จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ได้เวลาสร้างมุมมองใหม่สำหรับการสอนอิสลามศึกษาแล้ว


ยิ่งห่างไกลจากสุนนะห์ เราก็ยิ่งห่างไกลจากความสำเร็จเช่นกันครับ

ผมเป็นคนหนึ่งที่ผ่านระบบการเรียนอิสลามศึกษามา ทั้งประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จนถึงตอนนี้ผมร่วมรับผิดชอบในการผลิตครูทางด้านอิสลามศึกษา ผมรู้สึกได้ว่า การจัดการเรียนการสอนของเราในปัจจุบันยังไม่สามารถทำให้เรารู้จักอิสลามได้อย่างแท้จริง ซึ่งผมพบคำตอบว่า เป็นเพราะกระบวนการจัดการเรียนการสอนของเราเองนั่นแหละเป็นสำคัญ หัวใจสำคัญคือ เราห่างไกลจากสุนนะห์ของท่านนบีนั่นเอง ตัวอย่างง่ายๆ ที่พบเห็นเป็นประจำ คือ

1) รูปแบบการสอน ครูอิสลามศึกษาส่วนใหญ่ยึดมั่นถือมั่นว่า ต้องสอนด้วยวิธีการบรรยาย แถมบางคนยังอ้างว่านี้คือสุนนะห์ของท่านศาสนฑูต ซึ่งผมได้มีโอกาสบรรยายให้ครูอิสลามศึกษากลุ่มหนึ่งฟังในเรื่องการสอนในอิสลาม มีหลายคนน้ำตาตก เพราะเพิ่งเข้าใจว่า ตนเองสอนไม่ได้สอดคล้องกับสุนนะห์ของท่านนบีเลย

มุมมองที่เกิดขึ้นจากประเพณีปฏิบัติ จนเกิดความเข้าใจว่านี้แหละถูกที่สุด อย่างอื่นผิดหมด ทำให้การจัดการศึกษาอิสลามบ้านเราย้ำอยู่กับที่

2) เนื้อหาที่นำมาสอนก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เราพลาดเป้าตลอดมา ผมใช้เวลาเรียนศาสนาเป็นปีๆ แต่นานๆ จึงจะพบตัวบทหลักฐานจากอัลกุรอานและสุนนะห์สักครั้งหนึ่ง ส่วนใหญ่ที่เราสอนที่เราเรียนมีแต่เป็นหลักการความรู้หรือทฤษฏีที่นำเสนอแบบเสร็จสรรพจากนักปราชญ์หรือผู้รู้ในอดีตมาแล้ว เราปฏิเสธการนำเอาตัวบทหลักฐานมานำเสนอให้ผู้เรียน เพราะเราคิดว่า ความรู้ระดับเราไม่มีสิทธิวิเคราะห์ตัวบทเหล่านั้น ซึ่งความจริงอาจจะถูกครับที่เราอาจมีความรู้ไม่พอที่จะวิเคราะห์เอง แต่ในการเรียนการสอนที่ดีน่าจะนำเสนอตัวบทพร้อมกับแนวคิดของนักปราชญ์ที่เรายอมรับแล้วไม่ดีกว่าหรือ และไม่ต้องมีข้อสงสัยอีกในภายหลัง

อีหมามชาฟีอีย์เองยังสั่งห้ามไว้เลยว่า ถ้าเมื่อไรท่านพบหลักฐานที่ชัดเจนจากสุนนะห์ของท่านศาสนฑูตว่าขัดแจ้งกับสิ่งที่ข้าพเจ้านำเสนอไปจงอย่าตามฉัน แต่จงตามสุนนะห์ท่านนบี

ในยุคของท่านซอฮาบะห์ แหล่งความรู้คือจากท่านนบี ดังนั้นในยุคเราทำไมจึงพยายามกีดกั้นเยาวชนของเราให้ได้ใกล้ชิดกับหลักคำสอนจากท่านนบี

3) สื่อการสอน มีครูสอนอิสลามศึกษาบางคนปฏิเสธการใช้สื่อการสอนด้วยเหตุผลต่างๆ นานา ซึ่งนั่นก็หมายถึงไม่สอดคล้องกับสุนนะห์ของท่านนบีเช่นกัน

4) การประเมินการสอน อันนี้ยิ่งห่างไกลสุนนะห์ครับ แล้วนบีมีการประเมินการสอนด้วยหรือ ผมก็เลยขอยกตัวอย่างคำพูดหนึ่งของซอฮาบะห์ที่ว่า ท่านนบีจะไม่สอนอายะห์ใหม่ให้กับพวกเราจนกว่าพวกเราจะได้นำไปปฏิบัติได้แล้ว อันนี้สะท้อนให้เห็นกระบวนการสอนประเมินผลการสอนชัดเจน เช่นเดียวกับอีกหลายหะดีษ โดยเฉพาะหะดีษที่เกี่ยวข้องกับการอ่านอัลกุรอานในเดือนรอมฏอนที่ท่านนบีเรียกซอฮาบะห์มาท่องจำอัลกุรอานให้ท่านฟัง

ครับ เราคงต้องมานั่งทบทวนการสอนของเรากันใหม่ทั้งกระบวนครับ ว่าอะไรคือสุนนะห์ที่ท่านนบีทำ นบีปฏิบัติในการสอนของท่าน เพราะท่านนบีพูดบ่อยๆ ว่า ท่านถูกส่งมาเป็นครู

ยิ่งห่างไกลจากสุนนะห์ เราก็ยิ่งห่างไกลจากความสำเร็จเช่นกันครับ

 

หมายเลขบันทึก: 89317เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2007 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยอีกคนครับ และขอเสริมอะไรเล็กน้อย

ถ้าเราอ่านสูเราะห์ยาซีน เราจะพบบทหนึ่งกล่าวอย่างชัดเจน ซึ่งมีความว่า "เจ้าจงตามผู้ที่ไม่ขอค่าจ้าง" อุลามาอฺมีความเห็นต่างกันในเรื่องนี้ แต่ที่มีความเห็นตรงกัน คือ การสอนอัลกุรอานต้องไม่รับค่าจ้าง แต่เราพบว่า ทุกวันนี้ ไม่ว่าสอนอะไร จะรับค่าจ้างทั้งนั้น

พบได้พบกับครูคนหนึ่ง เขาสอนอัลกุรอาน ถามเขาไปว่า ทำไมเขาไม่ไปอบรมการสอนที่เขานิยม เช่น กิรออาตี เขาก็ตอบว่า ค่าอบรมแพง...?

ไม่ว่าอุลามาอฺท่านใด ถ้าพูดถึงการสอนแล้วสิ่งแรกที่เขาสอนคือ ต้องอิคลาส ผมก็อยากให้ครูและนักเรียนทุกคนทบทวนเรื่องนี้ด้วย ว่า ที่เขาสอนอยู่ทุกวันนี้ อิคลาสแค่ไหน (ไม่ต้องตอบคนอื่น ตอบตัวเองดีที่สุด เพราะตัวเองรู้ความจริงอยู่คนเดียว)

อีกอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึง และจากประสบการณ์ที่พบเห็นแล้วครูสอนศาสนาไม่ค่อยคำนึงกัน คือ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่วนใหญ่ครูจะสอนเหมือนกันหมด

การสร้างความพร้อมก็ไม่ค่อยมี เปิดหนังสือหน้าไหน ก็สอนหน้านั้น

สุดท้ายวัดผลด้วยการท่องจำได้..เท่านั้น???

(อิอิอิ มองโลกในแง่ร้ายหรือเปล่า..เนี้ย)

 

ในสมัยของท่านนบี อาบูฮูรัยเราะห์พยายามติดตามท่านนบีครับ เพื่อเรียนรู้จากท่านนบี จนภายหลังมีคนถามท่านว่า ทำไมท่านรายงานหะดีษมากกว่าคนอื่น ท่านตอบว่า เพราะคนอื่นจำเป็นต้องมุ่งทำมาหากินด้วย ส่วนท่านมุ่งรวบรวมหะดีษอย่างเดียว

และจากประวัติการศึกษาในอิสลาม พบว่า บรรดาซอฮาบะห์ที่พักอยู่ชายคามัสยิดเพื่อการศึกษานั้น จำเป็นต้องประกอบอาชีพเล็กๆ น้อยๆ เพื่อการดำรงค์ชีวิตครับ เช่น เก็บไม้พืนขายเป็นต้น

หากมองบ้านเราในอดีต ความเป็นผู้รู้จะได้รับการอุปถัมและเกื้อหนุนโดยชุมชน ทำให้ไม่ต้องประกอบอาชีพอื่นหรือประกอบอาชีพเพียงเพื่อเสริมรายได้เท่านั้น ซึ่งอันนี้ต้องยอมรับว่าต่างจากปัจจุบันที่ชุมชนมองว่าการศึกษาเป็นระบบเศรษฐกิจหนึ่งที่พึงพาตนเองได้ จึงไม่ต้องอุ้มชูเหมือนแต่ก่อน ดังนั้นผู้รู้เองก็จำเป็นต้องให้เกิดรายได้จากการสอนเหมือนกัน

ส่วนการสอนอัลกุรอาน โดยหลักการต้องไม่รับค่าตอบแทนครับ และที่วิทยาลัยก็คุยกันเรื่องนี้เมื่อหลายปีก่อนว่า ทำไมลงทะเบียนเรียนวิชาอัลกุรอานก็จ่ายเงินค่าหน่วยกิตด้วย (แต่สุดท้ายถ้าผมจำไม่ผิดตอนนี้วิทยาลัยก็เก็บ)

ผมมองว่า ถ้าการจัดการศึกษาไม่เก็บตังค์นั้นดีแน่นอน แต่ต้องคิดต่อว่า จะทำอย่างไรให้บุคลากรในสถานศึกษาอยู่ได้ ซึ่งอาจจะต้องได้รับการอุปถัมภ์จากชุมชนหรือรัฐครับ คงต้องร่วมกันคิดร่วมกันทำอีกนานครับ

กระบี่อยู่ที่ใจ ใจอยู่ที่กระบี่

ใช้กระบี่โดยไร้ใจ เท่ากับสังหารตนเอง

คนทั่วไปจะกลัวคนที่พกกระบี่

หารู้ไม่ว่า

ผู้ที่ซุกงำกระบี่ไว้ในใจนั้น

น่ากลัวยิ่งกว่า

อนุภาพของมัน

ร้ายแรงยิ่ง

แม้ว่า

จะไม่ชักมันออกมา

ก็อาจทำร้ายคนได้

.............................

ไม่นึกว่าจะมาพานพบสุดยอดมือกระบี่

ที่gotoknow

นับถือ นับถือ

จาก...... นิรนาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท