เฝ้าดูจิตใจของเรา


จะเป็นมนุษย์ที่มีสติ สมาธิ และปัญญา ที่ดีขั้น พัฒนาได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่ออาจจากความไม่รู้ และความทุกข์ ครับ

            เมื่อเฝ้าดูจิตในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา  พบว่าจิตของเรานั้นวิ่งไปมารวดเร็วมาก        วิ่งไปเรื่องนั้นเรื่องนี้  ไปอดีต  ไปอนาคต  ไปเรื่องที่พอใจ  เรื่องที่ไม่พอใจ      หรือบางครั้งหลุดไปอยู่นานกับเรื่องบางเรื่องจนเราเองก็ไม่รู้ตัว  คือมัวแต่ติดพันกับเรื่องนั้นๆ  เคลิ้มไปกับจิตใจที่คิดฟุ้งซ่านเป็นเรื่องเป็นราว

       

  เมื่อก่อนเวลาฝึกสมาธิผมมักจะท้อแท้และโกรธตัวเองว่าทำไมนะ  ใจไม่นิ่งเลย      ทำไม่ก็แค่จิตของเราแล้วเราคุมไม่ได้  เหมือนจับมันขังเอาไว้ก็เท่านั้นเอง  แต่ทำไม่เคยได้

     

ช่วงหลังมาคือการทำหน้าที่เป็นผู้ตาม     ผู้รู้จิตเหล่านั้น  ไม่บังคับ  ไม่ฝืนเขา  เพียงรับรู้ว่าเรากำลังคิดเรื่องอะไร     และพยามดังจิตมารู้ที่ลิมหายใจเข้าออก  หรือรู้กาย  รู้เวทนา  ของเราในขณะนั้นๆ

  

 เคยได้ยินอาจารย์บางท่านว่าเมื่อเราทำตัวให้รู้มากๆ  จิตที่ชอบดิ้นพล่านหรือเที่ยงล่องลอยก็จะสงบลง  เพราะเราเจริญสติ  จนรู้ทัน  ดักไว้ทัน  (การรู้หรือปัญญาจะมาแทนที่ความไม่รู้)

       

    ที่เขียนไปก็ไม่แน่ใจซะทีเดียวว่าถูกต้องทั้งหมดหรือไม่นะครับ      แต่ว่าพยามเขียนจากประสบการณ์     จากสิ่งที่กำลังปฏิบัติ     และหวังผลยิ่งๆขึ้นไปครับว่า  จะเป็นมนุษย์ที่มีสติ  สมาธิ  และปัญญา  ที่ดีขั้น  พัฒนาได้มากขึ้นเรื่อยๆ  เพื่ออาจจากความไม่รู้  และความทุกข์ ครับ....

หมายเลขบันทึก: 95499เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2007 01:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะคุณหมอสุพัฒน์ kmsabai

ดิฉันก็ทำอย่างเดียวกันเลยค่ะ เพราะจิตก็วิ่งไปมา ซนยิ่งกว่าลิงค่ะ แม้จะลดความซนไปมากแล้วก็ตาม บางทียังวนกลับไปคิดบางเรื่องค่ะ

ตามดูอย่างเดียวเลยค่ะ เพราะห้ามไม่ได้หรอกค่ะ ตอนนี้ดีว่าจะรู้ตัวว่าตัวเองกลับไปคิดอีกแล้ว พอมีสติค่ะ คิดเหมือนคุณหมอที่บอกว่าไม่ต้องไปห้าม แค่ตามดู แล้วจิตจะค่อยๆ นิ่งมากขึ้นค่ะ

ขอบคุณที่นำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังนะคะ...

สวัสดีครับคุณหมอสุพัฒน์

ตามอาจารย์กมลวัลย์มาแวะเยี่ยมเยียนตามประสาคนบ้านใกล้เรือนเคียง

ยืนยันว่าสิ่งที่คุณหมอปฏิบัตินะถูกต้องแล้วครับ

หลวงปู่ดูลย์ท่านสอนให้ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ"รู้อยู่กับที่" โดยไม่ต้องรู้อะไร ทำความ"รู้ตัวอยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนก แยกแยะ อย่าบังคับ แต่ก็อย่าปล่อยให้ล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆโดยไม่มีทางรู้ทันก่อน(สำหรับผู้ฝึกใหม่) ต่อเมื่อจิตแล่นไปคิดไปในอารมณ์นั้นๆจนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้สึกตัวขึ้นมาเอง

หลังจากที่รู้ตัวแล้ว ให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตัวเอง ระหว่างที่มี"ความรู้ตัวอยู่กับที่"กับ"ระหว่างที่"จิตคิดไปในอารมณ์ต่างๆ" ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูล(อุบาย)สอนให้จิตจดจำ

เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนักก็จะสามารถคุมจิตได้ และบรรลุธรรมในที่สุด โดยไม่ต้องปรึกษาใครเลย

ผมกับอาจารย์กมลวัลย์ได้ใช้วิธีนี้อยู่ครับ เห็นได้ชัดเลยว่า "กิเลสปรุงจิต หรือจิตปรุงกิเลส" กิเลสชนิดไหนที่หมดไปแล้ว ชนิดไหนที่ยังเหลืออยู่ และเหลืออยู่มากน้อยเท่าไร เรารู้แจ้งในจิตเราเอง โดยไม่ต้องถามใครจริงๆ

สวัสดีครับอาจารย์

P
  • ขอบคุณมากครับที่ร่วมแบ่งปัน
  • เรื่องประสบการณ์รู้จิต  หรือการเฝ้าดูจิตของตนผมคิดว่านักปฏิบัติคงมีอยู่มากครับ  และคิดว่ามันคงจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
  • ผมว่า..จริงๆแล้วผมเคยใช้คำที่ออกจะดุเดือดมาก  คือการต่อสู้  การรบกับจิตของตนเอง  สมัยที่เป็นนักเรียน  นักศึกษาครับ  ตอนนั้นไม่ได้มีอาจารย์  อ่านก็น้อย  และก็ใจร้อนครับ  แบบจินตนาการว่าฝึกปั๊บ    ต้องได้ผลทันทีตามที่คาดหวัง  พอไม่ได้ บางครั้งผมนั่งอยู่คนเดียวเป็นชั่งโมงไม่ไปไหนเลยครับ  เพราะว่าพยามที่จะจับลิงใส่กรง  แบบว่าจับไปโกรธไป  เสียใจไป  ผิดหวังไปที่ในที่สุดมันก้ยังออกมาได้  แบบว่าบางครั้งเหมือนเรามีสองคนในคนเดียวเลยครับอาจารย์(เมื่อหลายปีก่อนนะครับ)
  • ประสบการณ์ตอนนี้คือตั้งแต่รู้จักเรื่องกระบวนทัศน์  เรื่องคิดแง่บวก  คิดเชิงระบบ  เรื่องการเรียนรู้  คือศาสตร์ของจิตที่เป็นวิทยศาสสตร์สมัยใหม่  อ่านของอาจารย์หลายๆคน  ไม่ยึดติดกับใครคนหนึ่ง  มันก็เริ่มดีขึ้นครับ 
  • การฝึกตอนนี้เป็นไปอย่างนิ่มนวล  สบายๆ สุขและสงบ  และรู้สึกถึงการพัฒนาเปลี่ยนแปลงภายในที่รวดเร็วกว่าเดิมมากๆครับ  ไม่วนๆอยู่กับที่เหมือนก่อน(เคยมีประสบการณ์หลังว่าจิตตนเองพัฒนาแล้ว  เมื่อเจอปัญหา  ความโกรธเราถึงรู้ว่า แท้จริงจิตวิญญาณภายในของเราแค่เพียงผู้เริ่มต้น  ต่างกับชาวบ้านอื่นๆไม่มากเท่าใดนัก)

 

สวัสดีครับอาจารย์
  • P
  • ขอบพระคุณอาจารย์มากๆครับที่ร่วมแบ่งปัน 
  •   รู้สึกเป็นบุญของผมจริงๆครับ  จริงๆนะครับ
  • ขอบประเด็นนี้มากครับ   ต่อเมื่อจิตแล่นไปคิดไปในอารมณ์นั้นๆจนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้สึกตัวขึ้นมาเอง
  • คือว่ามีประสบการณ์ตรงนี้จริงๆครับว่า  ช่วงนี้จะรู้สึกว่าจะเกิดความคิดเกิดขึ้นบ่อยๆแบบอัตโนมัติครับว่าตอนนี้เรารู้สึกตัวหรือเปล่า  เรากำลังคิดอะไรอยู่  แบบว่า  อ้อเมื่อกี้คิดเรื่องนี้ไป  เคลิ้มไม่รู้ตัวเลยนะ  แบบว่าแต่ก่อนอาจจะนานเป็นวันกว่าที่เราจะรู้ตัว  แต่ตอนนี้จะมีการรู้สึกตัวทุกๆชั่วโมงครับ  แม้กระทั่งเวลาที่เรามีสมาธิกับงานอยู่
  • ขอบคุณท่านอาจารย์จริงครับ
P
P
  • เข้ามายกมือเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ทั้งสองครับ
  • แต่ก็อยากแสดงความคิดเห็นเล็กน้อยครับว่า
  • การฝึกกรรมฐานนั้นท่านแบ่งเป็นสองแบบครับ
  • คือ สมถกรรมฐาน  และ วิปัสสนากรรมฐาน
  • แบบแรกเราฝึกให้ แน่วแน่ นิ่ง มีกำลัง ทำให้ได้สมาธิ
  • แบบหลังเรารู้ตามอารมณ์ เพื่อให้เห็นความเป็นจริง ทำให้ ได้ปัญญา
  • ฉะนั้นการที่เราฝึกสมถกรรมฐานก็เพื่อให้จิตเรามีกำลัง แล้วนำมาใช้กับวิปัสสนากรรมฐานครับ
  • ผมเข้าใจว่าที่อาจารย์นั่งสมาธิก็เพื่อฝึกสมถกรรมฐาน  และการรู้เท่าทันอารมณ์ที่กำลังทำอยู่นี้คือวิปัสสนากรรมฐานครับ
  • ถ้าเราเข้าใจวัตถุประสงค์แล้ว เราก็สามารถทำทั้งสองอย่างแบบเกื้อกูลกันได้ดี
  • เพราะผมเห็นคนเดี๋ยวนี้ชอบกล่าวหา สมถกรรมฐานกันมาก  เพราะเขาไม่เข้าใจวัตถุประสงค์นั่นเอง

ฝากชี้แนะด้วยครับ

สวัสดีครับอาจารย์
P

 

  • ขอบคุณมากครับที่ร่วมแบ่งปัน
  • ความเห็นอาจารย์ทำให้ได้ทบทวนความเข้าใจมากขึ้นครับ

         

แวะมาทักทายคุณหมอค่ะ..ห่างหายไปนานเหมือนกันนะคะ..คุณหมอสบายดีมั๊ยคะ..

อากาศอย่างนี้..สำหรับตัวเองที่ยังกิเลสหนา(แหะ..แหะ)ไม่เหมาะกับการทำสมาธิซักเท่าไหร่..เนื่องจากกิเลศง่วงเหงาหาวนอน..ชนะทุกทีเลย..เฮ้อ..

 

สวัสดีครับ

P
  • สบายดีครับ
  • ก็ค่อยๆเป็นค่อยไปนะครับ 
  • ผมก็ไม่คืบหน้าเทาใดครับทั้งที่เริ่มนานมากแล้ว  ปัญญาคงน้อย  หรือว่าความเพียรอาจจะไม่พอนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท