาคีร่วมทั้งในและนอกชุมชน  สร้างคนก่อนทำกิจกรรม  ชุมชนมีความปลอดภัยจากขโมย  มีการออมทรัพย์  มีตลาดภายในและภายนอกชุมชน  มีการทำผังเมืองรวมเพื่อกันอุตสาหกรรม  และคนในชุมชนอยู่กันอย่างสบาย                                                </p><p>                (4)  มีความรู้  ได้แก่  มีการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้กันทุกเดือน  มีทรัพยากรท่องเที่ยว (ตลาดวัฒนธรรม)  มีภูมิปัญญา (น้ำดอกอัญชัญ/น้ำดาหลา/อื่น ๆ)  และมีความรู้จากภายนอก (สอนแปรรูปกะลา/ลิ้นจี่แห้ง/อื่นๆ)                                   </p><p>                (5)  มีคุณธรรม  ได้แก่  มองเห็นความสำคัญของเด็กและผู้สูงอายุ  มีการ </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">สร้างงานให้เยาวชนเพื่อไม่ให้ออกไปทำงานนอกพื้นที่  มีเมตตาธรรม (ปรับโครงสร้างหนี้)  เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง  มีสามัญสำนึกในการทำ/การใช้/การอยู่  และอยากให้คนในหมู่บ้านอยู่ด้วยกันมีความสุขสบายในวัยชรา</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">          3)  กระบวนการถอดบทเรียน  ในการจัดกระบวนการชวนคุยก็ได้เริ่มจาก หัวหน้าทีมชี้แจงเกี่ยวกับที่มาที่ไป  วัตถุประสงค์และเป้าหมาย  และสิ่งที่จะทำนั้นมีอะไรบ้างให้ชาวบ้านฟัง  แล้วชวนชาวบ้านมาเล่าข้อมูลของตนเอง  ซักถามเป็นระยะ ๆ (ภายใต้กรอบของข้อมูล)  แล้วถามเป็นรายคนบ้างเป็นกลุ่มบ้างสลับกันไปมา  หลังจากนั้นคนที่บันทึกข้อมูลลงในกระดาษฟางก็จะประมวลข้อมูลและสะท้อนให้ฟังว่า “ที่คุยกันนั้นมีอะไรบ้าง?” แล้วก็นัดแนะกันถึงงานที่จะทำต่อไปนั้นมีอะไรบ้าง?</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">     ก็เป็นอีกบทเรียนหนึ่งที่ไปถอดองค์ความรู้ที่เป็นภาพรวมของชุมชนมาเล่าสู่กันฟังค่ะ.</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">     ภาพการจัดกระบวนการชวนคุย</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">                       </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">                          </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">               ภาพผลการประมวลข้อมูล</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">               </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">          ภาพสวนลิ้นจี่ของชาวบ้าน "เราไปดูของจริงหลังจากคุยเสร็จแล้ว"</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">              </p>

หมายเลขบันทึก: 97736เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • ลิ้นจี่น่าจะอร่อยนะครับ

เรียน คุณสิงห์ป่าสัก

  อร่อยมากเลยค่ะ  กิโลละ 50 บาท เลยซื้อมา 2 กก.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท