ไปชวนชาวบ้านคุยเรื่อง หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (จุดที่ 1 บ้านคลองเขิน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม)


ยิ่งฟัง ยิ่งไปดู ก็ยิ่งเห็นอะไรดี ๆ มากขึ้น

     [อ่าน : กระบวนการชวนชาวบ้านคุย]

     เมื่อวันที่  25  เมษายน  2550  ดิฉันได้ไปจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของ จุดที่ 1  หมู่ที่ 8  ตำบลคลองเขิน  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสงคราม  โดยมีรายละเอียด คือ        

          1)  กระบวนการสร้างชุมชน ได้เริ่มมาจากสังคมแห่งการเป็นเครือญาติ  อยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง  พอถึงเทศกาลทำบุญก็ไปทำบุญร่วมกัน  มีการปลูกมะพร้าวเป็นอาชีพหลัก  หรือปลูกกล้วยเป็นอาชีพหลัก  โดยมีการปรับเปลี่ยนอาชีพแบ่ง เป็น  4  ช่วง คือ  ช่วงที่ 1 อายุก่อน 80 ปี  ทำนาข้าว  ช่วงที่ 2  อายุ 50 ปีปลูกมะพร้าว  ช่วงที่ 3 อายุ 14 ปี  ปลูกส้มโอ   และ ช่วงที่ 4  ปี 2547 - ปัจจุบัน ปลูกมะพร้าว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอาชีพนั้นขึ้นกับรายได้และความเป็นอยู่  สภาพแวดล้อม  เริ่มแรกคิดประกอบอาชีพเพื่อทำให้รวย แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนวิธีคิดคือ  คิดทำให้รอด จึงปลูกพืชที่กินได้ขายได้และทำบุญได้  คือ  มะพร้าว และกล้วย  ส่วนรายรับที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการอาชีพเสริม  อาชีพหลัก  และลูกส่งมาให้                              

          2)  กระบวนการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  ได้ปรับเปลี่ยนวิธีคิดเมื่อ 2 3 ปี ที่ผ่านมา คือ ทำอย่างไร? ถึงจะให้ตนเองอยู่รอดได้  จึงได้ปรับเปลี่ยนอาชีพมาปลูกกล้วยหรือปลูกมะพร้าวเป็นหลัก  มีการปลูกพืชผักและเลี้ยงสัตว์กินเองเป็นส่วนใหญ่  มีการหารายได้เสริมเป็นรายวันให้กับครอบครัว  ไม่สร้างหนี้  มีการออมทรัพย์  ทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่ายฟุ่มเฟือยของครัวเรือน  และรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชน  จึงสรุปเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ได้ว่า

               (1)  ความพอประมาณ  ได้แก่  พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่และไม่ฟุ่มเฟือย   มีการลดรายจ่ายในครัวเรือน (ปลูกผักเลี้ยงปลา/เลี้ยงไก่/อื่น ๆ)  และพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีในบ้านเป็นหลัก 

               (2)  ความมีเหตุมีผล  ได้แก่  มีการวางแผนการผลิต (เลี้ยงปลา/อื่น ๆ)  ทำพอกินพอใช้   และคิดอย่างมีเหตุมีผล มีการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ (ปลูกมะพร้าว/ปลูกกล้วย)                                               

               (3)  มีภูมิคุ้มกัน  ได้แก่  ดำรงชีวิตตามฐานะ  มีอาหารการกินได้ทุกวัน  มีเงินทุนเก็บออมและหมุนเวียน  ไม่เลือกหรือเกี่ยงงาน  ใช้วิชาการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับตนเองในการประกอบอาชีพ  และมีความใกล้ชิดกันในครอบครัวและชุมชน                                               

               (4)  มีความรู้  ได้แก่  พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา (พูดคุย/สื่อ/อื่น ๆ) และ   มีความสุขจากการทำงาน                                               

               (5)  มีคุณธรรม  ได้แก่  มีความสุขจากงานที่ทำ  อยู่กันตามฐานะไม่คิดแข่งขัน  ปลูกพืชที่กินได้ขายได้และทำบุญได้  มีสัจจะ  และอยู่กันอย่างมีความสุข (ช่วยเหลือกัน/มีเพื่อน/มีกิจกรรมทำร่วมกัน/อื่น ๆ)

     ก็เป็นการเรียนรู้ที่ได้ไปจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานก่อนที่จะทำการถอดบทเรียนกันจริง ๆ "เทคนิคการถอดบทเรียน" ดิฉันก็เลยถ่ายภาพบรรยากาศมาให้ชมกันค่ะ

     ภาพที่ 1  เริ่มต้นชวนชาวบ้านคุย

              

          ภาพที่ 2  ชวนชาวบ้านนำเสนอเรื่องราวของตนเอง

                            

          ภาพที่ 3  อีกคนชวนคุย อีกคนเขียนไป และมาสรุปร่วมกันเป็น 3 ห่วง 2 เงื่อน

                  

  [ อ่าน : หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  7  กรณีตัวอย่าง]

หมายเลขบันทึก: 96562เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2007 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แต่ว่าถ้าหากจะใช้หลักบริหารการจัดการเราต้องทำอย่างไรบางค่ะ กรุณาช่วยบอกทีนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

แล้วถ้าจะให้หลักบริหารการจัดการมาพัฒนาเศรษฐกิจของหมู่บ้านหรือประยุกต์ใช้นั้น ต้องทำอย่างไรบางค่ะกรุณาช่วยตอบทีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท