การระดมสมอง… VS “สาดกระสุน” ของคู่กัน...


"ต่างคนต่างงัดอาวุธขึ้นมาเตรียมพร้อมกันใหญ่ พร้อมที่จะต้องป้อมสาดกระสุนใส่กันหากต้องโอกาส..."

ปล. บันทึกนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว  อาจจะตรงกับความคิดเห็น  หรือไม่ตรงกับความคิดเห็นของใคร...  ซึ่งมิได้จงใจให้เกิดผลเสียหายใด ๆ  ทั้งสิ้น...

หลายคนชอบที่จะทำงานคนเดียว  หรือเรียกว่า  พวก  “ฉายเดี่ยว”  แต่ก็ยังมีคนอีกมากที่ต้องการทำงานกันเป็นทีม  เป็นกลุ่มเป็นก้อน  ด้วยเหตุผลหลายประการ...  แน่หละ  คุณต้องเจอปัญหาแน่  ปัญหาของการทำงานในคนหมู่มากมีหลายประการ  เพราะคนเหล่านี้มาจากหลาย ๆ  ที่  หลาย ๆ  วัฒนธรรม  บางครั้งต้องเกิดการผิดใจกันบ้าง...  ดังนั้น... คุณต้องยอบรับในข้อนี้ให้ได้  และหาทางแก้ไขด้วยวิธีที่แยบยลที่สุด  เพื่อรักษาน้ำใจกันทั้งสองฝ่าย...

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่จะพูดถึง..  ก็คือ  ปัญหาในระหว่างการประชุมหรือระว่างการระดมสมอง  ในระยะเวลานี้มักมีพวก  “อวดฉลาด”  แฝงตัวเขามาด้วย...  แน่หละเขาอาจจะเป็น  “ฮีโร่”  ในทางความคิดในขณะนั้นก็ได้ใครจะไปรู้  ถ้าเขาคนนั้นรับฟังปัญหาต่าง ๆ  ให้จบสิ้นและรวมกันระดมสมองเสียก่อน...  แต่กลับไม่เสียนี่  พวกนี้...  มักยึดความคิดของตัวเองเป็นใหญ่  บางครั้งฟังปัญหายังไม่จบซะด้วยซ้ำ  ก็ยกมือตอบปัญหาและทางแก้ซะอย่างนั้น...

มันเป็นการดีแน่...  ถ้าความคิดของเขาแก้ปัญหาได้จริง  แต่ถ้าตอบอย่างเลื่อนลอยอาจทำให้การระดมสมองหยุดชะงับ  และไขว้เขวได้  ดังนั้น...  ผู้ควบคุมการประชุมควรระมัดระวังให้ดี

และแน่หละ...  เมื่อมีพวกอวดฉลาด  ก็ต้องมีพวก  “สาดกระสุน”

พวกนี้...  มักจะปรากฏตัวหลังจากมีการระดม  “ความคิด”  อยู่เรื่อยไป...  พวกนี้ชอบทำสงครามใต้ดิน  เกิดขึ้นจากการที่จะพยายามของใครบางคนที่ต้องการครอบงำการการประชุมให้อยู่ในความคุมของตัวเองอยู่ร่ำไป...  เอาหละทีนี้  ต่างคนต่างงัดอาวุธขึ้นมาเตรียมพร้อมกันใหญ่  พร้อมที่จะต้องป้อมสาดกระสุนใส่กันหากต้องโอกาส...  แน่นอน  หลังจากนี้ต้องบานปลายไปกันใหญ่แน่  ถ้าผู้นำการประชุมไม่หยุดการประชุม  และไม่หาตัวต้นเหตุมาพูดคุยให้เข้าใจ  ในเหตุผลและวัตถุประสงค์ของการประชุม...  แล้วค่อยเริ่มการประชุมกันใหม่

อย่างที่...  ยกตัวอย่างข้างข้นมาแล้วนั้น  ซึ่งจะเป็นสาเหตุของการ  “ล่ม”  ของ  “เรือบรรทุกสมอง”  แน่นอน  ดังนั้น...  การจะให้การระดมความคิดที่มีคุณภาพ  ก็ต้องมีผู้นำการประชุมที่มีคุณภาพในการจัดการในเรื่องต่าง ๆ  ด้วย  เพื่อที่จะสามารถทำให้ทุกคนสร้างข้อตกลงในวัตถุประสงค์ของการประชุมร่วมกัน...  รู้จักสังเกตการเปลี่ยนแปลงหรือสิ่งเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้น  และพร้อมที่จะดึงการสนทนาให้กลับมาอยู่ในสถานการณ์  และทิศทางปกติได้อย่างนิ่มนวล  และแนบเนียนที่สุด...

คำสำคัญ (Tags): #ระดมสมอง
หมายเลขบันทึก: 95058เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2007 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
หากวงสนทนาเป็นแบบนี้ คงหมดสนุกแน่ ผู้นำหรือประธานการประชุมคงต้องรับบทหนัก การตกลงกติกาก่อนเริ่ม เช่นให้พูดในเชิงบวก น่าจะช่วยได้ หากยิ่งเสริมด้วยการฟังอย่างตั้งใจ แขวนไว้อย่าเพิ่งตัดสิน อาจช่วยให้วงกลับมาสนุกอีกครั้ง

สุนทรียสนทนา สำคัญจริงๆครับในการประชุมให้มีประสิทธิผล โดยเฉพาะคนที่นั่งหัวโต๊ะ ถ้าเป็นผู้ฟังที่ดี คุมสถานการณ์ได้ พยายามกระตุ้นเร้าให้เกิดบรรยากาศในการแชร์ idea แบบธรรมชาติ ผมว่าองค์กรนั้นน่าอยู่ที่สุดในโลกเลย

ขอบคุณ  คุณ
P
ที่เข้ามาอ่านครับ...  "หมดสนุกแน่ครับ"  เพราะต่างคนต่างแสดงศักยภาพ  ข้าง ๆ  คู ๆ  หาสติตัวเองไม่เจอ...  เหตุการณ์นี้เคยเกิดกับเวทีสนทนา  "เปิดใจ"  มาแล้ว  ผลสุดท้าย  "ล่ม"  ไม่เป็นท่าเหมือนกัน...  ขอบคุณครับ
ขอบคุณ  คุณ
P
ที่เข้ามาอ่านครับ...  "สุนทรียสนทนา"  ผมชอบคำนี้ครับ...  ถ้าสังคมมีบรรยากาศแบบที่คุณว่าก็ดีทีเดียวครับ  แต่...  คนสมัยนี้  "ยอมเปิดกว้างทางความคิด  หรือไม่  อันนี้...  น่าคิดนะครับ  ถ้าไม่ยอมแง้มประตูออกมาต้อนรับคนอื่นเลย  คงจะยากทีเดียวที่คนอื่นจะดันประตูเข้าไป...  ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท