APHN Diploma of Palliative Care ๒: ทักทาย


ตอนผมไปถึงห้องเรียนที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติของสิงคโปร์ เกือบจะได้เวลาเริ่มเรียนแล้่ว รู้สึกแปลกใจนิดหนึ่งเพราะเห็นคนที่อยู่ในห้องเป็นผู้หญิงล้วน เออ..ผู้ชายเขาไม่มาเรียนกันเลยรึนี่

         

เก็บความข้องใจไว้ก่อน เข้าไปทักทายเพื่อนร่วมห้องดีกว่า

 

ถัดจากผม สักพักก็มีนักศึกษาทะยอยตามเข้ามา คราวนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย จนกระทั่งเลยเวลา เริ่มสอนกันแล้ว ที่เดินเข้ามาเป็นชายทั้งนั้น ..คงไม่ต้องบอกว่าผมคิดอะไรอยู่นะครับ

รวมแล้วมีนักเรียน ๒๐ คน ชาย ๕ หญิง ๑๕ จากอินเดีย เนปาล พม่า จีน ไต้หวัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ แล้วก็มีผมเป็นคนไทยคนเดียว ส่วนใหญ่เป็นหมอ มากกว่าพยาบาล และทำงานด้านนี้มาแล้วกันทั้งนั้น

         

ชํ่วโมงแรกเป็นการทักทายกัน โดยให้จับคู่สองคน ถามคำถามที่กำหนดให้ แล้วแนะนำคู่ของเราให้กลุ่มใหญ่ฟัง คำถามมีดังนี้         

- เป็นใคร ทำงานอะไร         

- วันพุธที่แล้วทำอะไร (ทำไมต้องวันพุธด้วยก็ไม่รู้)         

- เวลามีเรื่องดีๆเกิดขึ้น ทำอะไรกัน         

- อาหารอะไรถูกใจสุดๆ         

- คาดหวังอะไรจากการมาเรียน

ผมแนะนำหมอสาวจากเฉิงตู จีนแผ่นดินใหญ่ชื่อ ซูฮัน ให้คนอื่นฟังเป็นคนแรก เพราะผมนั่งอยู่ซ้ายมือสุดของวง ตามประสาคนมือซ้าย เธออยากให้ทุกคนเรียกเธอว่า เฮเลน เก๋มากเลยจากฮันเป็นเฮเลน ที่แปลกใจผมเพราะเธอเป็นหมอ endocrine หรือระบบต่อมไร้ท่อ แต่มาสนใจและทำงานด้านดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ระยะหนึ่งแล้ว ที่แปลกใจเพราะส่วนใหญ่หมอที่มาเรียนไม่เป็นหมอมะเร็งอย่างผม ก็หมอดมยาระงับปวด หรือไม่ก็หมอครอบครัว ไม่ค่อยเห็นหมออายุรกรรมมาเรียนเท่าไร

         

ส่วนผมก็เอาอย่างหมอเฮเลนบ้าง ให้เพื่อนเรียกผมว่า TEM ไม่ต้องเรียก TEMSAK เพราะกลัวคนจะคิดว่าผมเป็นอะไรกับบริษัทชื่อดังของสิงคโปร์ TEMASEK ตอนนี้ก็เลยกลายเป็น หมอติ๋ม หมอทิม หมอทิ่ม ไปพลางๆ  

         

หลังจากหมอเฮเลนแนะนำผมแล้ว คนอื่นก็ทะยอยแนะนำคู่ของตัวเองไปเรื่อยๆ ผมเองเริ่มเครียดขึ้นมาทีละน้อยเพราะเริ่มฟังพวกที่มาจากอินเดียไม่ทัน เขารัวลิ้นกันมันมากๆ ฟังแล้วเหนื่อยจริงๆ บอกกับตัวเองว่า คงต้องปรับหูกันยกใหญ่เลยคราวนี้

         

ผมเป็นคนเดียวที่แต่งตัวเต็มยศ คือเสื้อแขนยาวผูกผ้าผูกคอแล้วใส่แจ๊กเก็ตอีกชั้น เนื่องจากเป็นวันแรกและรู้มาว่าห้องเรียนเย็นมาก มีชาวอินเดียฝ่ายหญิงที่พร้อมใจกันใส่สาหรี่เต็มยศมาเหมือนกัน คนอื่นแต่งตัวสบายแต่ก็ไม่มีเสื้อยืด เรื่องนี้เป็นเรื่องวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ผมยังค่อนข้างติดนิสัยให้ความสำคัญกับการแต่งตัวเรียบร้อยในการไปเรียนหริอดูงานโดยเฉพาะในวันแรก เป็นการให้เกียรติเจ้าของสถานที่หรือผู้สอน ไม่ว่าเขาจะสนใจหรือไม่ก็ตาม วันต่อๆไปก็ค่อยว่ากันอีกที

         

จากการทักทายและรู้จักกันวันนี้ ผมรู้สึกเหมือนทุกครั้งที่ได้อยู่ในกลุ่มคนที่ทำงานด้านนี้ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ทุกคนเป็นมิตร สนใจและรับฟังคนอื่น

มีความสุขครับ

 << APHN Diploma of Palliative Care ๑: หลักสูตร

APHN Diploma of Palliative Care ๓: เรียนกันอย่างไร >>

หมายเลขบันทึก: 95609เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2007 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • มาทักทายคุณหมอ
  • ทำไมต้องแนะนำสาวๆๆก่อนครับ
  • ผมแนะนำหมอสาวจากเฉิงตู จีนแผ่นดินใหญ่ชื่อ ซูฮัน ให้คนอื่นฟังเป็นคนแรก
  • ล้อเล่น
  • สาขาที่อาจารย์บอกมีผู้หญิงเรียนทั้งนั้นเลย
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงาน

A. Kajit.

I cannot useThai character with this computer, BTW, Thank you for coming.

Yes, They are all Great!!

palliative care faces, palliative care minds

สวัสดีครับ

  • แม้ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยแต่ก็ได้ความรู้ สนุกดีครับ
  • อาจารย์ไม่ต้องกังวลเรื่องพิมพ์ไทยไม่ได้นะครับ  อาจารย์พิมพ์ภาษาคาราโอเกะมาเลยครับ ผมอ่านได้ 555555 (อ่านเก่งกว่าภาษาอังกฤษอีก)
ขอโทษสำหรับคำนำหน้านามนะครับ  ใช้อาจารย์มั่ง  คุณหมอมั่ง  พี่มั่ง น้องมั่ง  ไม่ว่ากันนะครับ อิอิ

มาเยี่ยมคะ...คุณหมอ ไปดูงานนี่เอง....

อ่านแล้วขำดีคะ... 

ตอนนี้ก็เลยกลายเป็น หมอติ๋ม หมอทิม หมอทิ่ม ไปพลางๆ 

P ครับ

  • กลับมาถึงหาดใหญ่แล้วครับ  หายอึดอัดกับการพิมพ์ภาษาไทยไม่ได้เสียที
  • ไม่ว่ากันอยู่แล้วครับ เพราะผมก็เป็นเช่นนั้น

P ครับ

  • แวะไปฝากรอยไว้ที่บันทึก รัก primary care แล้วครับ
  • ถึง blog รัก palliative care ของคุณหมอยังว่างอยู่ ผมก็จะคอยอ่านครับ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท