เก็บตกจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 6 : ศาสตร์และศิลป์ของการทำวิจัยภาคสนาม


ลำพังการนำแนวคิดทฤษฎีมาปรับใช้อย่างเดียวไม่พอ เราต้องมีวิธีวิทยาที่สอดรับกันด้วย และวิธีวิจัยชุมชนของเราก็มีอยู่แคบๆไม่กี่แบบ จะมีคนสนใจศึกษา รื้อ-สร้างวิธีวิจัยกันก็แต่น้อย อาจจะเป็นเพราะนักศึกษาสมัยนี้ไม่ค่อยมีความมุ่งมั่นให้กับงานภาคสนาม จะด้วยข้อจำกัดอะไรก็ตามแต่ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการวิจัยภาคสนามเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทุ่มเทให้มาก

 ในช่วงท้ายของการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 6 ที่จัดขึ้นที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อ 30 มีนาคมที่ผ่านมา ถ้าจำไม่ผิด (แต่ถ้าผมจำชื่อผิดก็ขอโทษด้วย) อาจารย์อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย ผู้แปลเรื่อง เบื้องหลังหน้ากาก” (Behind the mask) ซึ่งเป็นหนังสือคลาสสิคเล่มหนึ่งที่นักศึกษามานุษยวิทยาทุกคนควรต้องอ่าน เพราะเป็นหนังสือที่ช่วยให้เข้าถึงมุมมองด้านหลังของพฤติกรรมชาวบ้านในการปรับตัวต่อรองตอบโต้ต่อนักวิจัย

อาจารย์อู่ทอง ได้ลุกขึ้นมาให้ข้อสังเกตต่อการจัดการประชุมวิชาการครั้งนี้ว่า รู้สึกผิดหวังที่มีแต่การถกเถียงและพิสูจน์ทางทฤษฎี มากกว่าการพูดถึงข้อค้นพบใหม่ๆ ประสบการณ์สดๆ ที่แต่ละคนได้มาจากการตรากตรำคร่ำเคร่งใช้ชีวิตในงานภาคสนาม ทั้งๆที่การลงภาคสนามเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และเป็นจุดแข็งในการได้มาซึ่งองค์ความรู้ของงานวิจัยทางมานุษยวิทยา ที่ต่างจากศาสตร์สาขาอื่นอย่างเห็นได้ชัดคือต้อฝังตัว เกาะติดอยู่ในพื้นที่เป็นเวลานานหลายปีและพยายามสะท้อนมุมมองวิธีคิดของคนใน แต่ดูเหมือนใครๆต่างมองข้ามไปพูดคุยแต่ในระดับนามธรรม ในเชิงแนวคิดทฤษฎีกันซะหมด โดยลืมว่าการลงภาคสนามเป็นวิธีวิทยาหลักในการแสวงหาความรู้ของสาขาวิชานี้ อาจารย์อู่ทองให้ความเห็นต่อว่า แนวคิดทฤษฎีเป็นสิ่งที่แต่ละค้นสามารถเสาะแสวงหามาอ่านตามกันทันได้ แต่เรื่องที่น่าจะแลกเปลี่ยนกันให้มากคือการลงภาคสนาม  

อันนี้ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง และจำได้ว่าเคยมีการพูดกันมาหลายปีก่อนแล้ว เกี่ยวกับการนำเสนอวิธีวิทยาใหม่ๆในการทำวิจัยบ้านเราให้หลากหลาย เพราะผมพบว่าลำพังการนำแนวคิดทฤษฎีมาปรับใช้อย่างเดียวไม่พอ เราต้องมีวิธีวิทยาที่สอดรับกันด้วย และวิธีวิจัยชุมชนของเราก็มีอยู่แคบๆไม่กี่แบบ  จะมีคนสนใจศึกษา รื้อ-สร้างวิธีวิจัยกันก็แต่น้อย อาจจะเป็นเพราะนักศึกษาสมัยนี้ไม่ค่อยมีความมุ่งมั่นให้กับงานภาคสนาม จะด้วยข้อจำกัดอะไรก็ตามแต่ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการวิจัยภาคสนามเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทุ่มเทให้มาก

 

  <div style="text-align: center"></div>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="center">                       ภาพขณะที่ผมไปเยี่ยมเยือนชาวบ้านลีซู บ้านหนองตอง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">       อ. ปางมะผ้า จ. แม่ฮ่องสอน เมื่อ ก.พ. 2550 (แอบถ่าย)โดย ด.ญ. เอื้ออารีย์  สามิตร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมคิดจากประสบการณ์ว่า ลำพังการสร้างกรอบคิดมาใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมก็ยากแล้ว แต่สิ่งที่ยากกว่าและวัดความอึดกันจริงๆก็คือการปรับตัวกับการใช้ชีวิตร่วมกับผู้คนต่างวัฒนธรรมในพื้นที่ศึกษา หรือในภาคสนาม ซึ่งก็มีงานเขียนออกมาบ้าง แต่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น แม้ว่าผมจะให้ความเคารพอย่างสูง ต่อประสบการณ์ของปรมาจารย์ที่ผ่านการลงพื้นที่มายาวนานทุกท่าน แต่ผมคิดว่างานเหล่านั้นมักจะเขียนโดยนักวิชาการอาวุโส ซึ่งบริบทที่ทำนั้นหลายเรื่องเป็นคนละสมัยกับปัจจุบัน จำเป็นที่ต้องมี เรื่องเล่าจากภาคสนามที่สอดรับกับยุคสมัย และตัวตนของนักวิจัยรุ่นใหม่มากขึ้น </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แม้ว่าศิลปะในการวิจัยภาคสนามจะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่ถ้าเราได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงของคนอื่นๆมากๆ เราก็อาจจะได้แนวทางที่ดี ได้รู้เส้นทางที่ควรเลี่ยง และน่าจะเป็นนักวิจัยที่ทำงานกับชาวบ้านได้ อย่างมีคุณภาพ ขึ้น </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่การจะเล่าประสบการณ์ภาคสนามนี่ฟังดูง่าย แต่ก็ไม่ง่ายซะทีเดียวครับ เพราะมันเหมือนกับถอดเสื้อผ้าตัวเองในที่สาธารณะ ในประสบการณ์ที่เราเขียน ย่อมมีตัวตนของเราอยู่ไม่มากก็น้อย จะปิดอย่างไรก็คงไม่มิด หากประสบการณ์ภาคสนามของเราเป็นเสมือนซากของวันวารที่ผ่านไปแล้ว แต่เรายังไปยึดว่ามันเป็นของๆเราเป็นตัวตนของเราอยู่  ผู้วิจัยต้องกล้าที่จะถอดวิญญาณออก เพื่ออุทิศ ซากตัวเองให้ผู้คนได้ศึกษา</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">และด้วยวิธีนี้ตัวเองก็จะมีส่วนเข้าไปร่วมวงศึกษา ซากที่ยังสดๆของตัวเอง ทั้งยังได้สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมกับคนที่มาห้อมล้อม ซาก ว่ามีความคิดพฤติกรรมอย่างไรไปพร้อมๆกัน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บางคนอาจดู ซาก เราแล้วหัวเราะ บางคนชื่นชม ตื่นตะลึง บางคนร้องไห้สงสาร บางคนสมเพชเวทนา บางคนเอามือทึ้งถองทารุณ </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">หน้าที่ของเราคือเฝ้ามองดูอย่างสงบ ศึกษา และวิเคราะห์วิธีคิด เงื่อนไข ปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรม เหล่านี้</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ก่อนจะกลับคืนวิญญาณสู่ร่าง ซึ่งอาจจะผุพัง ชำรุดทรุดโทรมไปบ้าง นั่นก็เป็นเรื่องสังขาร แต่สำคัญคือนี่อาจจะเป็นหนทางแห่งการเกิดใหม่เพื่อเติบโตต่อไปอีกครั้งภายในร่างเดิม </p><p> ผมไม่มีโอกาสได้นำเสนอความคิดนี้ต่อยอดกับอาจารย์อู่ทองในเวทีวันนั้น ก็เลยนำมาคิดต่อและขอนำมาลงเป็นบันทึกเก็บตกในวันนี้ครับ </p><p align="center">(for English , please read the abstract below)</p><p align="center">Some idea from anthropological annual conference 6th  </p><p align="center">: art of fieldwork methodology </p>Abstract :  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">There are a lot of debate in conceptual and theoretical level in the last anthropological annual conference in Bangkok. I agree, however, with an audience who tried to reflect a problem of this conference. That is attention too much in theory, especially postmodernism, but less attention in fieldwork. Although fieldwork  is a principle of access to knowledge construction of anthropological student.</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">But to make fieldwork experience as theme to present is not easily. It like to make private sphere to be public space. At least the researcher have to dare to be “died” from  “the old body” (leaving his/her own egoism), opening  mind to other to critic about it. </p>

หมายเลขบันทึก: 90310เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2007 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พนิดา วสุธาพิทักษ์

ขอบคุณที่นำข้อคิดเห็นเก็บตกมาบันทึกไว้ค่ะ : )

อ่านแล้วได้อะไรเยอะเลย ในฐานะที่ตัวเองเป็นนักศึกษาปริญญาโท และกำลังจะต้องไปลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อทำธีสีสในเวลาอันใกล้

ในประเด็นเรื่องของ 'ตัวตน' ...คมคายมากค่ะ กับประโยคที่บอกว่า

"ผู้วิจัยต้องกล้าที่จะถอดวิญญาณออก เพื่ออุทิศซากตัวเองให้ผู้คนได้ศึกษา"

ดิฉันว่าเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่แต่ประเด็นที่คุณยอดดอยยกมาเท่านั้น แต่บ่อยครั้ง ก็เพราะเรื่องของอัตตา-ตัวตนเราเองนี่แหละ ที่ทำให้การลงชุมชนประสบปัญหา ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข้อเท็จจริงที่ซ่อนและซ้อนอยู่ ภายใต้ปรากฎการณ์ที่มองเห็นอย่างฉาบฉวยแต่เพียงภายนอกได้

ไม่นับไปถึงปัญหาตัวตนที่ได้สร้างกรอบความกลัวและอคติขึ้นภายในจิตใจของผู้วิจัย จนไม่กล้าที่จะก้าวออกไปเรียนรู้โลกใบที่แตกต่างจากสถานที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ด้วย

นี่เป็นปัญหาหนักๆ ที่ยอมรับว่า ตัวดิฉันเองก็ยังข้ามไม่พ้นค่ะ และคงต้องอาศัยประสบการณ์ในการขัดเกลาอีกมาก

จะแวะเข้ามาเรียนรู้อีกเรื่อยๆ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท