ในชีวิตหนึ่งของคนเรา อาจจะพูดได้เลยว่าทุกคนเคยคิดที่จะฆ่าตัวตาย เช่นเดียวกันกับผม..... แต่เมื่อเรามาศึกษาข้อมูลทางสถิติแล้วจะพบว่า ปัญหานี้แสดงให้เห็นถึง ความวิปริตของสังคม ที่สมควรได้รับการแก้ไขโดยด่วน
-
ทั่วโลกมีคนฆ่าตัวตาย 1 คนทุก 40 วินาที
-
วันที่ 10 กันยายน เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก
-
สำหรับสถิติการฆ่าตัวตายในประเทศไทยคือ 7.7คนต่อประชากรแสนคน
-
คนไทยฆ่าตัวตายถึงปีละ 7,500 คน
-
คิดเฉลี่ย เป็น 1 คนต่อ 1 ชั่วโมง หรือ 20-22 คนต่อวัน
-
จากการสำรวจยังพบว่าเด็กนักเรียน 1 ใน 10 คนมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย โดยเป็นเด็กระดับ ปวช. มากถึงร้อยละ 15.7 มากกว่านักเรียนระดับมัธยมปลายถึงกว่าเท่าตัว
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 พฤษภาคม 2549
ดอกสะมาเรีย เป็นดอกไม้สื่อความเข้าใจและสร้างความหวังใหม่


การฆ่าตัวตาย
การฆ่าตัวตาย เป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความขัดแย้งต่อบรรทัดฐานในสังคมของหลายประเทศ โดยเฉพาะบทบัญญัติในศาสนาต่าง ๆ ที่ได้กล่าวถึงการฆ่าตัวตายว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควรในการปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง
1.แนวคิดของการฆ่าตัวตาย
ทัศนะทางปรัชญาต่อการกระทำอัตวินิบาตกรรมกรีกโบราณ
- Pythagors :มนุษย์เป็นสมบัติของเทพ (gods)มนุษย์จึงไม่มีสิทธิที่จะละทิ้งทั้งโลกโดยปราศจากความยินยอมของเทพ
- โสกราตีส :เห็นว่าการกระทำอัตวินิบาตกรรมเป็นสิ่งชั่วร้ายทุกกรณี
- เพลโต้ :งานเขียน "Phedo"(สานุศิษย์โสกราตีส)ติเตียนอัตวินิบาตกรรมโดยทั่วไป แต่มีบางกรณียกเว้นได้ :ความเจ็บปวดไม่สามารถทนทานความเสื่อมเกียรติ คำสั่งรัฐ
- อริสโตเติ้ล : อัตวินิบาตกรรมเป็นการกระทำที่ขาดเขลา + ทำผิดต่อรัฐ
-
อย่างไรก็ตาม มีแนวคิดสนับสนุนต่อการฆ่าตัวตาย คือ
เอพิคคิวเรียน (Epicurcans),สโตอิด(Stoics)
ได้กล่าวถึงการฆ่าตัวตาย ไว้ว่า อัตวินิบาตกรรมแสดงออกถึง
เสรีภาพ , สง่างาม , สมเหตุสมผลของมนุษย์
โดยมีการยอมรับ การฆ่าตัวตายในลักษณะดังนี้
1. การเสียสละชีวิตเพื่อสังคม + ประเทศ
2. หลีกเลี่ยงการถูกบังคับทำผิดกม.
3. ความยากจน + ความเจ็บปวดอ่อนแอของจิตใจ ทำให้ความตายมีค่ากว่าการมีชีวิตอยู่
ต่อมาในช่วงแรกศตวรรษที่ 5 นักบุญออกัสติน คัดค้านฆ่าตัวตาย โดยให้เหตุผลสำคัญของการฆ่าตัวตายว่า
1.ทำให้การเป็นไปของการสำนึกผิดหมดไป
2.คือการฆ่าคนอันเป็นการกระทำต้องห้าม
3.ไม่มีบาปใดสมควรแก่ความตาย ชาวคริสต์ไม่มีสิทธิ์ที่จะตัดสิน เรื่องนี้เป็นเอกสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเพียงลำพัง
4.เป็นบาปที่ยิ่งใหญ่ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม
โลกตะวันออก
ได้มีแนวคิดเรื่องการฆ่าตัวตายดังนี้
- ศาสนาอิสลาม : ถือว่าอัตวินิบาตกรรม ถือว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ใครก็ตามที่ฆ่าตัวตายต้องทุกข์ทรมานด้วยไฟนรกและถูก อัปเปหิออกจากสวรรค์ตลอดไป : ปรากฎในคัมภีร์อัลกุรอ่าน
-
ศาสนาพุทธ : ( ปรากฎในพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค ตติยปราชิกกัณฑ์ สิกขาบท วิภังค์บัญญัติ และอนุบัญญัติไว้ )
ความเชื่อของพุทธศาสนิกชน
- พุทธศานาไม่ยินยอมให้ทำอัตวินิบาตกรรมเป็นอันขาด
- อัตวินิบาตกรรมเป็นโทษหนักสามารถทำให้ผู้กระทำไปปฏิสนธิในอบายภูมิได้
-
จริยศาสตรของขงจื้อ : (ก่อนประเทศจีนเป็นคอมมูนิสต์)
อัตวินิบาตกรรมในกรณีโรคร้ายที่ไม่สามารถเยียวยารักษาได้เป็นที่ยอมรับกัน
2.สาเหตุของการฆ่าตัวตาย
การฆ่าตัวตายเป็นพฤติกรรมที่พบบ่อย ๆ ในสังคมมาตั้งแต่อดีต จนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยอาจมีหลายสาเหตุ อาทิ
- อาการซึมเศร้า
- โรคจิต
- ติดสุราเรื้อรัง , สารเสพติด
- บุคลิกภาพผิดปกติ
อย่างไรก็ตาม การฆ่าตัวตายอาจมีหลายสาเหตุ โดยจำแนกได้ดังนี้
2.1 ความเชื่อ ลัทธิ ศาสนา
- การทรมานคน , หลุดพ้น
- อยู่กับพระเจ้า
- เกิดใหม่ชาติหน้า
2.2 จิตวิทยา
- ต้องการแก้แค้น ทำลาย
- ต้องการทำร้ายตัวเอง , รู้สึกผิด , ไร้ค่า
- ต้องการตาย , หนีความทุกข์
2.3 เวชปฎิบัติ
- พ้นจากความเจ็บปวด ทรมาน พิการ
- ความรู้สึกสิ้นหวัง เสียสมรรถภาพ
- โรคทางจิตเวช : โรคซึมเศร้า
- โรคทางสมอง : ติดสารเสพติด
2.4 สังคมวิทยา
-
Egoistic : ไม่มีความผูกพันในกลุ่ม
คนที่ฆ่าตัวตายอันเนื่องจาก ขาดความผูกพันต่อกลุ่ม
เช่น คนที่อยู่ในเมืองใหญ่มีผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า
- คนมีการศึกษาสูง ฆ่าตัวตายมากกว่าคนที่มีการศึกษาต่ำ
- คนไม่มีลูก ฆ่าตัวตายมากกว่าคนที่มีลูก
- ชาวคริสต์นิกายคาทอลิกมีการฆ่าตัวตายน้อย เป็นต้น
-
Altruistic : ผูกพันในกลุ่มมาก
คนที่ฆ่าตัวตาย เนื่องจากมีความผูกพันกับกลุ่มมาก โดยอาจมีการเสียสละเพื่อกลุ่มหรือสังคมที่อยู่ เช่น การยอมเสียสละตัวเอง , ฮาราคีรี , ระเบิดพลีชีพ
-
Anomic : เปลี่ยนสถานะสังคม จนปรับตัวไม่ได้
คนฆ่าตัวตายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมจนกระทั่งเกิดการปรับตัวไม่ทัน โดยเฉพาะในสภาพสังคมเมืองหลวง เช่น การสูญเสียคนรักตกงาน , ตกอับ สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและขาดบรรทัดฐานที่แน่นอน