ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

อบรมจนอ่อนแอ


การบรมให้ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาอาชีพให้สำเร็จ
 

งานพัฒนาอาชีพที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือ NGO ก็มักจะใช้กระบวนการการฝึกอบรมเป็นเครื่องมือในถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการฝึกอบรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้มอบหมายให้ปราชญ์ชาวบ้านเป็นศูนย์ในการถ่ายทอดความรู้โดยผ่านกระบวนการฝึกอบรมให้ความรู้เกษตรกร ซึ่งมีเป้าหมาย จำนวน 20,000 รายทั่วประเทศ

  การดำเนินการฝึกอบรมผ่านไปได้ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการผ่านไปด้วยความทุลักทุเล และวันนี้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์ได้ออกมาเยี่ยมและประเมินผลการฝึกอบรมของศูนย์เรียนรู้มหาชีวาลัยอีสาน (ครูบาสุทธินันท์   ปรัชญพฤทธิ์) ซึ่งประกอบด้วย คุณไพศาล   แสงหิรัญ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 7 คุณสุรวุฒิ   วงศ์ไกรปัญญาเลิศ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6 และคุณบัณฑิต   เตือประโคน เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์   

จากการประเมินเบื้องต้นพบว่าการฝึกอบรมในครั้งนี้มีจุดอ่อนหลายประการอันประกอบด้วย

1.    การเป็นศูนย์ฝึกอบรมของปราชญ์ชาวบ้าน เนื่องจากศูนย์ฯ แต่ละศูนย์มีศักยภาพและความพร้อมที่แตกต่างกัน บางศูนย์ มีความพร้อมาก บางศูนย์มีความพร้อมค่อนข้างน้อย ดังนั้นจึงมีข้อเสนอว่าในการพิจารณาศูนย์การเรียนรู้นั้นจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ต้องเลือกศูนย์ที่มีความพร้อมจริงๆ จึงจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงได้ตามวัตถุประสงค์ 

 2.    ระเบียบว่าด้วยการเงิน และพัสดุไม่มีความยืดหยุ่น จากที่คุยกันก็พบว่าการมีระเบียบมากำกับการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เป็นสิ่งที่ดี  แต่การมีระเบียบที่หยุมหยิมมากจนกระทั่งไม่สามารถดำเนินงานงานได้ก็เป็นสิ่งที่ไม่ดี ดังโครงการนี้เป็นต้น  เพราะจากการออกระเบียบมานั้นแทบไม่มีความยืดหยุ่นเลยจึงมีปัญหาอยู่บ้างในการดำเนินงาน

3.    การคัดคนเข้าร่วมอบรม นับเป็นหัวใจสำคัญ จากการดำเนินการฝึกอบรมพบว่ากลุ่มคนที่เข้ารับการฝึกอบรมในโครงการนี้มีหลายประเภท ประกอบด้วย 1. เข้าร่วมโครงการโดยสมัครใจ 2. เข้าร่วมโดยการขอร้องจากตัวแทนภาครัฐ และผู้นำชุมชน 3. เข้าร่วมโดยถูกบังคับโดยหน่วยงานของรัฐ องค์กรท้องถิ่น และผู้นำชุมชน  

4. เข้าร่วมโดยเป็นตัวแทนเนื่องจากถูกขอร้องมาแต่ไม่สามารถเข้าร่วมอบรมได้จึงต้องส่งภรรยา หรือลูกไปร่วมอบรมแทน4.    การสนับสนุนปัจจัยการผลิต หน่วยงานของรัฐไม่ได้สนับสนุนปัจจัยการผลิตหลังจากการฝึกอบรมจึงไม่เกิดแรงบันดานใจในการเข้าร่วม เพราะอบรมมาแล้วคิดว่าจะไม่ได้ทำเนื่องจากไม่มีทุน ดังนั้นในโครงการต่อไปรัฐควรพิจารณาจุดนี้

5.    สร้างเกษตรกรให้เป็นคนเรียนรู้มากกว่าการรับรู้ โครงการนี้ควรที่จะสร้างความตระหนักให้เกษตรกรในการที่จะเป็นคนเรียนรู้ตลอดเวลา เพราะจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยก็คือเกษตรกรมีความรู้ไม่พอใช้ในอาชีพของตน จึงทำให้ไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในชุมชนของตนเอง  ดังนั้น ผมจึงมองว่าประเด็นนี้ค่อนข้างจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะพัฒนางานโครงการส่วนที่คงค้างอีกต่อไป 

จากกระบวนการดำเนินงานการฝึกอบรมที่ผ่านมาทำให้เราพบว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมในโครงการนี้ ส่วนใหญ่ผ่านการฝึกอบรม และการดูงานในลักษณะเช่นเดียวกันนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง และในการมาอบรมตามโครงการนี้อาจจะมีบางศูนย์การฝึกอบรมที่มีระดับความเข้มข้นของกิจกรรมที่ต่ำกว่าศูนย์ที่เกษตรกรเคยไปเรียนรู้มาก่อน ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจึงเกิดการเปรียบเทียบ และมีพฤติกรรมที่ขาดความเชื่อมั่นในการมาร่วมฝึกอบรมในครั้งนี้ ในที่สุดจึงขาดความเชื่อมั่นในตัวศูนย์และส่งผลให้เกิดความอ่อนแอในการฝึกอบรมในโครงการดังกล่าว

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

1 พฤษภาคม 2550

หมายเลขบันทึก: 93774เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2007 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อบรมมากก็เบื่อครับ  อย่าว่าแต่เกษตรกรเลยครับ  ผมก็เบื่อเหมือนกัน...

ซำบายดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท