Outcome Mapping ขั้นตอนที่ 7 การดำเนินงานระดับองค์กร


บันทึกนี้เป็นบันทึกเกี่ยวกับ Outcome Mapping บันทึกสุดท้ายของอ้อมนะคะ ผู้อ่านสามารถติดตามขั้นตอนต่อๆ ไปได้ที่ gotoknow.org/light บันทึกโดยคุณสุปราณี จริยะพร

สำหรับขั้นตอนที่ 7 นี้ จะกล่าวถึงการลงรายละเอียดว่าจะดำเนินงานอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน โดยมีแนวทางที่ควรคำนึงเกี่ยวกับการดำเนินงานระดับองค์กรอยู่ 8 ประการดังนี้คือ

1. ค้นหา สำรวจความคิด โอกาส และทรัพยากรใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก เพื่อหาโอกาสใหม่ๆ ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ มองหาความสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ทำอยู่ รวมทั้งการหาพื้นที่ใหม่ๆ ในการทำงาน หรือการเชื่อมโยงสิ่งที่ทำกับภูมิภาคอื่นๆ หรือกับกลุ่มใหม่ๆ

2. ฟังเสียงสะท้อนจากผู้ให้ข้อมูล หรือผู้รายงานที่เป็นบุคคลสำคัญ ควรมีการสื่อสารสม่ำเสมอกับภาคีหุ้นส่วน ผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงานหรือผู้ที่อาจสร้างโอกาสให้กับหน่วยงาน รวมทั้งผู้ที่อยู่ในพื้นที่ 

3. หาการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจสูงสุด หน่วยงานควรคิดถึงการนำเสนอความคิดต่อคนหรือองค์กร ที่มีอำนาจในการตัดสินใจระดับสูง การนำเสนอควรเป็นไปในลักษณะของการขอความร่วมมือไม่ใช่กดดัน จะทำให้ได้รับความร่วมมือมากกว่า ซึ่งไม่เพียงเป็นการสร้างโอกาสในการรับการสนับสนุน แต่เป็นการดึงเขาเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจกรรม และเสริมสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของและการมีพันธะผูกพันกับหน่วยงาน ทั้งนี้ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาระดับการสนับสนุนและความสนใจอยู่ตลอดเวลา

4. ต้องทบทวนระบบ ผลลัพธ์ และการดำเนินงานอยู่เสมอเพื่อปรับปรุงให้เกิดความสอดคล้องอยู่ตลอดเวลา

5. ตรวจสอบกิจกรรมต่างๆ ที่ทำอยู่ เพื่อเพิ่มคุณค่าของสิ่งเหล่านั้น โดยการทำให้มีคุณภาพมากขึ้น เจ้าหน้าที่หน่วยงานต้องได้รับเสียงสะท้อนทั้งบวกและลบจากภาคีหุ้นส่วน เมื่อพบว่าระบบเก่าๆ วิธีการเก่าๆ ไม่มีประสิทธิผลอีกต่อไปแล้ว หรือถึงขั้นสร้างปัญหา จึงต้องร่วมกับภาคีหุ้นส่วนในการแก้ไขปัญหานั้นๆ และเรียนรู้จากกิจกรรมเหล่านั้น

6. แลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้กับโลกภายนอก มีระบบเผยแพร่ความรู้ที่ได้กับทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

7. ทดลองสิ่งใหม่ๆ อยู่เป็นประจำ เพื่อทำให้เกิดการสร้างสรรค์ และต้องสร้างบรรยากาศในการค้นหาทิศทางเครื่องมือ หรือภาคีหุ้นส่วนในการทำงานใหม่ ซึ่งอาจหมายถึงการอ่านสิ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน่วยงานหรือการพูดคุยกับคนปกติไม่ได้พูดคุยด้วย อาจรวมถึงการให้เวลาและโอกาสในการทดลองทำสิ่งใหม่ๆ และการให้ความสนใจต่อมิติทั้งทางกายภาพและจิตวิญญาณของคนที่ทำงานด้วยกัน

8. มีเวลาให้กับการสะท้อนความเห็นในการทำงานขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในเรื่องทิศทางและการจัดสรรทรัพยากรของหน่วยงาน

ตัวอย่างจาก NEPED

ตัวอย่างจาก รพ. เขาวง โครงการชุมชนสุขสันต์ไร้ควันบุหรี่

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภาคีหุ้นส่วน OC เกณฑ์บ่งชี้ความก้าวหน้า แผนที่ยุทธศาสตร์

อ้อม สคส.

หมายเลขบันทึก: 90732เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2007 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท