“Share” การมีส่วนร่วม


"หน้าที่ของ “ผู้นำการประชุม” นั่นก็คือ การผลักดันให้ทุกคนในที่ประชุมได้มีส่วนร่วมกันทุกคนด้วย..."

จะพูดไปแล้วนั้น...  ในช่วงของการระดมสมอง  “ผู้นำการประชุม”  น่าจะมีความน่าเกรงขามที่สุดในขณะนั้น...  ดังนั้นผู้นำการประชุม  จึงต้องดูแลความเรียบร้อยไปในตัว  (หน่วยรักษาความปลอดภัย)  และอีกอย่างที่จะต้องทำนั่นก็คือ  การผลักดันให้ทุกคนในที่ประชุมได้มีส่วนร่วมกันทุกคนด้วย...

ในบางครั้ง...  (ผมใช้คำว่าในบางครั้งนะครับ)  ในการระดมสมองมักมีกลุ่มบุคคลที่ทำตัวแบ่งแยกออกเป็นสองกลุ่ม  หรือหลาย ๆ  กลุ่มด้วยกัน  พวกนี้จะถูกแบ่งแยกกันโดยไม่รู้ตัว...  ในที่นี้จะยกตัวอย่างขึ้นมาสักสองจำพวก  นั้นคือ

พวก  “สังเกตการณ์”  ...  พวกนี้จะเป็นพวกที่ไม่ค่อยได้ออกความคิดเห็นเท่าไร  เพราะมักจะโดนเหยียบทางวาจา  เป็นนัยว่าให้อยู่เฉย ๆ  จะดีกว่า...  บุคคลเหล่านี้จะมีความอ่อนไหวทางด้านอารมณ์ค่อนข้างสูง  เมื่อเจอสิ่งใดมากระทบ  จะทำให้ความคิดหยุดชะงัก  และค่อย ๆ  เดินถอยหลังออกไปทีละก้าว  จนไปอย่างในมุมมืดของที่ประชุม...  จะแสดงความคิดเห็นก็เฉพาะเมื่อถูกถามเท่านั้น...

อีกพวกหนึ่ง...  คือพวก  “มหาอำนาจ”  บุคคลจำพวกนี้...  มักจะเป็นพวกนัย ๆ  ว่าร้อยวิชา  มีคารมเก่งกล้า...  บุคคลจำพวกนี้มักจะชอบเข้ามาควบคุมการประชุมเสียเอง...  ดังนั้นต้องคอยกำชับตลอดเวลา  เพื่อไม่ให้ล่วงล้ำขอบเขต  และหน้าที่ของตนเองตลอดเวลา... 

ดังนั้น...

ผู้นำการประชุม...  ควรต้องใช้วิจารณญาณในการควบคุมเป็นอย่างดี  เพื่อให้การประชุมสำเร็จได้  หน้าที่ของการเฉลี่ยความร่วมมือ  ของผู้นำการประชุมก็คือ  ถ้าเห็นว่าใครเริ่มเดินถอยหลัง  หรือถอยทัพ  ผู้นำก็คอยดึง ๆ  รั้ง ๆ  ไว้บ้าง  โดยการให้กำลังใจเขาบ้าง  บางทีไอเดียที่ดีที่สุดก็อาจมาจากพวกเด็กหลังห้องก็ได้  ส่วนพวกกำลังช้างสารทั้งหลาย  ผู้นำก็ควรหาวิธีการที่จะมากำชับให้อยู่หมัดตลอดเวลา...  อย่าให้ทำการทำร้ายจิตใจคนอื่น  จนทำให้ตัวเองต้องเสียหายมากไป  ก็ยังให้เขาแสดงความคิดเห็นได้แต่อย่าเกินขอบเขตที่จัดไว้...  ยังไงก็แล้วแต่ไอเดียดี ๆ  ก็อาจได้มาจากบุคคลพวกนี้ด้วยเหมือนกัน...

คำสำคัญ (Tags): #การมีส่วนร่วม
หมายเลขบันทึก: 89023เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2007 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • การใช้เวลาประชุมไปมากมายน่าจะสะท้อนคุณภาพของคนในหน่วยงานนั้นได้เหมือนกันนะครับ
  • ผมลองแนะนำในที่ประชุมว่า  หากท่านเห็นด้วยก็ไม่ต้องพูดอีก   เอาเฉพาะเห็นแย้งหรือไม่เห็นด้วย  แล้วแสดงเหตุผล
  • การทำการบ้านมาก่อนการประชุมก็ช่วยประหยัดเวลาไปได้มากทีเดียว
  • เป็นเพียงข้อคิดเห็นจากผมนะครับ
เป็นการยกตัวอย่างที่ชัดเจน ข้อชวนคิดคือเราจะใช้พลังจากคนแต่ละกลุ่มอย่างไร ถ้าหาจุดพอดีได้ ทุกอย่างน่าจะมีพลัง ครับ
  • เข้ามาชื่นชม คมความคิดนะคะ

ขอบคุณ  คุณ

P
ที่เข้ามาอ่านครับ...  ผมเห็นด้วยครับ  ที่ว่า...  ก่อนการประชุม  ต้อง  "ทำการบ้าน"  มาก่อนทุกครั้ง...  มัวแต่นึกเอาตอนที่ประชุมคงเป็นไปไม่ได้แน่...  ขอบคุณครับ...
ขอบคุณ  คุณ
P
ที่เข้ามาอ่านครับ...  เห็นด้วยครับว่า...  ไม่ว่าจะดีหรือร้าย  ถ้าเอามาวางที่ตรงความพอดี...  ได้  ทุกอย่างจะดีขึ้น  (บางครั้งความความคิดร้าย ๆ  อาจให้ไอเดียดี ๆ  ได้เหมือนกัน  ถ้าคนกลุ่มนั้นรู้จักสาเหตุ  และเป้าหมายที่จะคิด)  ขอบคุณครับ...
ขอบคุณ  คุณ
P
ที่เข้ามาอ่านครับ...  และขอบคุณกับคำชมด้วยครับ...
เข้ามาเยี่ยมค่ะ   เห็นด้วยว่าคงต้องอาศัยผู้บริหารซึ่งจะต้องดูการประชุมในแต่ละครั้งว่าใครกำลังออกนอกกรอบที่เราวางแผนการประชุมไว้แล้วค่อยตีกรอบซึ่งคงไม่มีสูตรสำเร็จค่ะ
ขอบคุณ  คุณ
P

ที่เข้ามาเยี่ยมครับ...  "ผู้นำการประชุม"  นี่  สำคัญจริง ๆ  นะครับ...  ถ้ามีใครคิดออกนอกลู่ไปบ้าง  คงต้องเหนื่อยแน่นอน...ครับ  ขอบคุณครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท