(1) ได้สืบทอดพิธีทำขวัญ


ส่งเสริมความรัก ความผูกพันของพ่อแม่กับลูก

<p style="margin: auto 0cm; line-height: 120%">ความประทับใจ</p> <p style="margin: auto 0cm; line-height: 120%">ที่ได้สืบทอดพิธีทำขวัญ  </p> <h1 style="margin: auto 0cm; line-height: 120%">ความสำคัญของการทำขวัญนาค </h1> <p style="line-height: 120%; text-align: justify">        หมอทำขวัญนาคหรือหมอขวัญ  เป็นผู้ทำพิธีที่ถูกต้องตามประเพณีที่มีมาช้านานนับร้อยปี หรืออาจจะนานกว่านั้นด้วยซ้ำ พิธีทำขวัญนาค เป็นพิธีที่มีความขลัง น่าเชื่อถือ มิใช่ทำกันเล่น ๆ เอาแต่ความสนุกเพียงอย่างเดียวโดยมีการเติมแต่งมากจนเกินไปก็จะทำให้หมดความขลัง ไม่น่าเชื่อถือดังนั้นในสมัยก่อน ราว 150 ปี พิธีทำขวัญนาคจึงเป็นหน้าที่ของชายชรา ผู้ที่ทรงศีลในท้องถิ่น ได้ร่ำเรียนวิชา มีคาถา อาคมน่าเลื่อมใสและศรัทธา นุ่งห่มด้วยผ้าขาว  เป็นผู้บอกเรื่องราวกล่าวขวัญ โดยการสอนนาคให้ได้ล่วงรู้ถึงความสำคัญของการบวช </p> <p style="line-height: 120%; text-align: justify">            เมื่อเริ่มทำขวัญ   หมอขวัญจะเป็นผู้บรรยาย บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยการร้อง พูด ให้นาคได้รับรู้ตั้งแต่ก่อกำเนิดมาจนเติบใหญ่ แนะนำการปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในสมณะเพศ เป็นภิกษุสงฆ์ การวางตัวเคร่งครัดต่อข้อกำหนดทั้งหลาย  เชิญขวัญนาค  ซึ่งขวัญเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน  มอง ไม่เห็น แต่ที่เป็นรูปธรรมให้เข้าใจได้คือ ขวัญที่อยู่บนศีรษะ (บนหัว) ของคนเรา จะมีเส้นผมที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย บางคนมีขวัญเดียวบางคนมี 2 ขวัญหรือบางคนมีมากกว่า ในส่วนของพ่อนาค คือ ผู้ที่จะบวช จะต้องปลงผม โกนคิ้วออกไป นั่นหมายถึงว่า บนหัวไม่มีขวัญอีกแล้ว คนโบราณเกรงไปว่าคน ๆ นั้นอาจจะยังนึกเสียดายเส้นผมที่สวยงาม เมื่อบวชเป็นพระไปแล้ว จะไม่มีสมาธิ ควบคุมสติไม่ได้  จึงได้เชิญผู้ที่รู้คัมภีร์มาเรียกมิ่งเชิญขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัว จึงเป็นที่มาของการทำขวัญนั่นเอง </p> <p style="line-height: 120%; text-align: justify">          กาลเวลาต่อมาเมื่อมีศิลปินแขนงการแสดงเกิดขึ้น มีบุคคลที่เสียงดี ร้องเพลงเก่งเข้ามามีส่วนในการประกอบพิธีทำขวัญนาค ภาพเก่า ๆ จึงเปลี่ยนไป จากหมอทำขวัญที่เป็นผู้ชายสูงอายุมาประกอบพิธี  กลับเป็นหมอขวัญคู่ ชายกับหญิง 2 คน มาร่วมกันขับกล่อมให้นาคฟัง หรือในบางโอกาส  อาจมีหมอทำขวัญมากกว่า 2 คนเสียด้วยซ้ำบางงานพบว่ามีการติดต่อหมอทำขวัญมาถึง 6 คน เรียกว่ามาเป็นคณะกันเลย ยิ่งกว่านั้นในยุคปัจจุบัน การทำขวัญนาค กลายเป็นมหรสพที่เน้นความสนุกสนานมากกว่าเรื่องราวที่มีคุณค่าอย่างในต้นแบบฉบับครู ที่มีบทมีตอนในการนำเสนอ เรื่องราว  จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ความขลัง (ความศักดิ์สิทธิ) ลดน้อยลงหรือเจือจางไปบ้าง </p> <p style="line-height: 120%; text-align: justify">            ในส่วนตัวของผู้เขียน มีความเห็นว่า ผู้ประกอบพิธีทำขวัญนาคจะเป็นชายหรือหญิง หรือว่าจะเป็นชายกับหญิง  จะมีจำนวนกี่คนก็ตาม  ลักษณะของพิธีกรรมจะต้องบ่งบอกถึงความขลังมีศรัทธาและความน่าเชื่อถือ นั่นหมายถึง แสดงความเคารพครูอาจารย์ที่สั่งสอนมา ดำเนินการตลอดพิธีด้วยความสงบ สุขุม มีความเชื่อมั่น สมจริงสมจัง อาจมีความสนุกสนานได้ตามสมควรแก่เหตุ และที่สำคัญ เจ้าภาพที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ และตัวนาค จะต้องได้รับประโยชน์ จากเรื่องราวที่เป็นคติ สอนใจให้คิด ปฏิบัติตามอย่างมั่นคงถาวร เช่น การสืบทอดและปกป้องพุทธศาสนา  ลูกกลับมาตอบแทนบุญคุณของพ่อ แม่ นาคมีความรักพ่อ แม่ และปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคมมากยิ่งขึ้น  ครองตนอยู่ได้อย่างมีสติ</p> <p style="line-height: 120%; text-align: justify"></p> <p style="line-height: 120%">ความประทับใจของข้าพเจ้า          </p>

     ผมได้นำความรู้ ความสามารถไปแนะนำ สอนนาค หรือผู้ที่จะบวชตามรูปแบบปฏิบัติที่ได้ร่ำเรียนมาจากคุณตา ชื่อวัน มีชนะ และได้ประยุกต์ในบางส่วนให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน ผมได้นำเอาท่วงทำนองเพลงพื้นบ้านต่าง ๆ หลายอย่าง เข้ามามีส่วนในการนำเสนอเรื่องราวทำขวัญนาค เช่น ขับเสภา ตอนเกริ่นนำเข้าสูบทไหว้ครู  ร้องแหล่แบบด้นกลอนสดฉับพลัน ตอนกล่าวถึงที่มาของการจัดงานบวชนาคในวันนี้ ร้องทำนองเพลงไทยเดิมหลายทำนอง ประกอบบทร้องทำนองเสนาะ (ธรรมวัตร) ใช้ทำนองรานิเกลิงหรือราชนิเกลิง ร้องกลอนสดอธิบายตอนปฏิสนธิ (กำเนิดของคน) ร้องกล่อม ทั้งแบบเดิม และประยุกต์ด้วยทำนองสมัยใหม่ ใส่จังหวะที่สนุกสนานเข้าไปบ้าง และเตือนสตินาคด้วยบทร้องลา กล่าวถึงการลาไปบวช เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แก่  เพื่อทดแทนพระคุณ เพื่อที่จะสืบทอดศาสนา  และเพื่อแผ่ส่วนกุศลแก่ญาติพี่น้อง ในบทนี้สามารถที่จะเรียกน้ำตาจากพ่อแม่ และตัวเจ้านาคได้ทุกงาน

            พิธีทำขวัญนาคจึงจบลงด้วยความรัก ความผูกพันของพ่อแม่กับลูก เมื่อได้เห็นน้ำตาแห่งความรัก ลูกก้มลงกราบพ่อแม่ ขออโหสิกรรม มือของพ่อแม่ประคองที่ไหล่ลูกชาย อันเป็นภาพประทับใจที่สวยงาม น่ายกย่องอย่างมิรู้ลืม ผมได้นำเอาบรรยากาศในพิธีทำขวัญนาคกลับมาเล่าให้นักเรียนที่สอนได้ซึมซับความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกด้วย

 (ชำเลือง  มณีวงษ์ / ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ราชมงคลสรรเสริญ ปี 2547)  <p style="line-height: 120%"> </p></span></span></font></font></font></span></span>

คำสำคัญ (Tags): #ประสบการณ์ตรง
หมายเลขบันทึก: 95527เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2007 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาเยี่ยม...

มาสนับสนุนความคงอยู่ของวัฒนธรรมเดิม...ครับ

ผมเคยร้องทำนองแหล่...สอนนาค...ได้มาจากคุณน้ำผึ้ง  เพชรอุทัย  ที่ขึ้นต้นว่า...

พ่อนาคเอ๋ย...ฟังเฉลยสักนิดพ่อจงตั้งจิตและตั้งใจ...ฯลฯ

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ UMI มากครับ

  • เข้ามาให้การสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมไทย
  • ดีใจมากครับ ที่ท่านอาจารย์ก็ร้องทำนองแหล่ได้
  • พ่อนาคเอ๋ย.. พ่อจงมาเป็นมหาสำเภาทองของพ่อและของแม่.. ก็นับว่าเลิศประเสริฐแท้ นะพ่อนาคเอย...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท