องค์กรกับนวัตกรรม


นวัตกรรม (innovation) ตามความหมายของ wikipedia หมายถึง กระบวนการที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงโดยการนำเสนอสิ่งใหม่ (the process of making changes to something established by introducing something new)

นวัตกรรมในความหมายของโฆษณานั้น หมายถึงสิ่งประดิษฐ์ (invention) ที่ให้ความรู้สึกว่าผู้โฆษณาเป็นองค์กรที่ก้าวหน้า โดยที่ไม่ได้อธิบายเลยว่าความก้าวหน้านั้นคืออะไร -- นวัตกรรมในความหมายนี้ไม่อยู่ในบริบทของบันทึกนี้

คำถาม: ทำไมต้องเปลี่ยน -- ที่จริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปตามธรรมชาติ ในขณะที่องค์กรขยายตัวออกไป ทรัพยากรต่างๆ หมดไปเรื่อยๆ จำเป็นต้องหาสิ่งมาทดแทน และจะต้องได้มาทดแทนก่อนทรัพยากรหมดไป หรือถึงแม้ว่าวันนี้องค์กรจะอยู่ในสถานะที่น่าพอใจ แต่สภาพการแข่งขัน สภาวะแวดล้อม ตลอดจนกติกาและความต้องการที่เปลี่ยนไป ก็จะทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยน เพื่อให้ยังคงอยู่ได้

มีอีกคำถามหนึ่ง ซึ่งบรรดาผู้ที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงมักจะถามอยู่เนืองๆ ว่าในเมื่อกระบวนการที่สนับสนุนก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแล้ว จะแน่ใจได้อย่างไรว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น เรื่องนี้ตอบอย่างกำปั้นทุบดินได้สองอย่างคือการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติ จะช้าหรือเร็วก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกคำตอบหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงเป็นความเสี่ยงที่องค์กรจะต้องรับ หากจัดการความเสี่ยงต่างๆ ไม่ได้ดี จะไปโทษใครได้

จากรูปทางซ้าย จะเห็นได้ว่ากระบวนการที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อันเป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมนั้น ตั้งอยู่บนฐานสำคัญสามฐาน คือการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ของคนภายในองค์กร ผู้นำที่มีภาวะผู้นำและมีการบริหารจัดการงานอย่างเหมาะสม สุดท้ายคือความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับงานของแต่ละคน

ในเมื่อนวัตกรรมเป็นกระบวนการ จึงมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย เมื่อเป็นเรื่องของคนจำนวนมาก การสั่งให้สร้างนวัตกรรมจึงเป็นเรื่องไร้สาระ (ในความเห็นของผม การโฆษณานวัตกรรมที่ไม่ได้แปลว่านวัตกรรมก็ไร้สาระเช่นกัน) แม้ว่าภาวะผู้นำจะช่วยการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมและกระบวนการที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก กระบวนการของนวัตกรรมนี้ เป็นเรื่องการประสานงาน สร้างสภาวะแวดล้อมให้คนกล้าคิดออกนอกกรอบเดิมๆ สร้างแรงกระตุ้นอย่างถูกต้อง

นิตยสาร Business Week ได้ทำการสำรวจร่วมกับ BCG และสถาบันวิจัยนวัตกรรมในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ทำการสำรวจและจัดอันดับบริษัทที่มีนวัตกรรมสูงที่สุดของโลก 25 อันดับ; ในอันดับของปี 2006:

  • เป็นบริษัทในทวีปอเมริกาเหนือ 46%, ยุโรป 30% และเอเซียแปซิฟิค 16%
  • เป็นบริษัทเก่าที่เคยอยู่ใน Top 25 อยู่ 22 บริษัท มีเข้ามาใหม่เพียง 3 บริษัท

Continuous Innovation Chart -- Click to enlarge การสำรวจนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามไม่สามารถเลือกบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ตัวเองทำอยู่ได้ (เพื่อหลีกเลี่ยงการบล๊อคโหวต); ผลการสำรวจที่พบว่ามีบริษัทเก่ายังอยู่ในอันดับ Top 25 ถึง 88% ตอกย้ำถึงความสำคัญของความเป็นกระบวนการ ที่สร้างนวัตกรรมออกมาได้อย่างต่อเนื่อง -- และนี่คือประเด็นของบันทึกนี้ ส่วนวิธีการที่ใช้ในแต่ละกระบวนการนั้น มีผู้รู้เขียนไว้มากแล้ว ผมเชื่อว่าวิธีการที่เหมาะสมสำหรับแต่ละองค์กรนั้น จะแตกต่างกันออกไป เนื่องจากแต่ละองค์กรก็มีทรัพยากรและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ไม่สมควรใช้วิธีตรงตามตำรา แต่ควรจะนำแนวคิดมาปรับใช้แทน

กระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรม มีอยู่สามกระบวนการใหญ่ๆ คือ

  1. นวัตกรรมด้านกระบวนการ (Process Innovation) เช่นกระบวนการผลิต กระบวนการจัดซื้อ กระบวนการขาย กระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบ ฯลฯ เป้าหมายของนวัตกรรมด้านกระบวนการคือการหากระบวนการใหม่ ที่ดีขึ้น มีขั้นตอนน้อยลง รวดเร็วขึ้น เพื่อให้คนในองค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยต้นทุนน้อยลง แต่ไม่เสียหายในเรื่องของการควบคุม
  2. นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) ครอบคลุมทั้งสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดสินค้าใหม่ที่มีคุณลักษณะที่ดีกว่าเดิม ดีกว่าของคู่แข่ง มีต้นทุนต่ำกว่า ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากกว่า หรือทำให้ผู้บริโภคยินดีปนประหลาดใจ
  3. นวัตกรรมด้านรูปแบบธุรกิจ (Business Model Innovation) ทำให้การทำธุรกิจกับลูกค้า+คู่ค้าเป็นไปด้วยความสะดวก แข่งขันในพื้นที่ที่ได้เปรียบในการแข่งขัน (ไม่เหมือนกับเอาเปรียบ)
หมายเลขบันทึก: 90252เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2007 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

Conductor....

เล่าเล่นๆ  เฉพาะในวัด...

นวัตกรรมมาเรื่อยๆ....คุณธรรมเดิมๆ ก็ค่อยๆ เสื่อมถอย...

ฟังว่า สมัยก่อนไม่มีเทป... พระ-เณร เมื่อใกล้ๆ จะสอบบาลี ก็ขอให้เพื่อนๆ ช่วยอ่านภาษาไทยให้ฟัง ส่วนตัวเองก็ดูเฉพาะภาษาบาลี....

ต่อมามี นวัตกรรม ก็ใช้เทป ..เรียกกันว่า ศึกษาบาลีกับ เทปาจารย์...

เจริญพร

นมัสการครับ

พระอาจารย์ได้กล่้องสีขาวที่ส่ง EMS ไปถวายหรือยังครับ

เรื่องของเทปาจารย์ คงเลี่ยงได้ยากเหมือนกันครับ ถ้าวิธีการวัดผลยังเป็นลักษณะการสอบข้อสอบแบบนี้

  • ผมคิดว่ามีนวัตกรรมด้านกระบวนการเรียนรู้บ้าง คือทบทวนได้เท่าที่พระอาจารย์ผู้สอนในห้องบรรยายในห้องเรียน
  • ไม่แน่ใจว่ามีนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือไม่ เพราะผมไม่สามารถสรุปได้ว่าเทปาจารย์ผลิตนักธรรมที่มีคุณภาพขึ้นหรือไม่
  • ไม่น่าจะมีมีนวัตกรรมด้านรูปแบบธุรกิจ -- ไม่มีข้อสรุปว่าเทปาจารย์ จะนำไปสู่จตุคามอย่างไรหรือไม่
P

พอดีตอนนี้สถานศึกษาปิดเทอม อาตมาจึงยังไม่ได้เข้าไป (สถานศึกษาอยู่ อ.หาดใหญ่ ส่วนอาตมาพักอยู่ อ.เมือง)... วันที่ ๑๗ มีธุระจะต้องเข้าไป ตั้งใจว่าจะสอบถามวันนั้นเลย....แต่พรุ่งนี้อาจโทรตรวจสอบดู...

เทปาจารย์ จะช่วยย้ำตอนใกล้ๆ จะสอบเท่านั้น... ถ้าไม่แกะอักษรแต่ละตัวและโครงสร้างแต่ประโยคก่อนก็ไม่สามารถจะมองเห็นได้....

นิสิตรุ่นปัจจุบันที่อาตมาบรรยายหลายๆ รูป ก็เริ่มใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยเหลือ เช่น นำเทปชนิดจิ๋วเข้าไปบันทึกไว้ด้วย...

ในประเด็นอื่นๆ อาตมาก็คิดว่านวัตกรรมได้เปลี่ยนแปลงระบบวัดหลายๆ อย่าง ซึ่งถ้าจะมองในรูปแบบองค์กร ๔ คือ ปกครอง เผยแพร่ สาธารนูปโภค และสาธารนูปการ ก็คงต้องศึกษาเป็นรายกรณี...

ส่วนกรณีจตุคาม รู้สึกว่าอยู่นอกองค์กร ๔ ตามรูปแบบ คงจะต้องศึกษาเป็นกรณีพิเศษ...........

เจริญพร 

คุณสุธิดา/จนท. รับไว้ในช่วงเช้าวันที่ ๑๒ แต่ของไม่เสีย-ไม่สึกหรอ จึงไม่ต้องรีบครับ

เทปจิ๋วหรือเครื่องบันทึก MP4 ไม่น่าจะจัดเป็นนวัตกรรมสำหรับพระนิสิตนะครับ เนื่องจากแต่ละองค์ไม่ได้ประดิษฐ์เอง

Image Hosted by ProPhotoHost.com 

"Real Love are not for Love somebody, It for Everybody & Nobody”

 

สุขสันต์วันแห่งครอบครัว

 

รักคุณบุญรักษา ^^

เมื่อคืน ได้มีโอกาสดูวิดีโอการสัมนาอันหนึ่ง ซึ่งบรรยายโดย ศ.เคลยตัน คริสเตนเซน ซึ่งผู้ที่กำลังศึกษาหลักสูตรชั้นสูงอยู่ที่ฮาร์วาร์ดท่านหนึ่ง กรุณาส่งมาให้ดูทำให้เข้าใจหนังสือของ ศ.คริสเตนเซน (ซึ่งผมมีอยู่สองเล่ม) ได้ชัดขึ้นมาก

ศ.คริสเตนเซน เป็นคนแรกที่พูดถึง disruptive technology แม้ว่าต่อมาภายหลัง ท่านเปลี่ยนคำนี้เป็น disruptive innovation แทน เนื่องจาก disruptive technology ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเทคโนโลยีเลย แต่กลับเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอันสร้างความเติบโตอย่างมหาศาล โดยใช้นวัตกรรมและความแตกต่างจากผู้นำตลาดเป็นเครื่องมือผลักดัน

ตัวอย่างเช่นสายการบินราคาถูก เป็น disruptive technology ในอุตสาหกรรมการบิน แทนที่จะใช้เครื่องบินขนาดใหญ่ลำละ 400 คน ก็ใช้เครื่องบินลำเล็กลง ไม่เสริฟอาหาร และใช้สำหรับการบินระยะสั้นๆ ก็ทำให้ต้นทุนถูกลงมาก นวัตกรรมในตัวอย่างนี้ เป็นนวัตกรรมของรูปแบบธุรกิจ ซึ่งแม้จะมองเห็นได้ไม่ง่าย แต่หากสำเร็จก็อาจจะสร้างผลได้อย่างมาก

นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ เป็นสิ่งที่เรามองเห็นบ่อยที่สุดในมุมของสิ่นค้าที่ ง่ายขึ้น และ/หรือ ถูกลง

ส่วนนวัตกรรมด้านกระบวนการนั้น คนภายนอกองค์กรมักจะมองไม่เห็นชัด ยกเว้นว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงกับโลกภายนอก เช่น CRM SCM Call center ฯลฯ

จะเห็นได้ว่ากระบวนการที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมนั้น ตั้งอยู่บนฐานสำคัญสามฐาน คือการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ของคนภายในองค์กร (Learning & KM); ผู้นำที่มีภาวะผู้นำและมีการบริหารจัดการงานอย่างเหมาะสม (Leadership & management); และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับงานของแต่ละคน (Technical) ตามรูปปิรามิดด้านบน

P

ตามข้อความที่คุณโยมตอบมาเมื่อคืน ทำให้อาตมากลับไปอ่านใหม่อีกครั้ง...และเมื่อเสริมด้วยความเห็นนี้... คล้ายๆ จะมีบางอย่างแว๊บๆ เข้ามา....

เจริญพร  

ไม่ทราบว่าจะตรงกับที่พระอาจารย์คิดหรือไม่นะครับ ประเด็นของผมคือ

  • ประเด็นหลัก: การเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กร จะเปลี่ยนไม่ได้ด้วยตัวคนเดียว-ที่ตัวคนเดียว แต่ต้องสร้างความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงทุกองคาพยพ
  • การเปลี่ยนแปลงที่จะยั่งยืน จะต้องเปลี่ยนที่ใจของเรา ก่อน การเข้าใจถึงเหตุและผลจะช่วยให้เข้าใจถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง จากนั้นจะทำอะไร ก็ต้องมาคิดกันในรายละเอียด ต้องปรับให้เข้ากับข้อจำกัดต่างๆ อย่าฝืน; นวัตกรรมเป็น ผล ของการเปลี่ยนแปลง ส่วน เหตุ คือการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการที่เกี่ยวเนื่อง
  • แม้มีเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ในหลายๆ ครั้ง เรามักจะลืมไปว่าต้องทำอะไรอีกหลายอย่างเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น; มีบ่อยครั้งไปครับ ที่การแก้ไขปัญหาไม่ควรแก้ตรงที่เป็นปัญหา แต่จะต้องตามไปแก้ที่ต้นทางของปัญหา จึงจะเกิดผลที่ต้องการได้

มีคนว่าผมว่ายอกย้อน ทำไมถึงไม่บอกอะไรตรงๆ -- ที่จริงผมเลือกครับ มีบางคนที่ผมบอกตรงๆ แต่ก็มีหลายๆ คนที่ผมอยากให้คิดเอง ผมคิดว่าสมาชิก g2k คิดได้ ประยุกต์ได้ มีหลายท่านที่ต่อยอดได้ลึกซึ้งมาก น่าจะดีกว่าบอกไปตรงๆ เหมือนตำราครับ

P

ความเห็นของคุณโยมถูกต้องโดยประการทั้งปวง...

รู้สึกเคยเล่าให้คุณโยม...เพื่อนสนิทเคยวิจารณ์พระเถระรูปหนึ่งว่า ท่านต้องการจะเปลี่ยนโน้นเปลี่ยนนี้ แต่ท่านเปลี่ยนตัวเองไม่ได้...นั่นประการหนึ่ง

อาตมาเองก็เคยคุยกับเพื่อนอีกรูปหนึ่งว่า สาเหตุที่เราเป็นอยู่ทำนองนี้ ก็เพราะเราเลือกที่จะเป็นอยู่อย่างนี้ ...

นึกถึงหนังสือชื่อ ปมด้อย ของสวามี สัตยานันทะ บุรี เล่มหนึ่งที่อ้างว่า ตอนที่นโปเลียน จะสถาปนาเป็นเจ้านั้น แทนที่จะยอมให้โป๊ปสวมมงกุฏให้ แต่กลับหยิบมงกุฏขึ้นมาสวมเอง พรางประกาศทำนองว่า อาณาจักรนี้ ข้าพเจ้าแสวงหามาด้วยตัวเอง...

ก็กลับไปคิดถึงคำของแม่พลอยที่บ่นถึงคุณเปรมอีกครั้งว่า คุณเปรม ฉันเหนื่อยเหลือเกินแล้ว...

อาตมารู้สึกเหนื่อยกับการต่อสู้จริงๆ... สู้กับกิเลส สู้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม สู้กับธรรมชาติ ร้อนหนาว สู้กับความชราที่ค่อยๆ เข้ามาเรื่อยๆ และ...

บ่นให้คุณโยมอ่านเล่นๆ ...แต่อย่างไรก็คงสู้ต่อไป....

เจริญพร

สาธุ

ผมคิดว่ามนุษย์เราเหนื่อยได้ครับ... เมื่อเหนื่อยได้ ก็หายได้เช่นกัน สิ่งใดที่ต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มานั้น คงไม่ง่ายที่จะเอาชนะ ไม่เช่นนั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องต่อสู้

แต่ควรจะท้อถอยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเป้าหมาย+สิ่งที่เราทำ มีความหมาย+มีค่าที่แท้จริงต่อตัวเราและคนรอบข้างมากน้อยแค่ไหนนะครับ

Peter Drucker wrote an article "The Discipline of Innovation" in 1985 to reassure that innovations did not spring from thin air, but "a conscious, purposeful search for innovation opportunities, which are found only in a few situations. Four such areas of opportunity exist within a company or industry: unexpected occurences, incongruities, process needs, and industry and market changes. Three additional sources of opportunity exist outside a company in its social and intellectual environment, demographic changes, changes in perception, and new knowledge."

Peter Drucker was a management guru before management gurus became a dime a dozen. From what he said above - innovations are to be found when you keep looking with open-minded.

If you can't innovate, immitate! There are plenty of law suits - one of them was Wal-Mart vs Amazon  when W-M IT employees left to work at the newly found Amazon. The employees were allergedly took with them business process innovations. 

This day, US corporates protect themselves by making business processes intellectual property (IP), sure ...right .. and the battle of business process IP continues mostly in court...

 

 

 

 

ในปี 1954 Drucker เขียนไว้ในหนังสือ the Practice of Management ว่า

Because the purpose of business is to create a customer, the business enterprise has two--and only two--basic functions: marketing and innovation. Marketing and innovation produce results; all the rest are costs. Marketing is the distinguishing, unique function of the business.

มีสรุป (ย่อจนเล็กจิ๋ว) ของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่นี่ครับ

ขอบคุณคุณ Blubonnet ครับ Innovate ไม่ได้ ก็ Immitate แล้วใช้ Marketing สร้างความรู้สึกแตกต่าง 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท