beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ความลับของน้องผึ้ง <๔> : การตีผึ้งหลวงแบบอนุรักษ์


การตีผึ้งแบบอนุรักษ์ จะตีเพื่อเก็บ"หัวน้ำ" ได้ ๒ ครั้ง ครั้งแรกในเดือนธันวาคม และครั้งที่สองในเดือนเมษายน

        เมื่อวาน (๗ พฤษภาคม) ผมดูข่าวทางช่อง ๗ สี มีเรื่องและภาพของการตีผึ้งหลวง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ (จำชื่อหมู่บ้าน, ตำบล และอำเภอ ไม่ได้แล้วครับ)

        ที่หมู่บ้านนั้น มีผึ้งหลวงมาเกาะทำรังที่ "ต้นผึ้ง" ถึง ๗๐ รัง มีการแบ่งสันปันส่วนให้ตีผึ้งกัน.. เป็นการตีผึ้งแบบอนุรักษ์นะครับ

        "หมอผึ้ง" หรือ "พรานผึ้ง" ที่จะตีผึ้งนั้น เขาก็จะมีพิธีกรรมตามความเชื่อของเขา แบบที่มีการพูดกันว่า "ไม่เชื่ออย่าลบหลู่"

        ความจริงพิธีกรรมตามความเชื่อนั้น อาจมีคาถา "กันผึ้งต่อย" อยู่ด้วย เพื่อเรียกความเชื่อมั่น

       อย่างที่ผมเคยกล่าวไว้เมื่อ ตอนก่อนว่า จริงๆ แล้ว ไม่มีคาถาหรอกครับ แต่เป็นภูมิปัญญาของคนโบราณ ถ้าบอกกล่าวตรงๆ ก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ จึงคิดเป็นอุบาย บอกเรื่องคาถา และพิธีกรรม

      การตีผึ้งหลวงแบบอนุรักษ์ เป็นการตีผึ้งที่มุ่งเฉพาะส่วนที่เป็น "หัวน้ำ" (อยู่ด้านบน.. เอาไว้จะเขียนอีกบันทึกหนึ่ง)  คือบริเวณที่เป็นรวงน้ำผึ้ง.. การตีแบบนี้ จะใช้ควันรมผึ้ง และไม่ทำร้ายผึ้ง ผึ้งเขาก็จะไม่ทิ้งรังไป และสามารถสะสมน้ำหวานให้เราได้อีกครั้ง

      การตีผึ้งแบบอนุรักษ์ จะตีเพื่อเก็บ"หัวน้ำ" ได้ ๒ ครั้ง ครั้งแรกในเดือนธันวาคม และครั้งที่สองในเดือนเมษายน.. เรื่องนี้ก็คล้ายๆ กันทั่วประเทศ (ยกเว้นภาคใต้) เรียกว่าเป็นปฏิทินการตีผึ้งหลวงแบบอนุรักษ์ เลยก็ได้... การตีผึ้งแบบนี้ทำให้ผึ้งหลวงยังคงกลับมาให้เราตีได้ทุกปี ไม่เป็นการทำลายผึ้ง.. นับว่า คนกับผึ้ง อยู่กันได้ดี ด้วยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน

      อาจจะมีคำถามว่า "ตีผึ้งเพื่อเอาหัวน้ำ หลังจากนี้ได้หรือไม่" ตอบว่าได้ แต่จะได้น้ำผึ้งไม่ดี เพราะน้ำหวานตามธรรมชาติจะขาดแคลน แล้วผึ้งก็จะไปหาน้ำหวาน จากร้านขายขนม ซึ่งจะได้น้ำตาลอ้อย ผสมเข้ามา ทำให้น้ำผึ้งมีคุณภาพต่ำ หรือมีการปนน้ำตาลเข้าไปนั่นเอง

      นี่ก็เป็นคำตอบหนึ่ง ของความเชื่อว่า "ทำไมต้องเป็นน้ำผึ้งเดือน ๕"

beeman by Apinya

 

หมายเลขบันทึก: 94944เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2007 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียน อาจารย์

เมื่อวานก็ได้ดูเช่นเดียวกันค่ะ ก็สงใสอยู่เหมือนกันว่าทำไมผึ้งถึงได้มาอาศัยอยู่กันเยอะขนาดนั้น  แล้วภาคใต้เขาเก็บน้ำผึ้งกันช่วงไหนคะ

  • ผมสงสัยเหมือนคุณงามตาครับ เรื่องภาคใต้เขาเก็บน้ำผึ้งกันช่วงไหน
  • ผมไปภาคใต้ไม่บ่อยนัก
  • ถ้าดูตามภูมิประเทศ ปักษ์ใต้ (14 จังหวัด) คงมีผึ้งหลวงไม่มากนัก
  • หรือถ้ามี ก็มีความชื้นสูง น้ำผึ้งของผึ้งหลวงที่ตีจากทางใต้จึงไม่ค่อยนิยม
  • ส่วนมากผมจะพบแต่ผึ้งโพรงทางใต้ครับ
  • หาก blogger ที่เป็นชาวใต้ มีข้อมูลเรื่องผึ้งหลวง หรือ การตีผึ้งหลวง แวะมาส่งข่าวที่บล็อกของผมได้นะครับ
  • ส่วนเรื่องผึ้งมาอยู่เป็นกลุ่ม มีการสันนิษฐานกันว่า ผึ้งหลวงพวกหนึ่ง ชอบมาทำรังอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า "Cluster" พวกนี้ คนละพวกกับพวกทำรังเดี่ยวๆ "Single colony"  
  • พวกที่ชอบทำรังเป็นกลุ่ม จะมาอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ที่มีกิ่งก้านแผ่ออก หลายทิศทาง เรียกรวมๆ ว่า "ต้นผึ้ง"  ผึ้งพวกนี้ก็เป็นญาติๆ กัน เวลาถูกตี ก็อาจจะเรียกว่า "ตีผึ้งสามัคคี" คือ ชาวบ้านช่วยกันตีครั้งละหลายรัง ส่วนพวกผึ้งก็ถูกตีครั้งละหลายรังเหมือนกันครับ

ผึ้งก็จะไปหาน้ำหวาน จากร้านขายขนม 555+

  • ในน้ำผึ้ง จึงมีน้ำตาลซูโครสปนอยู่ด้วย..อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท