ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

เครื่องมือช่วยคนไม่สังเกต


กระบวนการสังเกตเป็นวิธีการที่ดีสำหรับนักวิจัย แต่หากมีเครื่องมือช่วยในการช่วยจำจากการสังเกต จะทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 การจดบันทึกภาคสนาม ( Field notes ) เป็นเครื่องมือที่ดี สามารถช่วยการจำข้อมูลได้เป็นอย่างดี หรือหากมีคนถามว่าการบันทึกภาคสนามคืออะไร 

และจากประสบการณ์อันน้อยนิด ผมจึงใคร่ขอทำความเข้าใจร่วมกันอย่างนี้ครับ เป็นการบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสังเกต  การจดบันทึกเป็นวิธีการสำคัญในการเก็บข้อมูลเพื่อทำให้การวิจัยนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  การจดบันทึกจึงทำเพื่อ       

-  ป้องกันการลืม      

-  ช่วยตั้งสมมติฐานชั่วคราวในการวิเคราะห์ข้อมูลในสนาม       

-  ช่วยเรียบเรียงความคิดในการวางแผนงานต่อไป       

-  ช่วยสรุปข้อมูลเป็นระยะ ๆ จากการทำงาน        

ในการบันทึกภาคสนามนั้นจะมีการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งก่อนและหลัง  บางครั้งนักวิจัยนึกออกว่าเมื่อสองวันก่อนมีคนได้พูดว่าอะไรบ้าง  การนึกเหตุการณ์เก่า ๆ ออกนี้ควรบันทึกรายละเอียดทั้งหมด  นักวิจัยควรบันทึกด้วยว่า  สิ่งที่บันทึกนั้นเป็นคำพูดของใครโดยเฉพาะ  หรือเป็นการอธิบายเหตุการณ์ตามความคิดเห็นหรือประสบการณ์ของใครโดยเฉพาะ  เท่าที่ผมเห็น และนิยมใช้ในการบันทึกมีรูปแบบของการบันทึก  อยู่  3  ส่วน  ประกอบด้วย        

1. ส่วนที่หนึ่ง  เป็นการจดบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ตามความเป็นจริง  (observation note หรือ ON)  บรรยายอย่างละเอียดถึงสิ่งแวดล้อม  สถานที่  บุคคล  เหตุการณ์  คำพูดของบุคคลสรุปรวมว่า  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  อย่างไร  กับใคร  และทำไม  ดังนั้นข้อมูลในส่วนนี้จะไม่มีการตีความ        

2. ส่วนที่สอง  เป็นส่วนที่ตีความเบื้องต้น  โดยใช้แนวคิดทฤษฎีของผู้วิจัยประกอบ (theoretical note หรือ TN)  แสดงความคิดเห็น เน้นความหมายให้ชัดเจนและสร้างสมมติฐานชั่วคราว  บางครั้งต้องใช้ข้อมูลในส่วนที่หนึ่งหลายๆ เรื่อง  สรุปเป็นส่วนที่สองได้        

3. ส่วนที่สาม  เป็นการกล่าวถึงระเบียบวิธีวิจัย  (methodological note หรือ MN)  ผู้สังเกตจะบันทึกถึงวิธีการที่ตนได้ใช้ความสำเร็จ  หรือความบกพร่องในการสังเกตความรู้สึกส่วนตัวของผู้สังเกต  ปฏิกิริยาของผู้ถูกสังเกต  ตลอดจนข้อมูลที่ตกหล่นขาดไป 

บันทึกส่วนที่ช่วยเตือนความจำและช่วยประเมินคุณภาพของข้อมูลที่ได้มาจากวิธีการดังกล่าวผมคิดว่าเป็นวิธีการที่ดี ที่นักวิจัย หรือนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์น่าจะได้นำไปทดลองใช้ดู ซึ่งผมเองก็ได้เริ่มใช้ก็พบว่า ข้อมูลที่เราได้มาจากการการบันทึกจะไปเสริมสร้างกระบวนการจำ และกระบวนการในการเขียน และการวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี 

ไม่เชื่อ...ก็ลองทดลองเขียนเล็กๆ น้อยๆ ก่อนก็ได้นะครับ...เดี๋ยวจะติดใจ 

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

16 เมษายน 2550

หมายเลขบันทึก: 90674เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2007 23:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • มีความรู้ดี ๆ มาแบ่งปันเรื่อยเลยนะครับอาจารย์

อาจารย์คะ

เป็นคนชอบจำมากกว่าชอบจด (แต่ก็จดบ้างกันลืม)

แต่เดี๋ยวนี้เมื่ออายุมากขึ้น และส่งที่ต้องเรียนรู้มีมากมายเหลือเกิน จึงต้องมีการบันทึกในสิ่งที่เกิดขึ้น 

ขอบคุณอาจารย์ที่ได้สรุปรูปแบบการบันทึก  ทำให้เข้าใจได้มากขึ้น  ต่อไปคงต้องใช้วิธีของอาจารย์เข้ามาช่วยเสริมในการเรียนรู้แล้วค่ะ

อ้าว....ก็เป็นนักเรียนโข่ง นักเรียนทุน และครูอัตราจ้างของมหาชีวาลัยอีสานไงค่ะ

ขอบคุณมากครับทั้งอาจารย์ย่ามแดง และคุณพี่สมพรที่เข้ามาทักทาย

ในชีวิตคนเรามีอะไรให้ทำมากมายในแต่ละวัน และบางครั้งทำแล้วก็นึกว่าตนเองยังไม่ทำ เอ๊ะ...อะไรกันเนี่ย โรคของคนแก่มาเยือนแล้วละซี

ดังนั้น การบันทึกประจำวันนั้นผมจึงคิดว่าน่าจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยการจำได้อย่างทรงคุณค่าครับ

ขอเอาไปใช้บ้างครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท