เจตคติต่อการจัดการความรู้


หากมีเจตคติต่อการจัดการความรู้ในแง่ที่ดี เข้าใจถึงคุณค่าและประโยชน์ของการจัดการความรู้ อารมณ์ได้ ความรู้ได้ ก็ย่อมสามารถทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมในการถ่ายโอนความรู้ การแบ่งปันความรู้การจัดการความรู้
เจตคติต่อการจัดการความรู้ในโลกยุคปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge- Based Economy) ซึ่งใช้ความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตสร้างความมั่งคั่งและสร้างงานในอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ องค์กรใดก็ตามที่มีฐานความรู้ มีข้อมูลมาก หรือมีบุคลากรที่มีศักยภาพสูงก็ย่อมได้เปรียบเชิงแข่งขัน สามารถสร้างความแตกต่างด้านตัวสินค้า บริการและนวัตกรรมให้เหนือกว่าคู่แข่ง นับเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง ด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจที่รวดเร็ว ตลอดจนมีการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดขององค์กรหรือเพื่อรักษาความเป็นเลิศให้ยั่งยืนนั่นเอง ดรักเกอร์ ได้กล่าวเอาไว้ว่า  ความรู้จึงเป็นเรื่องที่องค์กรต่าง ๆ กำลังให้ความสำคัญอย่างยิ่งเพราะความรู้เปรียบเสมือนสินทรัพย์ที่ทรงคุณค่าขององค์กร ด้วยเหตุดังกล่าวองค์กรต่าง ๆ จึงพยายามขวนขวายเพื่อที่จะแสวงหาวิธีการเก็บรวบรวมองค์ความรู้ ทักษะ ความชำนาญ และประสบการณ์ของพนักงานไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นฐานองค์ความรู้ขององค์กร ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ระบบสารสนเทศ จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในด้านการจัดความรู้ แต่ทว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอที่จะจัดเป็นหลักประกันให้มั่นใจได้ว่าเป็นช่องทางในการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพราะว่า คน ยังมีเจตคติหรือทัศนคติว่า ความรู้คืออำนาจ หวงแหนความรู้ จึงทำให้ไม่สามารถดึงเอาความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลออกมาจัดการและใช้ประโยชน์ได้  การที่จะทำให้การจัดการความรู้ในองค์กรประสบความสำเร็จนั้น   ต้องประกอบไปด้วยปัจจัยต่างๆดังนี้  (1)  วัฒนธรรมองค์กร  (2)  บรรยากาศองค์การ (3)  การสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในองค์กร และปัจจัยที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างก็คือในแง่ที่ผมอยู่ทั้งในสายการบริหารบุคคล และ จิตวิทยาอุตสาหกรรม  นั่นก็คือ เจตคติต่อการจัดการความรู้ เจตคติหรือทัศนคติเป็นเรื่องภายในส่วนตัวของแต่ละบุคคล องค์ประกอบของเจตคตินั้นประกอบไปด้วย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก หากเราเปลี่ยนเรื่องภายในเหล่านี้ได้ เจตคติจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมต่างๆของบุคคล  ยกตัวอย่างเช่น การเลิกสูบบุหรี่คนส่วนใหญ่ทราบนะครับ ว่า บุหรี่ไม่ดีต่อสุขภาพ  เอ !!!  แต่ทำไมก็ยังสูบ แต่ทำไม เลิกสูบไม่ได้สักที  เพราะในการเลิกสูบ ในความคิด คือ รู้อย่างเดียวคงไม่พอ  อารมณ์ต้องได้ ความรู้สึกต้องได้ พฤติกรรมจึงเปลี่ยน ในการจัดการความรู้ก็เช่นเดียวกัน  รู้ว่า หากมีเจตคติต่อการจัดการความรู้ในแง่ที่ดี เข้าใจถึงคุณค่าและประโยชน์ของการจัดการความรู้ อารมณ์ได้ ความรู้ได้ ก็ย่อมสามารถทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมในการถ่ายโอนความรู้ การแบ่งปันความรู้การจัดการความรู้  ซึ่งสิ่งที่จะมาสนับสนุนความคิด อารมณ์ ความรู้สึก นั้นก็คือปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวไว้ข้าวต้น ก็คือ วัฒนธรรมองค์กร บรรยากาศองค์กร การสนับสนุนจากทุกฝ่าย  นี่คือปัจจัยหลักๆ ที่จะทำให้การจัดการความรู้เกิดประสิทธิภาพ ในคราวหน้า ผมจะมากล่าวถึง  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  แล้วเจอกันนะครับ
หมายเลขบันทึก: 97001เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2007 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากครับที่แบ่งปันความรู้ มีประโยชน์มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท