บทความแปลเกี่ยวกับการค้นหาสารสนเทศในสภาวะแวดล้อมเสมือนจริง


วรรณกรรมที่เกี่ยวการค้นหาสารสนเทศ
การค้นหาสารสนเทศในสภาวะแวดล้อมของการเรียนรู้เสมือนจริง

Suzanne M., Jon I Young 

บทคัดย่อ  การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการค้นหาข้อมูลได้เกิดขึ้นเป็นเวลาที่ยาวนานโดยการศึกษา Kuhlthau และคณะ เมื่อปี 1989 ซึ่งการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันคือต้องการศึกษาการใช้ประโยชน์ของรูปแบบกระบวนการสืบค้นข้อมูล (ISP) ในสภาวะแวดล้อมของการเรียนเสมือนจริง ผลการวิจัยได้แสดงว่ารูปแบบ ISP เป็นอิสระจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของห้องสมุด ซึ่งรูปแบบนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นและได้รับการยืนยันจากนักศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้ค้นหาข้อมูลในการเรียนแบบเสมือนจริง ซึ่งเป็นการแสดงอย่างชัดเจนโดยรูปแบบ ISP ผลการศึกษายังพบอีกว่า ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันระหว่างประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์กับรูปแบบทางความคิด ความรู้สึก และกิจกรรม (การค้นหาข้อมูล) ที่อธิบายโดยรูปแบบ ISP  

บทนำ    พฤติกรรมการค้นหาสารสนเทศ คือรูปแบบเชิงซ้อนของกิจกรรมและการปฏิสัมพันธ์อันซึ่งบุคคลใช้ร่วมกันในขณะที่ค้นข้อมูลข่าวสารที่มีประเภทและมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันบรรณารักษ์ผู้ซึ่งเห็นพฤติกรรมการสืบค้นข้อมูลในแต่ละวันและตั้งแต่ที่ World Wide Web ได้เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของข้อมูล  จึงได้สนใจในการศึกษาการตัดสินใจรูปแบบพฤติกรรมการค้นข้อมูลในปัจจุบันซึ่งเป็นการสะท้อนการเรียนรู้ในสภสวะแวดล้อมของการเรียนเสมือนจริง เปรียบเป็นตัวกระตุ้นการเรียนรู้ในสภาวะแวดล้อมเสมือนจริงก้าวหน้าขึ้น ซึ่งนับเป็นตัวแปรที่สำคัญในการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมของนักศึกษาในกระบวนการเรียนรู้ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนทางกายภาพของอาจารย์ผู้สอน

 Kuhlthau (1993) ได้พัฒนารูปแบบพฤติกรรมการค้นข้อมูล (ดังรูป 1) พบว่า รูปแบบกระบวนการค้นข้อมูล(ISP) คือ การจัดข้อมูลที่ทำให้เกิดความแตกต่างกันด้านพุทธิพิสัย (ความคิด) จิตพิสัย (ความรู้สึก) และลักษณะของการแสดงออกในการดำเนินกิจกรรมที่ไม่เหมือนกัน โดยศึกษาจากการทดสอบความสามารถในการค้นหาข้อมูลตามสถานการณ์จริงของนักศึกษา เมื่อนักศึกษาต้องค้นหาข้อมูลที่สมบูรณ์เพื่อประกอบการทำงานในงานจากการศึกษาที่ได้รับมอบหมาย                ถ้ารูปแบบนี้เป็นการจัดการเรียนรู้เสมือนจริง บรรณารักษ์ อาจารย์และการจัดหลักสูตร จะกำหนดรูปแบบ ของการเรียนรู้เสมือนจริง โดยการออกแบบวัสดุสำหรับใช้ในการเรียนเสมือนจริง เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาในการ ช่วยเอื้ออำนวยประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาได้                รูปแบบของ Kuhlthau แสดงอย่างลึกซึ้งถึงการค้นข้อมูลของแต่ละบุคคล การซึมทราบความรู้และการนำข้อมูลมาใช้ในโลกของความจริง ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ได้แสดงอย่างชัดเจนถึงการใช้รูปแบบของ Kuhlthau ในสิ่งแวดล้อมเสมือนจริง คำตอบของคำถามนี้ได้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการค้นข้อมูลนั้นสามารถช่วยให้เข้าใจในแบบฝึกหัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับฝึกประสบการณ์ความชำนาญด้านการศึกษาในการเรียนเสมอนจริง             

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง                การศึกษาที่แสดงพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลอย่างง่ายๆที่มุ่งไปที่ด้านกระบวนการ เช่น การศึกษาของ Taylor ที่ศึกษารูปแบบระบบของข้อมูลที่เน้นความสำคัญของความเข้าใจตามสถานการณ์ของผู้ใช้-ระบบถูกออกแบบสำหรับด้านที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียว (Macmulin &Taylor,1984;Taylor,1991)               

Whittemore และ Yovits (1973) ได้พัฒนารูปแบบของความคิดรวบยอดเกี่ยวกับรูปแบบของการลดความไม่แน่นอนของการตัดสินใจในกระบวนการค้นหาข้อมูลรวมถึงการรวบรวม และการประเมินผลข้อมูล  รูปแบบนี้ศึกษาจากความแตกต่าง 6 รูปแบบซึ่งมีความสัมพันธ์กันกับกิจกรรมของผู้ใช้ เป้าหมายของผู้ใช้ และสภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตัดสินใจ ซึ่งงานนี้มีนัยสำคัญกับการศึกษาของ Kuhlthau และการศึกษาอื่นๆเพราะสามารถเชื่อมโยงการตัดสินใจในสถานการณ์ที่แตกต่างกันของการรวบรวมข้อมูลและการนำข้อมูลมาใช้               

Ingwersen (1982)  ได้วิเคราะห์กระบวนการสืบค้นข้อมูลของผู้ใช้ห้องสมุดและอธิบายถึงโครงสร้างความรู้ของผู้ใช้แต่ละคน ที่ส่งผลถึงการจัดการกับโครงสร้างของระบบข้อมูล ซึ่งรวบรวมจากคำถามที่ถามเกี่ยวกับการใช้ข้อมูล ผลพบว่า การคาดหวังของผู้ใช้มีผลกระทบต่อผลที่ได้รับจากการสืบค้นข้อมูลเช่นเดียวกัน เช่นเดียวกับการศึกษาของ

Hall (1981) ที่กล่าวถึงความแตกต่างของรูปแบบพฤติกรรมในการสืบค้นข้อมูลของแต่ละบุคคลว่า ขึ้นอยู่กับระบบความเชื่อมั่นของผู้ใช้และการสืบค้นถูกใช้อย่างไร ในขณะที่ Blackie  และ Smith (1981) ได้ทำการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้ชุดสัมภาษณ์นักศึกษาปริญญาตรีในการพยายามที่จะเปิดเผยความต้องการข้อมูลและวิธีการที่จะค้นพบ  โดยใช้เวลามากกว่า 6 สัปดาห์ 

Jame (1983) ได้ทำการศึกษาโดยใช้เทคนิคแผนผังความคิดในการศึกษาการรับรู้ที่มีผลต่อการสืบค้นข้อมูลของผู้ใช้ห้องสมุด  และ Mellon (1986 ) ได้ศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสำรวจความรู้สึกของนักศึกษาในการใช้ห้องสมุดสำหรับทำการวิจัยโดยมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอตามทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับความวิตกกังวลในการใช้ห้องสมุด                      

Kuhlthau (1993) พยายามที่จะพัฒนารูปแบบความข้าใจในการสืบค้น โดยรวบรวมของพฤติกรรมการสืบค้นข้อมูลทั้งหมดของแต่ละบุคคลโดยโครงสร้างของการศึกษาของ Dewey, Kellyและ Bruner พบว่านักศึกษาได้รับอิทธิพลการคิดและทำการวิจัยในด้านการศึกษา จิตวิทยา ห้องสมุดและสารสนเทศ ซึ่งโครงร่างการศึกษาของ Kuhlthau นี้ได้ความคิดหลักมาจากงานของ Dewey, Kelly และ Bruner ได้แสดงถึงอิทธิพลของการพัฒนารูปแบบ ISP ในการวิจัย                ตารางการทดสอบขนาดใหญ่และการทดสอบของ ISP ถูกใช้ในห้องสมุด 385 แห่ง ได้แก่ ห้องสมุดและศูนย์สื่อของโรงเรียน ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และห้องสมุดประชาชน  ทั้ง 3 แหล่งนี้ถูกใช้ในการรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับ กระบวนการสำรวจ  แบบสอบถามการรับรู้  และแผนผัง  สรุปได้ว่า การค้นหามุ่งไปที่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ความคิดที่เกี่ยวกับหัวข้อในการสืบค้นชัดเจนยิ่งขึ้น และทำให้มีการเปลี่ยนแปลงความรู้ตามแนวคิด การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกตามความคิดนั้นเป็นไปตามคำทำนายในรูปแบบ ISP โดยเพิ่มความมั่นใจขึ้นอย่างสม่ำเสมอ แต่ยังไม่ชัดเจนว่า ความสับสนและความขัดแย้งได้ลดลงในขั้นของกระบวนการ และเช่นเดียวกันที่ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่า  ความพึงพอใจ ความมั่นใจ และความผ่อนคลายเพิ่มขึ้น 

วิธีการ

3.1  ประชากร (Subjects)  ประชากรที่ศึกษาในการศึกษานี้คือ นักศึกษาปริญญาตรี และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยเท็กซัสเหนือ ผู้ซึ่งมีกิจกรรมในการเรียนเสมือนจริงในบางช่วงของการเรียน โดยเป็นนักศึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับศึกษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ห้องสมุดและสารสนเทศศาสตร์

3.2      กลุ่มตัวอย่าง (Sample) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยเท็กซัสเหนือ จำนวน 81 คน ผู้ซึ่งมีการใช้โปรแกรมการเรียนเสมือนจริงในการค้นหาข้อมูลประกอบการเรียนการสอน รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 3 ภาคการศึกษา โดยเริ่มในปี 1998 และกลุ่มตัวอย่างต้องมีโครงร่างการค้นคว้างานตามที่ได้รับมอบหมายและกระบวนการค้นคว้าที่สมบูรณ์ พร้อมต่อการเก็บข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้   

3.3 งานที่มอบหมาย (Task) งานที่มอบหมาย คือ การมอบหมายให้นักศึกษาทำการค้นคว้าสารสนเทศจากแหล่งต่างๆ ร่วมกับการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่อาจารย์จัดเตรียมไว้ให้ (สมุดจดคำบรรยายหรือสิ่งพิมพ์ที่ต้องอ่านเพิ่มเติม)  สำหรับการจัดทำรายงาน เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นรายกลุ่ม หรือภายในชั้นเรียน หรือกับอาจารย์  โดยนักศึกษาที่ลงเรียนในวิชาด้านการศึกษา ภูมิศาสตร์ ห้องสมุดและสารสนเทศศาสตร์ จะต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน นักศึกษาต้องทำงานด้วยกันตั้งแต่เริ่มต้นความคิดไปจนงานนั้นแล้วเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งงานที่ได้รับมอบหมายที่มีความแตกต่างกันนั้น ทำให้แต่ละคนต้องมีกิจกรรมในสภาพความเป็นจริงและใช้วัสดุในชุดที่จัดให้โดยอาจารย์เพื่อให้งานสำเร็จแตกต่างกัน3

 กระบวนการศึกษา (Procedures)

การฝึกอบรม  (Training) การฝึกอบรมในชั้นเรียนนั้นเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์ที่จะให้นักศึกษายอมรับที่จะร่วมการงาน ซึ่งการฝึกอบรมนี้จะเป็นการประเมินเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ด้วย  2 ใน 3 ห้องเรียน ใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นโดยทีมงานของมหาวิทยาลัยเท็กซัสเหนือโปรแกรมนี้ถูกสร้างขึ้นโดย Virtual  Collaborative  University (VCU) VCU คือ การเรียนรู้เสมือนจริงที่ให้นักศึกษาได้เข้าถึงโดยใช้เครื่องมือพิเศษ สิ่งแวดล้อมของการเรียนเสมือนจริงมีห้องสมุด อินเทอร์เน็ต และการตั้งคำถามซึ่งนำไปแลกเปลี่ยนกับอาจารย์และนักศึกษาคนอื่นๆ ในรูปแบบของไซเบอร์ ส่วนห้องเรียนที่สามใช้โปรแกรมที่ร้านค้าอนุญาตให้ใช้งานการฝึกอบรมและการสาธิตเกี่ยวกับโปรแกรมแต่ละชุดนั้น ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดเกิดความสะดวกสบายเมื่อต้องใช้โปรแกรมในการเรียนการสอน เมื่อต้องใช้ในห้องเรียนของตนเอง 3.3.2        

  เครื่องมือ  (Instruments)  ใช้แบบสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของระบบปฏิบัติการและการใช้คอมพิวเตอร์ กับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำกระบวนการสำรวจ (Appendix A) ถูกจัดออกเป็น 3 ช่วงเวลา ระหว่างภาคเรียนของนักศึกษาที่ทำรายงานตามที่ได้รับมอบหมาย คือ ช่วงแรกของการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษา ช่วงกลางของการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย และการเสร็จสิ้นของการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษากระบวนการสำรวจแทบจะไม่ถูกปรับเปลี่ยนจากรูปแบบการศึกษาของ Kuhthau, Turock, Varlejs และ Belvin (1989) เลย มีเพียงสิ่งเดียวที่ถูกปรับ คือ การยกเลิกคำถาม (คำถามที่ใช้ถามบรรณารักษ์) เพราะไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการเรียนเสมือนจริง  และใช้ คำว่า  “Virtual  Collaborative  University” แทนที่คำว่า  ห้องสมุด ซึ่งเป็นคำเดิมที่ใช้การสำรวจของ Kuhthau จากการสำรวจพบว่า นักศึกษาที่ลงทะเบียนในวิชา CEOS 52210 ที่มีความแตกต่างในการเลือกใช้โปรแกรม virtual Callaborative ของร้านค้ามากกว่าโปรแกรมของ virtual Callaborative  university-VCU  นั้นนำเสนอถึงชนิดของโปรแกรมการเรียนเสมือนจริงที่ได้จากการสำรวจ 

โดยมีผลการศึกษาสรุปตามบทคัดย่อ

  •  สงวนลิขสิทธิ์โดยสิริพร ทิวะสิงห์ ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 10 สิงหาคม 2552

หมายเลขบันทึก: 89985เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2007 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท