หยา
นาง อารียา แจกัน จันทร์ศิริ

การบ้าน


ส่งแบบฝึกหัด

แบบฝึกทบทวน บทที่ 1 ตอนที่1

1.เหตุใดเครื่องคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ระบบเลขฐานสองในการทำงาน
-เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน ซึ่งสถานะของไฟฟ้านั้นจะประกอบด้วยสองสถานะ คือ
สถานะปิดและสถานะเปิด ซึ่งตรงกับจำนวนตัวเลขในระบบเลขฐานสองซึ่งมีสองจำนวน คือ 0กับ1
2.แปลงค่า 34ฐานสิบให้เป็นเลขฐานสองและฐานสิบหก
-ค่า34ฐานสิบ ในเลขฐานสอง คือ 100010 ฐานสอง
 ค่า34ฐานสิบ ในเลขฐานสิบหก คือ 22 ฐานสิบหก
3.แปลงค่า 110101ฐานสอง ให้เป็นเลขฐานสิบและฐานสิบหก
-ค่า110101ฐานสอง ในเลขฐานสิบ คือ 53ฐานสิบ
 ค่า110101ฐานสอง ในเลขฐานสิบหก คือ 35 ฐานสิบหก
4.หาผลบวกของ 101100+101
-101100+101=110001ฐานสอง
5.หาผลบวกของ 36BH+F6H
-36BH+F6H=461H
6.หาผลต่างของ 36BH-F6H
-36BH-F6H=275H

คำถามทบทวนตอนที่2
1.24 กิโลไบต์มีกี่ไบต์
-24 กิโลไบต์ มีค่าเท่ากับ 4096 ไบต์
2.เหตุใดจึงเรียกแรมในอีกชื่อหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรอง
-เนื่องจาก แรมทำหน้สที่เก็บข้อมูลเพื่อการประมวลผลในขณะที่เปิดใช้งานเครื่องนั้นอยู่ หากปิดเครื่อง
ข้อมูลที่มีอยู่ในหน่วยความจำแบบแรมก็จะหายไปด้วย
3.อธิบายองค์ประกอบและหน้าที่ขององค์ประกอบในcpu
-3.1รีจีเตอร์ --cpuจะใช้รีจีเตอร์ในการเก็บข้อมูลที่ดึงมาจากหน่วนความจำเพื่อนำมาประมวลผล
 3.2หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ--ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลต่างๆ
รวมถึงการประมวลผลทาวตรรกะ
 3.3โปรแกรมเคาเตอร์--ทำหน้าที่ชี้ตำแหน่งของคำสั่งในการทำงาน โดยในแต่ละครั้งที่cpu
ประมวลผล 1คำสั่งค่าของโปรแกรมเคาเตอร์จะเพิ่มขึ้นทีละ1 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงตำแหน่ง
ของคำสั่งตำแหน่งถัดไป
 3.4ตัวแปลงคำสั่ง--ทำหน้าที่ตีความหมายของคำสั่งแต่ละคำสั่งที่รับเข้ามาในcpu
4.บอกชนิดและหน้าที่ของบัส
-บัสแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
 4.1บัสข้อมูล--เป็นเส้นทางในการรับ/ส่งข้อมูลระหว่างกัน
 4.2บัสตำแหน่ง-- เป็นเส้นทางในการรับ/ส่งตำแหน่ง ซึ่งอาจเป็นตำแหน่งของหน่วยความจำหรือ
ตำแหน่งของอุปกรณ์ที่ต้องการติดต่อ
 4.3บัสควบคุม--ทำหน้าที่ในการรับ/ส่งสัญญาณในการควบคุมการทำงานต่างๆในระบบคอมพิวเตอร์
5.หากบัสตำแหน่งมีขนาด 16 เส้น จะสามารถอ้างถึงตำแหน่งของหน่วยความจำได้สูงสุดเท่าใด
-หากบัสตำแหน่งมีขนาด 16 เส้น จะสามารถอ้างถึงตำแหน่งของหน่วยความจำได้สูงสุด 65535 ไบต์
6.รีจีเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
-รีจีเตอร์มีประโยชน์ คือใช้ในการเก็บข้อมูลที่ดึงมาจากหน่วนความจำเพื่อนำมาประมวลผล
7.โปรแกรมเคาเตอร์ทำหน้าที่อะไร
-โปรแกรมเคาเตอร์--ทำหน้าที่ชี้ตำแหน่งของคำสั่งในการทำงาน โดยในแต่ละครั้งที่cpu
ประมวลผล 1คำสั่งค่าของโปรแกรมเคาเตอร์จะเพิ่มขึ้นทีละ1 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงตำแหน่ง
ของคำสั่งตำแหน่งถัดไป
8.ตัวแปลงคำสั่งทำหน้าที่อะไร
-ตัวแปลงคำสั่ง--ทำหน้าที่ตีความหมายของคำสั่งแต่ละคำสั่งที่รับเข้ามาในcpu

คำถามทบทวนตอนที่3
1.ไมโครโปรเซสเซอร์ หมายถึงอะไร
-ไมโครโปรเซสเซอร์ หมายถึง การรวบรวมเอาองค์ประกอบทั้งหมดของcpuเข้ามาไว้ในไอซีตัวเดียวกัน
2.อธิบายข้อจำกัดของการใช้หลอดสูญญากาศในการประดิษฐ์เครื่อวคอมพิวเตอร์
-หลอดสูญญากาศเป็นอุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิกส์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าค่อนข้างมาก
3.อธิบายความแตกต่างของcpu แบบCISCและ RISC
- cpu แบบCISCเป็น cpu ที่มีการออกแบบวงจรคำสั่งสำหรับการทำงานทั้งหมดที่เป็นไปได้ไว้
ทำให้มีคำสั่งจำนวนมาก ใช้ทรัพยากรมาก การออกแบบยุ่งยากซับซ้อนและใช้เวลานาน
 cpu แบบRISC เป็น cpu ที่มีการออกแบบโดยพยายามลดจำนวนคำสั่งลงทำให้ใช้ทรัพยากรในการทำงาน
น้อย ส่งผลให้การทำงานของ cpu มีความเร็วสูงขึ้น

แบบฝึกหัดท้ายบท บทที่1
1.แปลงค่า เลขฐานสิบให้เป็นเลขฐานสอง
1.1 12
-12เลขฐานสิบ=1100เลขฐานสอง
1.2 123
-123เลขฐานสิบ=1111011เลขฐานสอง
1.3 63
-63เลขฐานสิบ=111111เลขฐานสอง
1.4 128
-128เลขฐานสิบ=10000000เลขฐานสอง
2.แปลงค่า เลขฐานสองให้เป็นเลขฐานสิบ
2.1 100100
-100100เลขฐานสอง=36เลขฐานสิบ
2.2 1000001
-1000001เลขฐานสอง=65เลขฐานสิบ
2.3 1101
-1101เลขฐานสอง=13เลขฐานสิบ
2.4 00100010
-00100010เลขฐานสอง=34เลขฐานสิบ
3.แปลงค่า เลขฐานสองให้เป็นเลขฐานสิบหก
3.1 100100
-100100เลขฐานสอง=24เลขฐานสิบหก
3.2 1000001
-1000001เลขฐานสอง=41เลขฐานสิบหก
3.3 1101100100
-1101เลขฐานสอง=Dเลขฐานสิบหก
3.4 00100010
-00100010เลขฐานสอง=22เลขฐานสิบหก
4.แปลงค่า เลขฐานสิบหกให้เป็นเลขฐานสองและเลขฐานสิบ
4.1 2B9H
-2B9Hเลขฐานสิบหก=001010111001เลขฐานสอง
 2B9Hเลขฐานสิบหก=715เลขฐานสิบ
4.2 F44H
-F44Hเลขฐานสิบหก=111101000100เลขฐานสอง
 F44Hเลขฐานสิบหก=3975เลขฐานสิบ
4.3 912H
-912Hเลขฐานสิบหก=100700010010เลขฐานสอง
 912Hเลขฐานสิบหก=2385เลขฐานสิบ
4.4 FFFFH
-FFFFHเลขฐานสิบหก=1111111111111111เลขฐานสอง
 FFFFHเลขฐานสิบหก=8470เลขฐานสิบ
5.บวกค่าเลขฐานสิบหกต่อไปนี้
5.1 2CH+3FH
-2CH+3FH=6BH
5.2 F34H+5D6H
-F34H+5D6H=1510H
5.3 20000H+12FFH
- 20000H+12FFH=212FFH
6.ลบค่าเลขฐานสิบหกต่อไปนี้
6.1 24Fh-129H
- 24Fh-129H=126H
6.2 FE9H-5CCH
- FE9H-5CCH=A1Dh
6.3 2FFFFH-FFFFFH
- 2FFFFH-FFFFFH=2H
7.แสดงค่ารหัสแอสกี้ตั้งแต่ 0-9 ในรูป เลขฐานสองและเลขฐานสิบหก
-เลขฐานสอง  เลขฐานสิบหก  รหัสแอสกี้
0110000    30    0
0110001    31    1
0110010    32    2
0110011    33    3
0110100    34    4
0110101    35    5
0110110    36    6
0110111    37    7
0111000    38    8
0111001    39    9
8.แสดงค่ารหัสแอสกี้ต่อไปนี้
computer
-รหัสแอสกี้ = 636F6D7075746572
Welcome
-รหัสแอสกี้ = 57656C636F6D65
Ubonratchathani Rajabhat University
-รหัสแอสกี้ = 55626F6E7261746368617468616E69 52656C636F6D65
556E6976657273697479


คำถามทบทวน บทที่ 2 ตอนที่ 1
1.บอกคุฌสมบัติของ 8086 ที่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นจาก8080/8085 มา 3 ข้อ
-คุฌสมบัติของ 8086 คือ
 1. สามารถอ้างถึงหน่วยความจำได้ถึง 1 เมกกะไบต์
 2. ขนาดของบัสมีขนาดเพิ่มขึ้นจากเดิม 8080/8085 มีเดต้าบัสขนาด 8 บิต ในขณะที่ 8086
มีขนาดเดต้าบัสขนาด 16 บิต ทำให้ทำงานเร็วขึ้น
 3. การนำเอาระบบไปป์ไลน์เข้ามาใช้งาน จะทำให้การทำงานมีความเร็วขึ้นมาก
2.บอกความแตกต่างของ 8088 กับ 8086
- ความแตกต่างของ 8088 กับ 8086 คือ 8088 มีระบบบัสภายในขนาด 16 บิต
แต่ระบบภายในได้รับการออกแบบให้มีขนาด 8 บิต เพื่อรองรับการใช้งานและเพื่อลดต้นทุนการผลิต
3.บอกขนาดของบัสตำแหน่งและขนาดของตำแหน่งหน่วยความจำของซีพียู 80286,80386
- 80286 มีขนาดของบัสตำแหน่ง 24 บิต ตำแหน่งหน่วยความจำ 16เมกกะไบต์
  80386มีขนาดของบัสตำแหน่ง16 บิต ตำแหน่งหน่วยความจำ32 เมกกะไบต์
4.80286 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาด  16 บิต ในขณะที่ 80386 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาด 32 บิต
5.บอกความแตกต่างของ80286 กับ 80386SX
-ความแตกต่างของ80286 กับ 80386SX คือ 80286 มีระบบภายในและภายนอกขนาด 16 บิต และ
บัสตำแหน่งขนาด 24 บิต อ้างถึงตำแหน่งหน่วยความจำได้ 16 เมกกะไบต์ สามารถอ้างถึงหน่วยความจำ
แบบเสมือนได้
  80386SX เป็นโปรเซสเซอร์ที่มีบัสภายใน 32 บิต และบัสภายนอกขนาด 16 บิต โดยสามารถอ้างตำแหน่ง
หน่วยความจำได้ 16  เมกกะไบต์
6.คุณสมบัติใดบ้างที่มีใน 80286 แต่ไม่มีใน 8086
-  80286 สามารถอ้างถึงหน่วยความจำแบบเสมือนได้ โดยจะสามารถทำงานได้ใน 2 โหมด คือ
 โหมดจริงและโหมดป้องกัน
7.คุณสมบัติใดบ้างที่มีใน 80486 แต่ไม่มีใน 80386
- 80486 มีการรวมเอาโปรเซสเซอร์ประมวลผลทางคณิตศาสตร์เข้ามาไว้ภายใน cpu ตัวเดียวกัน
และได้มีการเพิ่มเติมคุณสมบัติพิเศษอื่นๆอีก เช่น หน่วยความจำแบบแคช ซึ่งเป็นหน่วยความจำ
แรมแบบหนึ่งแต่จะเป็นแรมที่มีความเร็วในการทำงานสูงมาก

 

คำถามทบทวน ตอนที่2
1.อธิบายความแตกต่างของหน้าที่การทำงานของEUและBIU
- EU( หน่วยประมวลผลคำสั่ง) ทำหน้าที่ในการทำงานตามคำสั่งต่างๆ ในขณะที่ BIU (หน่วยเชื่อมต่อกับบัส)
จะทำหน้าที่ติดต่อกับหน่วยความจำหรืออุปกรณ์ต่างๆในการทำงาน BIU จะทำหน้าที่ไปดักคำสั่งถัดไป
ในขณะที่ EU ทำการประมวลผลคำสั่งก่อนหน้า
2.ไปป์ไลน์คืออะไร และทำให้การทำงานของ cpu เร็วขึ้นได้อย่างไร
- ไปป์ไลน์ คือ วิธีการที่จะทำให้ cpuมีความเร็วในการทำงานสูงขึ้นโดยการเพิ่มความถี่ในการทำงานและ
ปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมใน cpu
3.แสดงรายชื่อของรีจีเตอร์ใน 8086 พร้อมบอกหน้าที่การทำงาน
- รายชื่อของรีจีเตอร์ใน 8086 คือ
  AX คือ Accumulator,BX คือ Base address register,CX  คือ ตัวนับในรอบวงจรหรือการทำงานซ้ำ
, DX คือ ตัวที่ใช้ในการชี้ตำแหน่งข้อมูลสำหรับการรับ/แสดงผลข้อมูล       

คำสำคัญ (Tags): #ลำดวน
หมายเลขบันทึก: 94627เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2007 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
เนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนที่กำลังเรียนอยู่ครบถ้วนเข้าใจได้ง่ายดีจังคะ่
คุณลำดวนให้ความคิดเห็นได้ดี
อ่านแล้วเข้าใจดีจ๊ะ

คุณลำดวนคุณจะไปขายประกันที่ไหน

ดีใจจังเจอแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท