การศึกษาประสิทธิผลและผลกระทบของการฝึกอบรมตามหลักสูตร CBM


การทำงานก็ต้องมีการติดตามประเมินผล โครงการฯก็จำเป็นต้องศึกษาประสิทธิผลและผลกระทบของการฝึกอบรมตามหลักสูตร “ การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน-CBM ” จึงได้มอบหมายให้ คุณวไลทัศน์ วรกุล เป็นผู้ทำการศึกษาในเรื่องนี้

การทำงานก็ต้องมีการติดตามประเมินผล  โครงการฯก็จำเป็นต้องศึกษาประสิทธิผลและผลกระทบของการฝึกอบรมตามหลักสูตร การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน-CBM ” จึงได้มอบหมายให้ คุณวไลทัศน์ วรกุล เป็นผู้ทำการศึกษาในเรื่องนี้

        วัตถุประสงค์ของการศึกษาก็เพื่อประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรและวิธีการที่ใช้ในการฝึกอบรม  ประเมินประสิทธิผลของการฝึกอบรม  และติดตามการนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการจัดการขยะมูลฝอยของแต่ละท้องถิ่น

        ในการประเมิน  ผู้ประเมินต้องเข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกอบรม  และต้องลงพื้นที่เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ด้วยตัวเอง  โดยดูประเด็นต่างๆ  เช่น  สถานะการณ์ขยะในชุมชนก่อนการอบรม  การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้จริง  บทบาทแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  การดำเนินการหลังการฝึกอบรมและความก้าวหน้า  ทั้งนี้จะดูทั้งด้านสิ่งแวดล้อม  เศรษฐกิจและสังคม  โดยทำการศึกษาตั้งแต่พฤษภาคม-พฤศจิกายน 2549

          ผลการประเมิน  พบว่า  มีการคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมที่เหมาะสม  มีคู่มือการฝึกอบรม  มีเนื้อหาที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการฝึกอบรมและวิทยากรกระบวนการ  ทั้งในการเตรียมการ  การดำเนินการ  และการติดตามผลการฝึกอบรม  รวมถึงแบบฟอร์มและเอกสารต่างๆ  เช่น

                 ภาพรวมการฝึกอบรม ( Workshop Description )

                 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร ( Course Objective )

                 ลำดับขั้นของเนื้อหาการฝึกอบรม ( Ladder Diagram )

                กำหนดการฝึกอบรม ( Schedule )

                การจัดการฝึกอบรม (Organizing the workshop )

                เนื้อหาหลักสูตร ( Course Content )

                การจบหลักสูตรและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

          นอกจากนี้ยังมีแผนกิจกรรมสำหรับแต่ละกิจกรรมในทุกหลักสูตร  เช่น

                ชื่อของกิจกรรม

                ที่มา ( ผู้ออกแบบ )

                ความเป็นมาหรือความจำเป็นที่ต้องมีกิจกรรมนี้

                วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

                การนำไปใช้

                เวลาที่ใช้

                สิ่งที่จำเป็น/วัสดุอุปกรณ์

                การจัดสถานที่/ที่นั่ง

                ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

                ข้อควรระวัง

                ข้อเสนอแนะ

                การประมวลผล

        นอกจากนี้ยังพบว่ามีความยืดหยุ่น  สามารถปรับให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริง  หรือตามความจำเป็นที่อาจเกิดขึ้นใหม่ระหว่างการฝึกอบรม

        วิทยากรเป็นวิทยากรจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ผ่านการฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการตามหลักสูตร CBM  มีทีมงานจากโครงการฯ ( นายแพทย์สุธี ) ช่วยบรรยายเพิ่มเติมในบางหัวข้อที่ต้องลงลึกทางวิชาการ  เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมในแต่ละวันมีการประชุมสรุประหว่างคณะวิทยากรและที่ปรึกษาของโครงการ ฯ  เพื่อประเมินผลการดำเนินงานในวันนั้นและเตรียมกิจกรรมในวันรุ่งขึ้น

        กระบวนการฝึกอบรม  ใช้การอบรมแบบผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลาง  ทำให้ทุกคนมีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการคิด วิเคราะห์  แลกเปลี่ยนความคิด  ความรู้และประสบการณ์ตลอดการอบรม  มีการแทรกกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายระหว่างการอบรม  ทำให้การอบรมไม่เคร่งเครียด  และช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้สนุกสนานขึ้น  มีการสรุปผลงานในแต่ละวัน  และทุกเช้าก็จะตัวแทนผู้เข้ารับการอบรมมาสรุปสาระที่ได้เรียนรู้ในวันที่ผ่านมาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้และการต่อยอดความรู้ใหม่กับความรู้เดิมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

        ผลการเรียนรู้  จากแบบประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรมในหัวข้อต่างๆตามหลักสูตรด้วยวิธีประเมินตนเอง  ปรากฏว่ามีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาเพิ่มขึ้นในทุกรุ่นหลังการอบรม

        ในการอบรม  ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องจัดทำวิสัยทัศน์  กำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงาน  ส่วนใหญ่จะออกมาค่อนข้างดี  เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลา  แต่ทุกท้องถิ่นก็ได้แนวทางที่จะนำไปดำเนินการต่อได้

        ตอนต่อไปจะนำเสนอผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่หลังจากการฝึกอบรมตามหลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน-CBM

หมายเลขบันทึก: 93121เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2007 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท