การรักษาแผลกดทับ


เมื่อผมมาถึงที่พญาไท 1 ผมได้รับการแต่งแผล โดยตัดเนื้อตายรอบๆ แผล ที่ห้องผ่าตัดเล็ก เพื่อทำให้ผิวหนังมีโอกาสขยาย มาปกคลุมเนื้อได้
ครั้งนี้ผมขอพูดถึง " การรักษาแผลกดทับ " จนหาย และการระวัง-รักษา จนถึงปัจจุบัน

ผมเป็นแผลกดทับจาก รพ. ที่ 2 เมื่อมาถึงพญาไท 1 จึงได้รับการรักษาจนดีขึ้นมาก และหายสนิทที่บ้าน ดังนั้นผมขออธิบายตามลำดับดังนี้



ภาพวาดตำแหน่งของแผล ที่บริเวณก้นกบ ขนาดประมาณ 3 นิ้ว
1. เมื่อผมมาถึงที่พญาไท 1 ผมได้รับการแต่งแผล โดยตัดเนื้อตายรอบๆ แผล ที่ห้องผ่าตัดเล็ก เพื่อทำให้ผิวหนังมีโอกาสขยาย มาปกคลุมเนื้อได้
2. ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือ (Normal Saline Solution) เข้มข้น 0.9 กรัม/100 มิลลิลิตร เพราะจะไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ
3. ใช้ผ้าก๊อตบางๆ ปิดแผล ด้วยไมโครพอร์ ซึ่งเป็นเทปแต่งแผลชนิดเยื่อกระดาษ ที่ไม่ระคายเคืองผิว แต่ใช้ได้สักพัก ก็เลิกใช้ ใช้เพียงผ้าห่มปิดคลุมไว้เท่านั้น
4. ทานไข่ขาว วันละ 3 ฟอง เพื่อให้อะบลูมินจากไข่ขาว ช่วยให้ผิวหนังเร่งสร้างเนื้อเยื่อ
5. เมื่ออาการไข้ จากการติดเชื้อไม่ดีขึ้น จึงผ่าตัดปิดแผล เร็วกว่ากำหนด โดยมีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้




A. กรีดหนังรอบๆ แผล แล้วดึงเข้ามารวมที่กึ่งกลางแผล เย็บหนังเชื่อมถึงกัน กับแนวกรีดเดิม คือเป็นการยืดผิวหนังนั่นเอง ซึ่งวิธีนี้ ทำให้ไม่ต้องนำผิวหนังบริเวณอื่นมาปิดแผลกดทับ



B. แต่เมื่อเย็บผิวหนังที่ถูกยืดแล้ว ผมเข้าใจว่า คุณหมอคงมีเหตุผล ด้านเทคนิค หรืออะไรก็ไม่ทราบ เช่น ขณะผ่าตัดอาจมีข้อจำกัดเรื่องการยืดผิวหนัง จึงทำให้มีช่องว่างตรงกลางตามภาพ

6. แต่หลังจากดูแลรักษาต่อเนื่อง รวมถึงทานไข่ขาวทุกวัน ทำให้เนื้อเยื่อเข้ามาทดแทนจนเต็ม แต่เมื่อกดแผลตรงกลางจะพบว่า ยังคล้ายๆ ว่ายังบุ๋มอยู่นิดหน่อย

7. หลังผ่าตัดอาการติดเชื้อยังไม่ดีขึ้น จึงดึงด้ายเย็บแผลไปเพาะเชื้อ เพื่อตรวจชนิดของเชื้อ

8. ขณะรักษา ก่อนผ่าตัด และหลังผ่าตัด ได้รับการรักษาอาการติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะ โดยฉีดเข้าไปผสมกับน้ำเกลือที่ผมได้รับทางสายยาง จนอาการติดเชื้อดีขึ้น และเปลี่ยนเป็นยาเม็ด จนเลิกทานยา ปัจจุบันก็ไม่ไดทานยาฆ่าเชื้อแบบเม็ด

9. ตลอดเวลาที่อยู่โรงพยาบาล และ2 เดือนแรกที่กลับมาอยู่ที่บ้าน ผมนอนตะแคงซ้าย-ขวา ตลอด เพื่อไม่ให้กระทบกับแผล และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อผิวหนัง

10. เตียงลมมีความสำคัญมาก เพราะต้องนอนตะแคง ถ้าเป็นเตียงธรรมดา คงจะทรมานมากกว่านี้

11. ดูแลเรื่องการทานอาหารให้ดี ไม่ทำให้ท้องเสีย เพราะถ้าอุจจาระเป็นน้ำ และมีเชื้อโรคมากกว่าปกติ อาจทำให้แผลติดเชื้อ หรือต้องนำเทคนิคเอาบลูแพด มาปิดแผลเพื่อไม่ให้อุจจาระโดนแผล

12. เมื่อแผลเริ่มดีขึ้น ให้ลดปริมาณการทานไข่ขาวลง เหลือ 2 และ 1 ตามลำดับ โดยขอคำแนะนำจากแพทย์

ครั้งต่อไปผมขอธิบายเกี่ยวความเสี่ยงต่อโรคต่อเนื่อง จากการเป็นผู้ทุพพลภาพครับ


ขอบคุณครับ

ปรีดา ลิ้มนนทกุล
mobile : 089-6910225
Tel। & Fax.: 02-9232724
email : [email protected]
คำสำคัญ (Tags): #ผู้ทุพพลภาพ
หมายเลขบันทึก: 93547เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2007 00:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะคุณปรีดา

เขียนได้ละเอียดมากเป็นประโยชน์กับผู้อ่านมาก เพราะไม่เคยรู้มาก่อนเลยค่ะ  เตียงลมช่วยในการยืดหยุ่น ได้ดีกว่าค่ะ  ปัจจุบันราณีคาดว่าแผลคงหายแล้วแน่เลยค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ  ขอบคุณที่ให้ความรู้เพิ่มเติมกับผู้อ่านค่ะ

ขอบคุนมั่กค่า

เปนข้อมูลที่ดีมากๆ และเป็นกำลังให้กับผู้ที่กำลังป่วยเป็นแผลกดทับ

เปนอย่างดี

อ่านแล้วมีประโยชน์มากค่ะแต่พอดีว่าตอนนี้คุณย่าอายุ 90ปีแล้วน้ำตาลในเลือดตรวจล่าสุด 192

เป็นแผลกดทับก้นกบเหมือนกัน ได้ผ่าตัดแผลแล้วปากแผลสร้างเนื้อแต่ในแผลไม่ค่อยดีเลยมีเนื้อเยื่อ

เหลืองเริ่มหนาขึ้นหมอที่รักษาให้ดึงออกแต่แผลลึกกว้างเท่าตูดกระป๋องน้ำอัดลม มีคำแนะนำอย่างไรบ้างค่ะ

ขอบคุณมาล่วงหน้าค่ะ

แนะนำดังนี้นะครับ

1. สมัยอาม่าผมผ่าตัดตอนอายุ 85 ปี (ปัจจุบันอายุ 94 ปี) คุณหมอให้ทานไข่ขาว แต่ต้องขอคำแนะนำจากคุณหมอว่า ควรทานปริมาณเท่าไหร่ เพราะผมคิดว่า คนแก่แต่ละคนคงจะมีปัจจัยต่างกัน ต้องฟังคุณหมอเป็นหลักครับ

2. อีกเรื่องคือ คุณย่าถือว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ ถ้าเป็นเบาหวาน การที่จะหายจากแผลผ่าตัด ส่วนตัวผมคิดว่าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะหายช้า ซึ่งก็คงต้องปรึกษาคุณหมออีกเช่นกัน

เพิ่มเติม ผมมีสูตรแก้โรคเบาหวานด้วยครับ ลองอ่านตามลิงก์ดูนะครับ

http://alittleofknowledge.blogspot.com/2007/06/little-2.html

3. ในกรณีที่เป็นแผลลักษณะนี้ ควรจะนอนรักษาตัวบนเตียงลม เพราะเตียงลมจะมีกระบวนการทำงานที่ทำให้เลือดของคนไข้มีการไหลเวียนดี ไม่เสี่ยงเป็นแผลกดทับ หรือแผลถูกกดทับนานๆ อาจทำให้การรักษาดีขึ้นครับ

หวังว่า พอเป็นประโยชน์นะครับ

ขอบคุณครับ

ปรีดา ลิ้มนนทกุล

สวัสดีค่ะ. อ่านข้อความของคุณแล้วมีประโยชน์มาก

ค่ะตอนนี้แม่ป่วยอยู่1เดือนแล้วค่ะเป็นแผลกดทับติดเชื้ออาการแย่มากเลยไหวหรือเปล่าไม่รู้แม่อายุ60ปีอยากขความช่วยเหลือด้านข้อมูลการรักษาหน่อยค่ะ

โทรคุย ดีไหมครับ จะได้เนื้อหา สอบถามกันไดเ้ครับ

ขอบคุณครับ

ปรีดา ลิ้มนนทกุล

086-314-7866

สวัสดีค่ะ คุณปรีดา

ปุ๊ที่โทรคุยกับคุณเรื่องที่สามีไม่สบายเป็นแผลกดทับ และสนใจตัวยาคลอโรพลัส

รบกวนช่วยจัดส่งมาที่ 63/2 ม.5 ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง 92150

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

ก่อนอื่น ขอชื่นชมและขอบคุณที่คุณปรีดาเขียนบันทึกเผยแพร่ความรู้จากประสบการณ์ส่วนตัวนะคะ   และมีคำถามเกี่ยวกับแผลกดทับค่ะ

- เตียงลมกับที่นอนลมเหมือนกันไหมคะ  แบบไหนดีคะ  แบบลูกฟูก แบบรอน แบบรองผีึ้ง

- เป็นเบาหวานจะทำให้แผลหายช้าแค่ไหนคะ

ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ

นั่งย่องแล้วล้างคคลองช่อง เลยลองลวงเข้าไปจนสุดนิ้ว ไปเจอกระดูกแข็งๆคืออะไรคะ อันตรายมั้ย แล้วเวลาเรามีอะไรมันจะไม่ทิ้มๆปโดนกระดูกตรงนั้นหรอคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท