จำกัด-กำจัด คอร์รัปชั่น อย่างไรดี? (ต่อ)


ตอนจบของการแก้ไขปัญหา คอร์รับชั่น
ข้อความจากตอนที่แล้ว....Please Back To Basic     §         เมื่อเรามีระบบการประเมินผลที่เข้มแข็ง  จริงจัง  ต่อเนื่อง เราไม่จำเป็นต้องสร้างหน่วยงานที่ซับซ้อนขึ้นมาถ่วงดุล  

§         ทำความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตนเองให้ดี    กำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน พยายามหาความเชื่อมโยงบทบาทและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานให้เหมาะสม

§         สติเป็นการรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ  รับรู้สภาวะกาย  รับรู้สภาวะใจ 

ใจผู้เป็นนายสั่งบ่าว     …..มีกายเป็นบ่าวยอมรับปฏิบัติตามใจที่สั่งมา….

 

มีใครคือ ใจ

มีใครคือ กาย

มีอะไรเป็น สติ  

มีอะไรเป็น สัมปชัญญะ

มีอะไรเป็นปัญญา

 รัฐบาลควรเป็นอะไร     ข้าราชการควรเป็นอะไร    หน่วยงานประเมินผลควรเป็นอะไร    เราน่าจะเดินทางไปหาคำตอบในประเด็นข้างต้นได้ไม่ยาก  

ตราบใดที่สติไม่เข้มแข็ง  ไม่รับรู้สภาวะใจ  ไม่รับรู้สภาวะกาย ไม่รับรู้ในอารมณ์ในปัจจุบัน ไม่มีความต่อเนื่อง ไม่มีความจริงจัง   คงจะยากนักที่จะหาหนทางเริ่มต้นเข้าใจในสัจจะและการหลุดพ้นจากกิเลส    (วงจรอุปบาทว์แห่งการคอร์รัปชั่น  วงจรแห่งความชั่วทั้งปวง )  พยายามสร้างสติ (สติปัฎฐาน 4) ให้เกิดขึ้น  สติเป็นทางสายเอกที่องค์พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศไว้แล้วว่าเป็นหนทางเดียวของการเดินทางไปสู่การหลุดพ้นจากกองกิเลส   

การนำแนวทางการสร้างสติปัฎฐาน 4 นำไปประยุกต์ใช้ในการปราบคอร์รับชั่นจึงจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด และลดความขัดแย้งใดๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมได้

 

§         สร้างค่านิยมหลักแห่งชาติให้เกิดขึ้น  ค่านิยมหลักเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการบริหาร องค์การ  กรณีที่บริหารได้สำเร็จเราจะได้สิ่งที่ไม่คาดฝันได้หลายอย่าง  แก้ปัญหาสังคมได้หลายข้อโดยไม่ต้องอาศัยกฎหมายมาบังคับใช้      

§         ปรับปรุงจริยธรรมทางสังคมให้รู้จักการ ให้      การให้  เป็นหนทางหนึ่งไปสู่การ  ปล่อยวาง   ใครสามารถปล่อยวางได้ ก็จะสบายกาย  สบายใจ    ความสุขของประชาชน อยู่ตรงไหน? ผู้ปกครองรู้แล้วหรือยังว่าอยู่ตรงไหน?  ไม่ใครจักรู้ได้ดอก?     แต่ที่แน่ๆ เมื่อรู้จักการให้แล้วย่อมเป็นสุข  

§         นำสิ่งที่มีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์ อาทิ พุทธสุภาษิต ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน( แม้...ทำไมจึงคล้องจองกับเศรษฐกิจพอเพียงอะไรอย่างนี้  )  นำสุภาษิตคำสอนของศาสนามาเป็นคติประจำใจของทุกคน   ทำให้โด่ดเด่นเสมอกัน  ไม่ว่าจะเป็น พุทธ  คริสต์  อิสลาม  ซิก  หรือ อื่น ๆ   เป็นวิธีการหนึ่งของการกล่อมเกลา   ผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน   ( ศาสนาจัดได้ว่าเป็นเสาหลักค้ำจุนโลกไว้  เสาแต่ละต้นถ้าหากตั้งอยู่โดดๆ ไม่มีการเชื่อมโยงกัน ก็จะไม่เพียงพอกับการใช้งานในการปลูกบ้าน  ให้คนได้อยู่ ได้อาศัยกันดอก ) บ้านแม้นว่าจะมีเสาเอก แต่เสาเอกก็ยังต้องมีระดับที่เสมอกันกับต้นอื่นๆ เช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 90560เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2007 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนี้ครับ

  • ช่วยกันคิดวิธีที่เป็นรูปธรรมกันเถอะครับ
  • นามธรรมมีเยอะแต่ไม่ได้ผลขอรับ

หลัง concept idear แล้ว ถ้าได้ action plan ด้วยจะยิ่งดีมาๆเลยครับ ช่วยๆกันคิดระดมสมองกัน ผมเชื่อว่า คอรัปชั่น เราหยุดมันได้

 

MR.BHUDIT EKATHAT  .....

เข้ามาเยี่ยม....

จากความเห็นครั้งก่อนที่บอกว่า พื้นฐานที่สุดมีอยู่ ๒ อย่าง คือ คน และ ระบบ ซึ่งสามารถขยายความได้ดังนี้....

คอร์รัปชั่น คือ ปัญหา

ใช้คน แก้ปัญหา หรือ ใช้ระบบ แก้ปัญหา

ใช้คนแก้ปัญหา คือ สร้างคนให้มีอุปนิสัยประกอบด้วยคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ... .ทำนองนี้ คนกำหนดการกระทำ

ใช้ระบบแก้ปัญหา คือ สร้างระบบเพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนให้อยู่ภายในกรอบที่วางไว้ ... ทำนองนี้ ระบบกำหนดการกระทำของคน

ซึ่งทั้งสองฝ่ายนี้ก็มีปัญหาอื่นๆ ขยายออกไปอีก...

เจริญพร

กำลังคิดอยู่เหมือนกันว่าจะเปิดบันทึกเพื่อระดมสมองอยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท