เล่าเรื่องจากไต้หวัน ๓ : สิ่งแวดล้อม


บ้านหนึ่งเมืองหนึ่งมีวิธีการ(how)ในการสร้างจิตสาธารณะนี้ให้เกิดขึ้นในใจชาวบ้านชาวเมืองอย่างไร?

สิ่งที่ภรรยาผมทึ่งเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของไต้หวันคือความเป็นเกาะที่เขียวขจี แม้จะมีเครื่องเรือนและเครื่องใช้จำนวนมากทำด้วยไม้ แต่เมื่อขึ้นไปมองจากที่สูงไม่มีภูเขาหัวโล้นให้เห็นเลย

http://gotoknow.org/file/surachetv/TaipeiMountain.jpg

เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงคำพูดของ ดร.เสรี พงศ์พิศ เวลาที่เราออกไปทำประชาพิจารณ์โครงการมหาวิทยาลัยชีวิตในจังหวัดต่างๆ ว่า "ประเทศที่มีปัญญาเขาทำทะเลทรายให้เป็นป่า ส่วนประเทศที่ไม่ปัญญากลับทำป่าให้เป็นทะเลทราย" ประเทศที่ทำป่าให้เป็นทะเลทรายที่รู้กันดีประเทศหนึ่งคืออิสราเอล ส่วนประเทศที่ทำป่าให้เป็นทะเลทรายคิดเอาเอง 

ท่านยังบอกว่า การพัฒนา หากเอา "เงินนำหน้า ปัญญาตามหลัง" ไปไม่รอด และปัญญานั้นก็เกี่ยวกับส่วนลึกของคนด้วย คือ ใจ หาก "ใจมาปัญญาเกิด"

นอกจากเรื่องความเขียวขจี แล้วก็ยังมีเรื่องความสะอาดสะอ้านของบ้านเมือง ตามถนนหนทาง บริเวณมหาวิทยาลัย ในอาคารต่างๆ ไม่ค่อยมีขยะให้เห็น เรื่องนี้เราคุยกันว่า หากอาศัยแต่คนเก็บ เช่น เทศบาล หรือพนักงานทำความสะอาดอย่างเดียวไม่มีได้ผล มันเป็นเรื่องของ "ใจสะอาด" ของสมาชิกในครอบครัว องค์กร ชุมชน และบ้านเมืองนั้นๆ เป็นหลัก หากทุกคนไม่มีใจเรื่องนี้ พากันทิ้ง เพราะคิดว่าจะมีคอยเก็บตามหลัง (หรือไม่คิดอะไรเลย - มักง่าย) ขยะก็ไม่มีทางหมด

พูดถึงเรื่องขยะแล้วก็นึกถึงคำที่พบบ่อยๆ ใน g2k ที่มีคนพูดเรื่อง "จิตสาธารณะ" ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นเรื่องของการมีใจเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมนั่นเอง

เขียนถึงตรงนี้ก็เกิดคำถามขึ้นในใจว่า บ้านหนึ่งเมืองหนึ่งมีวิธีการ(how)ในการสร้างจิตสาธารณะนี้ให้เกิดขึ้นในใจชาวบ้านชาวเมืองอย่างไร?

หมายเลขบันทึก: 97134เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2007 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ อ.สุรเชษฐ

นั่นน่ะสิคะ..เค้าปลูกจิตสาธารณะอย่างไร ? ..กระบวนการสร้างคนของเค้าน่าชื่นชมเหลือเกิน..

สถาบันครอบครัว..ศาสนา..สถานศึกษา..กฎหมาย..สังคม..ฯลฯมีส่วนเกี่ยวข้องแค่ไหน ?

ลักษณะครอบครัวเค้าเป็นอย่างไร ?..หลักสูตรการเรียนการสอนของเค้าเป็นอย่างไร ?..วิถีชีวิต ศรัทธาที่มีคืออะไร ? ล้วนเป็นสิ่งที่น่าสนใจไปทั้งหมดเลยนะคะ..

ขอบพระคุณที่ทำให้เบิร์ดมีความคิดมากมายในหัวค่ะ

( เบิร์ดลืม..เบิร์ดจะส่ง CD powerpoint ของพ่อจันทร์ที ประทุมภา ปราชญ์ชาวบ้านผู้ก่อตั้งมหาวิชชาลัยอีสานไปให้อาจารย์ค่ะ..รบกวนขอที่อยู่ด้วยนะคะ ฝากไปที่อีเมล์ติดต่อของเบิร์ดก็ได้ค่ะ พ่อจันทร์ทีปลูกผักหวานป่าได้ด้วยแหละค่ะ ! )

 

ขอบคุณ คุณ  P เบิร์ด มากครับ

ส่งที่สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนได้ครับ ที่อยู่ในหน้าประวัติย่อผม  http://gotoknow.org/profile/surachetv ครับ

 ปุจฉา: บ้านหนึ่งเมืองหนึ่งมีวิธีการ(how)ในการสร้างจิตสาธารณะนี้ให้เกิดขึ้นในใจชาวบ้านชาวเมืองอย่างไร?

ผมขอแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีน้อยนิดครับ  ผมมีประสบการณ์ การสร้าง "จิตสาธารณะ" ของชุมชนในอำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ พอเป็นสังเขป คือ

๑. ต้องให้ชาวบ้านทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ร่วมสิทธิ ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ และร่วมรับผลประโยชน์ (โดยเน้นการเสียสละเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ทำได้หรือไม่ได้ก็ให้แสดงความคิดเห็นกัน)

๒.ใช้หลักอปริหานิยธรรม (ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว) มี ๗ ประการคือ หมั่นประชุมกันเสมอ ๆ ๑ เมื่อประชุมหรือเลิกต้องพร้อมเพรียงกัน๑ ไม่บัญญัติ ไม่ถอนฯ สิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้แล้ว (เคารพในตัวประมุข)๑ ใครเป็นประธานที่ประชุม ต้องเคารพ๑ ต้องมีขันติธรรม อดทนและฟังเสียงข้างมาก๑ ไม่ลุอำนาจแห่งความอยาก๑ไม่ห้ามผู้ที่จะเข้าร่วม หรือหวงผู้ที่ยังไม่เข้าร่วม

เพียงเท่านี้ผู้ใหญ่ทองคำ ก็ทำให้ชาวบ้านมี"จิตสาธารณะ" เกือบทั้งเขตหมู่บ้านแล้วครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท