จิตวิทยากับ(การมอง)ปัญหาความรุนแรง


การสรุปอะไรที่สั้นๆเร็วๆบางที่ก็ทำให้วิเคราะห์สาเหตุผิดพลาดไปคนละทาง

ข่าวใหญ่(ข่าวหนึ่ง)ในช่วงนี้ คือเหตุการณ์ที่นักศึกษาชาวเอเชีย(เกาหลีใต้)ใช้อาวุธปืนกราดยิงในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 30 กว่าคน นับเป็นเหตุการณ์ครั้งรุนแรงที่สุดอีกครั้งหนึ่ง(ในลักษณะนี้)ของอเมริกา

หลังจากนั้น บรรดานักวิเคราะห์ก็ได้ทำการสืบประวัติด้านต่างๆของผู้ก่อเหตุ แล้วสรุปว่ามีอาการผิดปกติทางจิตใจเพราะเป็นคนเงียบขรึม ไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร(นักวิชาการบ้านเราก็ขานรับทันทีว่าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ในบ้านเรา โรงเรียนควรหันมามองระบบการแนะแนวของโรงเรียนโดยเสนอแนะอย่างนั้นอย่างนี้)

ผมมองว่าด่วนสรุปปัญหาเกินไปหรือเปล่า เพราะเคสนี้ต่างไปจากเคสอื่นๆที่เคยเกิดขึ้น(ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันเอง) น่าจะมีสาเหตุเบื้องลึกเบื้องหลังที่มากไปกว่านี้ เพราะโดยปกติทั่วไปคนทั้งโลกก็มีนิสัยใจคอหรือcharactor แตกต่างกันอยู่แล้ว เช่น การชอบแสดงตัว ชอบเก็บตัว พูดมาก พูดน้อย กล้า ขี้อาย ฯลฯ ลำพังความแตกต่างเหล่านี้ไม่น่าจะเป็นปัญหาถึงขั้นสามารถก่อเหตุรุนแรงขนาดนั้นได้ หากไม่ประกอบกับหรือถูกกระตุ้นโดยเงื่อนไข(condition)อื่น อะไรคือตัวกระตุ้นเหล่านั้น(จนเป็นเหตุให้ทนไม่ได้และลงมือก่อเหตุดังกล่าว) น่าจะเป็นต้นเหตุที่แท้จริง เพราะโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการสังคมและใฝ่สันติ

คนที่เคยไปเรียนต่างบ้านต่างเมือง(โดยเฉพาะคนเอเชียเราไปเรียนในยุโรปหรืออเมริกา) น่าจะพอเข้าใจหรือวิเคราะห์ในประเด็นนี้ด้วยว่ามีโอกาสหรือส่วนประกอบในเหตุการณ์ด้วยหรือเปล่า แต่เท่าที่ดูข่าวก็ไม่เห็นการหยิบยกประเด็นนี้มาวิเคราะห์ด้วย มีแต่วิเคราะห์พุ่งไปที่ตัวผู้กระทำอย่างเดียว

หากเราจะเอากรณีนี้มาเป็นบทเรียนในสังคมบ้านเรา โดยมุ่งแต่ไปแก้สาเหตุที่ตัวบุคคล ไม่ได้มองไปที่บริบทแวดล้อมเลย หากป้องกันหรือแก้ได้ก็คงได้แค่ปลายเหตุ ตราบใดที่เชื้อมันยังปลิวว่อนอยู่ทุกอณูรอบๆตัว ไม่วันใดก็วันหนึ่งก็คงติดเชื้อเข้าอีกจนได้

ตัวอย่างเหตุที่เกิดเนื่องจากสิ่งภายนอกเป็นสิ่งเร้า

1. เด็กที่ปกติมีนิสัยเรียบร้อย แต่อยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ไม่ดี เพื่อนคะยั้นคะยอให้ลองโน่นลองนี่(เพื่อนมีอิทธิพลต่อช่วงวัยรุ่นแค่ไหน คุณก็รู้) สุดท้านก็ติดยาได้ ทั้งๆที่พื้นฐานชีวิตดี

2. วัยรุ่นชายหญิงส่วนหนึ่งที่คบหากันเป็นแฟนโดยเจตนาดี(ไว้ปรึกษาเรื่องเรียน ฯลฯ) จะมีโอกาสสักครั้งไหมที่เหตุการณ์จะเป็นใจทำให้คิดหรือทำอะไรนอกลู่นอกทาง ดีมาร้อยครั้งเสียครั้งเดียวก็จบแล้ว

อิสลามมองที่การป้องกันมากกว่าการแก้ไข กรณีชายหญิงที่ไม่ใช่ญาติร่วมสายเลือดอย่างใกล้ชิด จึงถูกห้ามมิให้อยู่กันหรือไปไหนสองต่อสองอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้แม้เพียง 1 ในร้อยหรือหนึ่งในล้านก็ตาม

คำสำคัญ (Tags): #กันดีกว่าแก้
หมายเลขบันทึก: 91240เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2007 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตอนเกิดเรื่องและมีข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ผมอยู่มาเลย์ เลยไม่ค่อยรับรู้เท่าที่ควร
  • ตอนเช้าลูกสาวมาเล่า เลยติดตามข่าวเรื่องนี้บ้าง
  • เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อย แม้จะไม่เหมือนกัน ที่เหมือนคือทำร้ายหรือฆ่าคนอื่นแล้วมาทำลายตัวเอง
  • อย่าง สามีฆ่าภรรยาและลูก เพราะเพียงแค่หึง
  • อบต.ไปกราดยิง นายกถึงกลางสภา
  • ทุกอย่าง ทุกกรณี ถ้าจะสรุปว่า คนทำเป็นโรคจิต ก็ใช่ ไม่ผิดเลย
  • คำถามเกิดขึ้นว่า ไอ้โรคจิต นี้เกิดขึ้นอย่างไร
  • ถ้าเราสังเกตุดีๆ หรือศึกษากันดีๆ มันมีสองสาเหตุ คือ
  • หนึ่ง เพราะผลประโยชน์ด้านวัตถุ
  • เพราะความยุติธรรมทั้งทางด้านจิตใจหรือด้านวัตถุ
  • อย่างเด็กคนหนึ่งไปชกต่อยเพื่อนในห้องเรียน เพราะเหตุเพื่อนไปล้อ แม่
  • ชาวกัมภูชา เผาทรัพย์สมบัติของคนไทย เพราะหาว่าคนไทยชอบไปล้อพวกเขา
  • ลาวก็เช่นกัน เกิดเรื่องลักษณะนี้กับคนไทย บ่อย (แต่ยังไม่ถึงเกิดเหตุการณ์รุนแรง หรือเกิดแล้วก็ไม่รู้เหมือนกัน)
  • เมื่อใดที่มีคนที่สำคัญตัวเองว่าดีกว่าและไปดีถูกคนที่ตัวเองรู้สึกว่าด้อยกว่า ความแคนในจิตก็จะเกิดขึ้น
  • มันจะระเบิด หรือ ไม่ระเบิด เท่านั้นแหละ
  • แล้วหันมามอง บ้านเรา สามจังหวัด
  • ทำไมเหตุการณ์สงบยาก
  • คนไทยมุสลิมชาติพันธุ์ มลายู เขารู้ดี
  • ง่ายๆ ผมเคยไปติดต่องานที่อำเภอกับเพื่อนที่เป็นไทยพุทธ
  • เวลาเขาคุยกับเพื่อนคุยด้วยดีมาก แต่พอหันมาทางผม โทษครับ ท่านไม่พูด แต่ท่านตะคอก
  • บางคนเขาระงับได้ เขาปลง ก็หมดสิ้นไป
  • แต่บางคน เขาฝังใจ ดังนั้นใครไปชวนนิดชวนหน่อย ก็เป็นไฟขึ้นมาทันทีได้
  • บางคนก็ต่อสู้ตามแนวทางที่กฏเกณฑ์ของบ้านเมืองกำหนด ก็ต่อสู้ไป 
  • แต่บางคน เขาไม่คำนึง จุดนี้ เลยตอบโต้อย่างรุนแรง
  • และลักษณะดูถูกชาติพันธุ์ก็ยังเกิดขึ้นอยู่จนถึงทุกวันนี้
  • แบบนี้ ผมยังมองไม่ออกว่า บ้านเราจะสงบปีไหน  

ผมเห็นด้วยกับท่านร้อยเปอเซ็นต์ครับ

แต่ไม่ได้พูดโยงมาถึงเหตุการณ์ให้พื้นที่(ให้คนในพื้นที่จริงๆพูดเองจะเข้าถึงความรู้สึกได้มากกว่า)เพราะไม่ใช่คนในพื้นที่นี้แบบเต็มๆตัว(ลูกครึ่งมั๊ง)เข้าใจความรู้สึกก็เพียงครึ่งๆกลางๆ (ก็ดีกว่าไม่เข้าใจเลย)

เรื่องนี้ เมื่อคืนก็มีภาพคลิปวิดิโอคำเปิดใจของผู้ก่อเหตุออกมาชุดใหญ่ หลังจากฆ่าไป๒รายแรกที่หอพัก(ไม่รู้เอามาออกอากาศหมดหรือเปล่า) เป็นอย่างที่คาดจริงๆครับ มีตัวกระตุ้น(เชื้อปะทุ)อยู่เยอะแยะมากมายที่หลุดออกมาจากปากของเขา อุณหภูมิถึงที่เข้าก็ระเบิดทันที

อย่าว่าแต่คนที่มีอาการเป็นทุนเดิมอยู่แล้วเลยครับ คนปกติทั่วไปเจอเหตุการณ์กดดันเข้าก็ระเบิดได้ทุกเวลา

แรงกดดันก็เหมือนการเตะบอลอัดกำแพงครับ เตะเบาๆก็สะท้อนเบาๆ เตะเต็มแรงก็ย่อมสะท้อนกลับมาใกล้เคียงกัน เตะตลอดเวลาก็ย่อมสะท้อนตลอดเวลาครับ

แล้วผู้อ่านคิดว่าจะแก้ไขที่จุดไหนดีละครับ

"กำแพง"หรือ"ตัวคนเตะ"ดี ปัญหามันถึงจะจบ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท