Discharge Planning : ตอน หลงทาง


การทำงานเป็นทีม ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ช่วยกันติง ช่วยกันปรับ ช่วยกันทำ ประโยชน์สุขของคนไข้ก็จะอยู่ใกล้ให้เอื้อมถึง

ดังได้กล่าวใน discharge Planning ตอน Introductions แล้วว่า องค์ประกอบของ discharge planning ประกอบด้วย APIE คือ             

   A         =          Assessment            

    P         =          Plan          

  I          =          Implement           

 E         =          Evaluation               

จากองค์ประกอบดังกล่าว   องค์ประกอบแรกของการทำ discharge planning คือ assessment เราต้องประเมินคนไข้ให้ได้ก่อนว่า เขามี  ปัญหาอะไร ในการมาโรงพยาบาลครั้งนี้ เป็น ปัญหาใหม่หรือ ปัญหาสื่อเนื่อง  จากการป่วยครั้งก่อน ๆ อะไรเป็น ปัจจัยส่งเสริม ให้เขาป่วย พื้นฐานการปฏิบัติตัว ของเขาเป็นอย่างไร สิ่งแวดล้อมรอบตัว/ความสัมพันธ์ในครอบครัว/สังคม เศรษฐกิจ  ฯลฯ เป็นอย่างไร หากเรา  ประเมินได้ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน การดูแล  ก็มีโอกาสไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน  ตามไปด้วย   เสมือนเงาตามตัว คุณสุห้วง  พันธ์ถาวรวงศ์ ได้เล่าถึงกลเม็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเธอในการ  ช่วยประเมินคนไข้  ให้ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง เหมาะสม ช่วยไม่ให้ผู้ร่วมวิชาชีพทางสุขภาพ   หลงทาง   ได้อย่างไร ติดตามอ่านต่อไปนะคะ ค่อย ๆ อ่านอย่างจดจ่อ อย่าใจร้อนอ่านอย่างผ่าน ๆ จะทำให้ผู้อ่านหลงทางหลงประเด็นได้เช่นเดียวกันค่ะ 

เธอเล่าว่า เธอได้รับคนไข้ไว้รายหนึ่ง เป็นคนไข้ผู้ชาย อายุประมาณ 60 ปี มาโรงพยาบาลด้วยเรื่อง เชื้อราในช่องปาก แพทย์จึงรับรักษาไว้ในโรงพยาบาล พร้อมตั้งข้อสงสัยว่าคนไข้อาจเป็น HIV (ไวรัสเอดส์)  เนื่องจากมีเชื้อราขึ้นเต็มปาก  หลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล สักพักหนึ่ง คนไข้ก็มีอาการกระตุกที่ใบหน้าซีกหนึ่ง เมื่อแพทย์เห็นเช่นนั้นก็ตั้งข้อสงสัยเพิ่มว่า  ไวรัสนี้อาจขึ้นสมอง  แต่ขณะที่คนไข้เริ่มมีอาการกระตุก ๆ ที่หน้านั้น คุณสุห้วงได้ยินญาติเค้าบ่นพึมพำ ๆ ว่า 

 ·       เอ๊ะ คนไข้ไม่รู้เป็นยังไง ตอนนี้ฉี่บ่อยจริง ๆ เลย เมื่อก่อนไม่เห็นเป็นอย่างนี้

·       คุณสุห้วง เริ่มเอะใจ เพราะช่วงที่รับใหม่สังเกตเห็นเหมือนกันว่า คนไข้ฉี่บ่อยและ  ปากแห้ง  มาก เหมือนภาวะ  ขาดน้ำอย่างรุนแรง

·       คุณสุห้วงจึงบอกน้องพยาบาลว่า น้อง พี่ ขอขวดเก็บปัสสาวะคนไข้หน่อย สิ

·       เมื่อคนไข้ฉี่เสร็จ คุณสุห้วงก็นั่งดูขวดฉี่ เห็นปุ๊บ ก็ครางว่า โอ้โห ใสเป็นน้ำเลย เหมือนเปิดน้ำจากก๊อก แต่คนไข้มีอาการขาดน้ำชนิดรุนแรงอย่างชัดเจน อาการแบบนี้โดยประสบการณ์สงสัยน่าจะเป็นอาการของคนไข้    เบาหวาน    

·        ดังนั้นเมื่อแพทย์สั่ง   เจาะเลือดเพื่อตรวจดูอิเล็คโตรไลท์และแคลเซียม   เนื่องจากเห็นคนไข้   กระตุก    คุณสุห้วงจึงเสนอความคิดเห็นแก่แพทย์ว่า หมอคะ พี่ขออนุญาตหยอดใส่ Dextro สักหน่อยได้มั้ยคะ เพราะคนไข้ฉี่ใสมาก ลักษณะของคนไข้ก็แปลก ๆ ซึ่งแพทย์ก็อนุญาต

·       เมื่อเจาะเลือด พอเลือดหยดปุ๊บเนี่ย   Dextro มันขึ้น high   ขึ้นมาเลย หลังเราส่ง blood sugar   ผลออกมา   500 กว่า ๆ เกือบ 600 

สรุปได้ว่าตอนแรกที่เรา  สงสัยว่าคนไข้เป็น ไวรัสเอดส์  ก็ไม่ใช่ แต่เป็น เบาหวาน  แทน   ( นี่เป็น discharge planning ที่ทำกันเป็นทีมสหวิชาชีพ จริงๆ  ที่ร่วมด้วยช่วยกันในการดูแลคนไข้  )และถ้าคนเป็น   เบาหวานรุนแรง ก็มีโอกาสเกิดความต้านทานโรคต่ำ (Low resistant)   จึงทำให้เกิดเชื้อราในช่องปากได้   ทำให้พี่จุดคิดถึงหลักการประเมินที่ครูได้พร่ำสอนมาว่า   หากเราประเมินได้ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง จะช่วยให้การประเมินเพื่อวินิจฉัยทางการพยาบาลได้ชัดเจน ถูกต้อง แม่นยำขึ้น

 เธอกล่าวต่อว่า เวลาพี่เดินผ่านคนไข้แต่ละคน พี่จะไม่ให้ผ่านไปง่าย ๆ แต่เธอจะสะดุดทุกครั้งที่ญาติกล่าวเปรย ๆ หรือเมื่อเห็นอะไรที่ประหลาด/ผิดสังเกต เพราะสิ่งเหล่านี้ เรามักจะได้ในสิ่งที่เราคาดไม่ถึงบ่อย ๆ ดังเช่น พระราชดำรัสของในหลวงที่ว่า บางอย่างมันปิ๊งแว๊บออกมาเท่านั้นเอง แล้วมันก็หายไป   เพราะฉะนั้นถ้าเราลองสังเกตดูให้ดี จุดนั้นอาจจะทำให้พยาบาลได้อะไรเพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย 

จากเรื่องเล่าของคุณสุห้วงทำให้พี่จุดเห็นว่าพี่จุดควรพัฒนาและฝึกทักษะน้อง ๆ พยาบาลของพี่จุดในทุกด้านไม่เฉพาะในด้านของ   functional competency  และ   specific competency  เท่านั้น แต่ควรจะมุ่งเน้นให้น้อง ๆ มีทักษะในด้านของ  attribute competency  ด้วย เพราะจากกรณีตัวอย่างของคุณสุห้วงชี้ให้เห็นชัดเลยค่ะว่า เพราะ  ทักษะในตัวของคุณสุห้วงที่มีความละเอียดถี่ถ้วน มีความรอบคอบและไหวพริบดี นอกเหนือจากความรู้และประสบการณ์ในการดูแล   มิใช่หรือจึงทำให้เธอมีส่วนช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยจนได้รับการดูแลที่ดีและถูกต้อง  

พี่จุดขอชื่นชม ดีใจ และภูมิใจ ในความเป็นพยาบาล (Nurse) ของเธอผู้มีนามว่า คุณสุห้วง  พันธ์ถาวรวงศ์ เป็นอย่างยิ่งค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #discharge-planning
หมายเลขบันทึก: 90572เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2007 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เห็นบทบาทของพยาบาลได้ชัดเจน
  • การวางแผนจำหน่ายดี ก็เป็นการช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ถูกต้อง
  • ผลดีตกที่ผู้ป่วย
  • ของให้สุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ
  • อยู่กับบ้านวางแผนจำหน่ายด้วย ดีจัง

ตามอ่านอย่างช้า ด้วยใจจดจ่อยู่ค่ะ พี่จุด  อยากให้พยาบาลของเรา ได้อ่าน blog พี่จุดบ้างจัง

  • ขอบคุณคุณอุบล และ อ. ปารมีมากนะคะที่ให้ข้อคิดเห็นค่ะ
  • ส่วนใหญ่น้องๆพยาบาลใน มอ. ไม่ค่อยได้อ่านบล๊อคกันค่ะ  วางแผนไว้ว่า จะส่งทาง e-mail ให้หัวหน้าหอผู้ป่วยเปิดและ print ให้น้องๆอ่านค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท