จิต : การคิดประเมินค่า


เมื่อเราเห็นหญิงสาวเดินมา ๑ คน  เราเกิด "ความคิด" ขึ้นมาในบัดดลนั้นว่า  เธอ "สวย"   คำว่า "สวย" เป็นคำ "ประเมินค่า"  หรือ  Evaluate,  / Evalution.

"สวย" มีนัยของ"ความรู้สึกทางอารมณ์"รวมอยู่ด้วย  จึงเป็นเรื่องของอารมณ์ (Emotion)  ซึ่งเป็นประเภท "วิภาววิสัย" หรือ  Affection  ซึ่งไม่ใชปัญญา

ฉะนั้น "สวย"ดังกล่าวจึง "ไม่ใช่" ความคิด / ปัญญา  หรือ Cognition !

แต่ "การคิดประเมินค่า" ตามหัวข้อข้างบนนี้เป็นเรื่องของ "Cognition" หรือ Intelligence  ดังนั้น  เราจึงต้องพิจารณา "สวย"ในแง่ของ "ปัญญา"  นั่นก็คือ  "สวย" เป็น "การลงความเห็น" เชิง "ประเมิน" แต่ "ใช้เกณฑ์" ทาง"ปัญญา" เปรียบเทียบตัวอย่างต่อไปนี้ดูนะครับ

"เธอสวย" (ประเมิน) "เพราะว่าผมรัก" (เกณฑ์ -- ทางอารมณ์)  เป็นการประเมินโดยใช้เกณฑ์ทางอารมณ์ -- จึงไม่ใช่พวก Cognition

"เธอสวย" (ประเมิน) "เพราะว่า เธอมีสัดส่วน ๑๓ - ๑๒ - ๑๔" (เกณฑ์ - ทางความคิด) หรือ "เพราะว่า เธอฉลาด ตอบคำถามได้ถูกทุกข้อ"  (เกณฑ์ - ทางความคิด) -- เป็นการประเมินโดยใช้เกณฑ์ทางความคิด จึงเป็นพวกใช้ Cognition  เป็นการคิดประเมินค่าตามความหมายตามหัวข้อข้างบนนี้

การคิดประเมินค่า ตามชื่อเรื่องข้างบนนี้จึงเป็นฝ่าย Cognition หรือ ฝ่าย Thinking / Intelligence  ไม่ใช่ฝ่าย Emotion, Attitude, หรือ Affection ครับ

การลงความเห็นว่า "สวย, ขี้เหร่, เก่ง, ดี, ชั่ว, เลว, ถูก, ผิด, เกรด A, B,..ฯลฯ " เป็นการประเมินค่าทั้งสิ้น  การลงความเห็นเหล่านี้  ถ้าใช้เกณฑ์ทาง "ปัญญา,ความคิด" ก็นเป็นการประเมินค่าทางด้านปัญญา  แต่ถ้าใช้เกณฑ์ "ทางอารมณ์" ก็เป็นการประเมินค่าทางอารมณ์  ในบันทึกนี้เน้นเฉพาะด้านปัญญานะครับ  ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้อีกครั้งครับ

"เขาเก่ง  เพราะว่า เขาได้เกรด เอ ทุกวิชา" ---------- ฝายปัญญา

"เขาเก่ง เพราะว่า ผมรู้สึกชอบเขา" -------  ฝ่ายอารมณ์

"เขาผิด เพราะว่า  ฉันเกลียดเขา" ---------  ฝ่ายอารมณ์

"เขาผิด  เพราะว่า  เขาผิดกฏหมายมาตรา ๑๒ " -------  ฝ่ายปัญญา

ฯลฯ

เด็กมานั่งหน้าสลอนต่อหน้าคุณครูทุกวันๆ  ก็เพื่อให้คุณครูช่วยสอนให้พวกเขาพัฒนาความสามารถด้านการคิดประเมินค่านะครับ

คุณครูสอนกันแล้วยังครับ

คำสำคัญ (Tags): #evaluation cognition emotion
หมายเลขบันทึก: 90301เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2007 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว ......

ตอนอาตมาค้นคว้าเรื่องนี้ จึงรู้ว่า

ทฤษฎีการประเมินค่า ใช้อยู่ในวิชาหลัก ๓ สาขา คือ

สุนทรียศาสตร์ ... ประเมินค่าอารมณ์ที่พึงใจ

จริยศาสตร์ .... ประเมินค่าการกระทำหรือพฤติกรรม

เศรษฐศาสตร์ ... ประเมินทรัพยากรหรือสิ่งของ

...นอกนั้น ก็จะแฝงอยู่ในสาขาต่างๆ เกือบทุกสาขา..

  

ทฤษฎีการประเมินค่า ..ตามทศนิยมของดิวอี้อยู่ที่ 121.8 ...และภาษาไทยยังไม่มีแม้แต่เล่มเดียว

อนึ่ง ตามที่สืบค้นมา สถานศึกษาในเมืองไทยที่มีสอนสาขาปรัชญา ก็ยังไม่มีสถานที่ใดเปิดสอนวิชานี้เป็นวิชาเลือกเลย...

ตอนนั้นคิดว่า ใครสนใจเล่นเรื่องนี้สามารถพัฒนาเป็นผู้เชียวชาญของประเทศไทยได้ไม่ยาก...

เจริญพร

บันทึกของอ.จ.มีคุณค่ามากค่ะ

ปัจจุบันคุณครูที่สอนเด็กๆอยู่  ก็เข้าใจ เรื่องที่จะพยายามให้เด็กคิดมากขึ้นนะคะ  ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมากค่ะ

สมัยเมื่อลูกชายดิฉันอายุ 8 ขวบ เราอยู่ที่อเมริกา ครูที่โน่นให้เด็กทำ reportส่ง เป็นเล่ม เป็นเรื่องที่กำหนดมา และให้มีรูปประกอบ ดิฉันต้องพาลูกไปห้องสมุดบ่อย ให้เขาค้นคว้าเอง แรกๆ ลูกก็ไม่ชิน เพราะอยู่ร.ร.เซ็นต์คาเบรียลมา ทำการบ้านเป็นตันอย่างเดียว

ดิฉันว่า ตอนนี้ การสอนเด็กเราก็ดีขึ้นค่ะ

นมัสการพระคุณเจ้า

ครับ  นักปรัชญาเขาก็สงสัยไปทุกอย่าง ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของ "ค่า" หรือ"ค่านิยม" หรือ "Value"  แต่ "ผู้"สงสัย ก็เป็น "สมอง"ของเขาเอง  ก้อนหินไม่เคยสงสัยเลย  ต้นไม้ก็ไม่สงสัย  ยุง ก็ไม่สงสัย  กบก็คงไม่สงสัย  แต่พอมาถึงลิง  ก็อาจสงสัย  แต่คนนี่สงสัยมากที่สุด  คือสงสัยวา  อะไรงงาม - ไม่งาม  ดี - ไม่ดี ถูก - ไม่ถูก !!

เพราะว่า หิน มันไม่มีสมอง ,  ต้นไม้  แม้มีชีวิต  แต่ก็ไม่มีสมอง  ยุง ก็ไม่มีสมอง  กบ มีสมองบ้างนิดหน่อย แต่ก็ไม่รู้ว่ามันรู้สึกสวยงามหรือเปล่า  แต่พอมาถึงลิง สมองโตขึ้นมาก  แต่เราก็ไม่รู้อยู่ดีว่า มันรู้ "ค่า" ของเหรียญบาทหรือเปล่า ?  แต่ คน นี่แน่นอน 

ดังนั้น "การรู้ค่า"  และ "การประเมินค่า" จึง"ต้องการ" การพัฒนาดังนั้น เราจึงต้องพัฒนาโดยใช้เครื่องมือ คือ โรงเรียน ครับ

ดูเหมือนขณะนี้สังคมวิชาการของเราต้องแค่นี้ ยังมักน้อย ครับ  ความคิดของท่านก้าวไกลมากครับ  และน่าจะเริ่มต้น นะครับ

ขอบคุณครับ คุณ sasinanda

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท