ความบกพร่องของร่างกายที่นำประโยชน์มหาศาลต่อมวลมนุนย์ (William Conrad Roengent)


William Conrad Roengent

ความบกพร่องของร่างกายที่นำประโยชน์มหาศาลต่อมวลมนุนย์ (William Conrad Roengent)

เหตุใดวิลเฮล์ม .เรินต์เก้น จึงค้นพบเอกซเรย์จากหลอดรังสีแคโทด? ทั้งๆ ที่มีนักฟิสิกส์มากมายสนใจและทำการทดลองกับรังสีแคโทด บทความนี้จะทำให้คุณรู้ลึกถึงประวัติความเป็นมารังสีเอกซ์ของเรินต์เก้น

     .....ในห้องปฏิบัติการของเรินต์เก้น เขาได้ทดลองเกี่ยวกับรังสีแคโทด ซึ่งเขาได้ใช้แบตตเตอรรี่ 20 โวลท์ แปลงแรงดันสูงเป็น 35,000 โวลท์ จ่ายให้กับหลอดรังสีแคโทด ด้วยความแรงไฟฟ้าระดับนี้ รังสีแคโทดจะสามารถวิ่งไปชนจอ ซึ่งเคลือบด้วยแบเรียมแพลทติโนไซยาไนด์ จอจะเรืองแสงเป็นสีเขียว แต่ เรินต์เก้น ตาบอดสี ทำให้การมองแสงสีเขียวยาก หากภายในห้องมีแสงสว่าง ดั้งนั้นขาจึงต้องทำให้ภายในห้องมืดสนิทปิดกั้นแสงที่เล็ดลอดเข้ามา และยังใช้กระดาษสีดำหุ้มตัวหลอดรังสีแคโทดเพื่อไม่ให้แสงสว่างออกมาจากหลอด

     ท่ามกลางความมืดในห้องปฏิบัติการของคืนวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ.1895 เรินต์เก้นได้สังเกตเห็นว่า กระดาษบนโต๊ะทำงานที่ประกายแสงสว่างเหมือนมีแสงเล็ดลอดเข้ามาภายในห้องแล้วพุงลงบนกระดาษนั้น เรินต์เก้นมองดูที่แสงบนแผ่นกระดาษ และพบว่าเป็นแสงอยู่บนอักษณ "A" ซึ่งลูกษย์คนหนึ่งของเขาได้ใช้น้ำยาแบเรียมแพลทติโนไซยาไนด์  เขียนอักษรตัวนั้นไว้บนกระดาษ เรินต์เก้นรู้สึกฉงนและแปลกใจ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่รังสีแคโทดภายในหลอด จะเดินทางมาถึงแผ่นกระดาษบนโต๊ะทำงาน เมื่อเป็นเช่นนั้นเหตุใดอักษร "A" จึงเรืองแสง?

     เมื่อมั่นใจว่า รังสีแคโทดไม่สามารถเดินทางมาถึงโต๊ะ แต่การที่แผ่นกระดาษเรืองแสง แสดงว่าต้องมีรังสีลึกลับกลับมองไม่เห็นและมีพลังงานสูงแพร่ออกมาจากรังสีแคโทด มาทำปฏิกิริยากับแบเรียมแพลทติโนไซยาไนด์ จึงเกิดแสงตรงอักษร "A" เรินต์เก้นไม่ทราบว่ารังสีที่มาจากหลอดรังสีแคโทดเป็นรังสีอะไร เขาจึงตั้งชื่อว่า รังสี-เอกซ์ เพราะ X คือค่าที่ยังไม่รู้จัก......

    นี้แหละครับประวัติคร่าว ๆ ในการพบเอกซเรย์ของเรินต์เก้น ผมคิดว่าถ้าเรินต์เก้นไม่มีความบกพร่องในร่างกายของเขาคือตาบอดสี เขาอาจจะไม่พบรังสีเอกซ์ให้เราสามารถนำมาใช้ประโยนช์จากมันทั้งทางการแพทย์ งานวิจัย และเทคโนโลยีที่ทันสมัยถึงทุกวันนี้ได้...

ทีมา: มนุนย์นิวเคลียร์ (ธนู แก้วโอภาศ)

คำสำคัญ (Tags): #william conrad roengent
หมายเลขบันทึก: 95614เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2007 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ คุณจีรศักดิ์

ดิฉันก็เคยเรียนสายวิทย์มาเหมือนกัน ก็พอจะรู้ที่มาของรังสี x มานิดหน่อยค่ะ แต่เรื่องที่ผู้ค้นพบ เรินด์เก้น ค้นพบรังสี x เพราะตัวเองเป็นตาบอดสี เพิ่งจะรู้วันนี้เองนะคะเนี่ย เป็นความรู้ใหม่จริง ๆ ขอบคุณค่ะ

เพิ่งจะรู้เหมือนกันนะนี่ว่าเรินด์เก้น ค้นพบรังสี x เพราะตัวเอง ตาบอดสี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท