สมมติว่าท่านเห็นตำรวจเรียกรถคันหนึ่งที่เพิ่งฝ่าไฟเหลืองแก่เกือบแดงที่สี่แยกนะคะ (ท่านขับตามมาแต่ท่านหยุดรถที่สัญญาณไฟค่ะ) ท่านรู้สึกอย่างไรคะ
อืม ดิฉันเพิ่มอีกอารมณ์นึงด้วยว่าเห็นใจคนนั้นเหมือนกัน อาจจะรีบจริงๆ เห็นใจตำรวจด้วยค่ะ
ขอบคุณมากค่ะที่เขียนเรื่องดีๆให้อ่านค่ะ ขออนุญาตนำไปใส่ในแพลนเน็ตด้วยนะคะ
ยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะคุณอนิศรา
จะพยายามเขียนอยู่เป็นประจำ ตามเวลาและโอกาสที่มีค่ะ
สวัสดีครับผมก็สนใจธรรมะเหมือนก้น ที่อาจารย์พูดเรื่องของสภาวะธรรมน่าสนใจมากครับ ในเรื่องการตามอารมณ์ให้ทันนั้นผมว่าคนส่วนใหญ่ทำได้มีปัญหาอยู่สองประเด็นครับ หนึ่งตามรู้แล้วแต่ดับได้ยากเช่นไม่ใช่เราไม่รู้ว่าเราโกรธ แต่ต้องดูนานมากกว่าจะดับ
สองการตามทั้งวันก็เป็นเรื่องลำบากมาก รู้สึกฟุ้งซ่านไม่สงบครับ
ขออนุญาตอาจารย์
นะครับ
ผมขอตอบตามที่ได้อ่านมา แล้วอาจารย์ค่อยช่วยเสริม นะครับ
ที่เหลือรอให้อาจารย์มาช่วยเสริมนะครับ ผมยังทำไม่เป็นหรอก อาศัยที่อ่านมา ฟังมา และลองดูบ้างเท่านั้นครับ ผิดถูกยังไงช่วยกันศึกษา ตรวจสอบกันนะครับ
ธรรมะสวัสดีครับ
สวัสดีครับอาจารย์
สวัสดีค่ะคุณ ฉัตรชัย
ก่อนอื่นขอขอบคุณที่แวะมาอ่านนะคะ และให้ข้อคิดเห็นดีๆ นะคะ ทำให้ดิฉันมีประเด็นที่จะเขียนบันทึกต่อเลยค่ะ
ต้องขอแสดงความชื่นชมค่ะว่าคุณฉัตรชัยไม่มีปัญหาในการตามทันอารมณ์ เพราะว่าสำหรับดิฉันเองแล้ว แต่ก่อนนี้ไม่ทันเลยค่ะ ประมาณว่าวันทั้งวัน ส่งจิตออกนอก (ตามที่หลวงปู่ดูลย์ว่าไว้ว่าเป็นสาเหตุของทุกข์) ตลอดเลยค่ะ มองเห็นแต่สิ่งที่ตามองเห็นแต่ไม่เคยเห็นความรู้สึกหรืออารมณ์ตัวเองได้ทันเลยค่ะ (แต่ก่อนไม่เข้าใจเรื่อง รูป-นาม) ดังนั้นจึงโดนอารมณ์ที่เกิดขึ้นเข้าสิงหรือมาเป็นตัวตนของเราแบบไม่รู้ตัว เช่นบางทีแสดงอาการหน้างอ หรือแสดงอาการโกรธชัดเจน เป็นต้น
เรื่องการตามรู้แล้วดับได้ยาก สำหรับดิฉันแล้ว การรู้และดู และเข้าใจ จะทำให้เราตั้งตัวได้ค่ะ มองเห็นสภาวธรรม สังเกตเห็นความไม่เที่ยง ความไม่เป็นตัวตนที่แท้จริง และไม่เอาเรื่องที่เห็นหรือได้ยินมายึดเป็นตัวตน (หรือโดนอารมณ์เข้าสิง) ไม่เกิดอารมณ์มากขึ้น หรือเกิดอาการต่อเนื่องจากการมีอารมณ์ ทำให้สุดท้ายดูจนดับไปเอง และไม่น่าจะเกิดอาการฟุ้งซ่าน เพราะเราเห็นธรรม(ชาติ) ของอาการ ของอารมณ์ที่เราไม่ยึด ไม่ถือเป็นตัวเป็นตนค่ะ เช่น สมมติว่าเราเห็นสร้อยทองคำตกอยู่นะคะ เราก็เข้าใจว่าทองคำเป็นธาตุเหมือนดินชนิดหนึ่ง และเข้าใจว่าทองคำมีค่าตามสมมติบัญญัติของมนุษย์ มีความทนทานใช้งานได้ดี แต่เราไม่เกิดความโลภอยากได้ เพราะเรารู้ว่าสร้อยทองคำเป็นของมีค่าชิ้นนี้มีค่าเพราะอะไร เราไม่หลงไปกับสิ่งที่เห็น เห็นแล้วก็เฉยๆ ค่ะ ประมาณนี้
ที่คุณ ธรรมาวุธ ช่วยตอบนั้นดิฉันเห็นด้วยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ ที่ช่วยกันตอบ เรื่องนี้บางทีตอบยากมากเลยค่ะ ; ) เพราะอธิบายได้ยาก แต่ละคนอาจมีจริตต่างกัน เพราะฉะนั้นเรื่องบางเรื่องที่บางคนปฏิบัติได้ง่าย แต่บางคนอาจไม่เข้าใจและปฏิบัติยากมาก แต่ดีใจที่มาเปิด blog นี้และมีผู้สนใจมาก แสดงว่ามีผู้ปฏิบัติอยู่มากทีเดียว ได้สหายธรรมเพิ่มมากเลยค่ะ
สวัสดีค่ะคุณหมอ สุพัฒน์ kmsabai
จากตัวอย่างที่คุณหมอยกมานั้น ดิฉันคิดว่าเรากำลังปฏิบัติในแนวทางเดียวกันเลยค่ะ
คุณหมอยกตัวอย่างการปฏิบัติที่ดีมากๆ เลยค่ะ คุณหมอเห็นอาการขุ่นมัวที่เกิดขึ้น เหมือนกับที่ดิฉันเห็นเวลานักศึกษาถามคำถามที่เราคิดว่าเขาควรเข้าใจแล้ว พอดิฉันก็เห็นความขุ่นมัว ก็รู้เลยว่า มาแล้ว มาแล้ว ; ) แล้วจะหยุดนิ่งไปนิดนึง แล้วก็อธิบายต่อกับนักศึกษา (บางทีก็อธิบายต่อ บางที่ก็สั่งสอนให้เขารู้ว่าเขาไม่ได้ฟังที่เราพูด)
ดิฉันว่าคุณหมออยู่ในวิชาชีพที่ต้องพบผู้คนหลากหลาย ยิ่งกว่าดิฉันหลายเท่าตัว แถมผู้คนที่มาพบมักต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนบ้าง ไม่เร่งด่วนบ้าง วิชาชีพนี้เหนื่อยกาย แต่เป็นวิชาชีพที่ใช้ฝึกใจได้ดีมากๆ เลยค่ะ เห็นการเกิดดับ เห็นสังขารที่ไม่เที่ยง ชัดมาก ดิฉันว่าคุณหมอคงรู้สึกสุขใจที่ได้ช่วยคนเป็นงานประจำ (อย่าลืมดูอารมณ์ความสุขด้วยนะคะ)
จากตัวอย่างที่คุณหมอยกไว้ ดิฉันเชื่อว่าคุณฉัตรชัยก็คงเห็นว่าการเจริญสตินี้ เมื่อปฏิบัติแล้วจะทำได้เชี่ยวชาญทันที และก็ไม่ได้เป็นการเก็บกดความรู้สึก เพียงแต่เห็น และเข้าใจว่าทุกอย่างอยู่ภายใต้ธรรม(ชาติ) เป็นเพียงสภาวธรรมเช่นนั้นเอง
ผมจะเล่าเรื่องของผมแล้วกัน คือผมไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรมากนักครับ วันหนึ่งผมแปลงานส่งไม่ทันเครียดมากๆ ผมก็เลยไปทีนั่งวิปัสสนาที่มหาจุฬาจัด นั่งไปนั่งมาเขาให้เดินจงกรมด้วย กลับมาผมก็เป็นอย่างนี้ล่ะ ครับ ใจก็ตามดูจิตทั้งวัน จนตอนแรกๆผมทำอะไรไม่ได้ถ้าไม่ได้นั่งมันฟุ้งซ่านมากๆ คือความคิดวิ่งไปวิ่งมา ไม่รู้จะตามดูอะไรกันนักกันหนา แต่มันก็ทำให้ผมเห็นความโกรธของตัวเอง ขนาดกินข้าวไม่อร่อย ยังรู้สึกถึงความไม่พอใจของตัวเอง ผมแทบดูทีวีไม่ได้เลยครับเพราะผมจะแน่นน่าอกเวลามีฉากตัวร้ายใส่ร้ายคนดี แล้วบางทีก็นั่งน้ำตาไหลเวลาเห็นคนที่เขาลำบาก ผมงงตัวเองมากๆ ผมเลยทำใจแบบช่างมัน จะดูก็ดูไม่ดูก็ไม่ดู ไม่บังคับอะไรทั้งสิ้น หลังๆมาผมก็เป็นปกติแล้วครับ ผมไม่กล้าบอกใคร พออ่านที่อาจารย์เขียน ก็เลยพูดเหมือนที่ผมรู้สึกออกมา
สวัสดีค่ะคุณฉัตรชัย
คุณฉัตรชัยคะ ดิฉันก็ไม่ได้เก่งมากมายหรอกค่ะ ; ) ตอนดิฉันเริ่มฝึกแรกๆ ดิฉันไม่ได้จงใจตามดูตลอดค่ะ นึกได้ก็ดู ใช้ชีวิตตามปกติค่ะ ปัจจุบันดูภาพหนังโฆษณาดีๆ ก็ยังร้องไห้ได้อยู่ค่ะ แต่พอผ่านไป ความรู้สึกนั้นๆ ก็จะหมดลงตามธรรมชาติ เพียงแต่มันเป็นช่วงสั้นๆ มันไม่ได้ตามดิฉันอยู่ทั้งวันค่ะ
ขอบคุณคุณฉัตรชัยที่แลกเปลี่ยนนะคะ อย่างที่คุณฉัตรชัยว่านะคะ จะดูก็ดู ไม่ต้องไปบังคับอะไรมัน ดูแล้วก็ให้เข้าใจ ว่ามันเป็นเพียงสภาวธรรม มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็จะดับไปค่ะ
สวัสดีค่ะคุณ ทีน่า
ดูไปเรื่อยๆ เท่าที่นึกได้ค่ะ ดิฉันก็เป็นอย่างนี้แหละค่ะ หลุดค่ะ ดิฉันก็ยังทำไม่ได้ทั้งวัน ตลอดเวลาหรอกค่ะ แล้วไม่ต้องพยายามไปควบคุมอารมณ์นะคะ ให้รู้ทันเฉยๆ ค่ะ อารมณ์จะเบาลงค่ะ ให้รู้ไว้เรื่อยๆ ค่ะว่าอารมณ์ที่เกิดนั้นเกิดกับจิตเราเท่านั้น เมื่อรู้ว่าเห็นแล้ว ดูไว้เฉยๆ ดูจนดับ หรือถ้าไม่เห็นตอนดับ สักพักให้ทบทวนดู จะรู้ว่าอารมณ์นั้นดับไปแล้ว
การเห็นดับจะช่วยให้เราเข้าใจสภาวธรรมที่เป็นอนัตตาค่ะ จะได้ไม่ยึดมั่น ถือมั่นกับอารมณ์ค่ะ