CARD เรียนรู้ "การออกแบบระบบควบคุมภายใน"


เรียนรู้เพื่อขจัดความไม่รู้

เมื่อวานช่วงบ่ายวันที่ 4 เม.ย. 2550 ที่ผ่านมา ผมได้เชิญผู้รู้ด้านการควบคุมภายใน หนึ่งในนั้นก็คือ Blogger ของเรานั้นเองคือ คุณแต้ว และคุณอุทัยรัตน์ แก้วกู่ จาก หน่วยตรวจสอบภายใน ม.มหาสารคาม ที่ผมได้ทาบทามเอาไว้เบื้องต้นบ้างแล้ว วันนี้ถือว่าลงตัวทั้งผู้มาให้ความรู้และกรรมการควบคุมภายในของ CARD ด้วยเหตุที่ผลการควบคุมภายในไม่เป็นที่น่าพอใจเนื่องจากความ "ไม่รู้และรู้ไม่จริง" ในเรื่องการควบคุมภายใน จากการประเมินทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมาและเพื่อป้องกันความเสี่ยง (ภาษานักตรวจสอบภายใน) ที่จะมีขึ้นในอนาคต จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจอันจะนำไปสู่การ "ออกแบบระบบควบคุมภายใน" ของ CARD ให้ลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

วิธีจัดการ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้"

เบื้องต้นผมคุย concept กับ คุณแต้ว ไว้ว่า...ขอให้เป็นการเล่าเรื่องประสบการณ์มากกว่า จะไม่ขอเน้นเรื่องของ ระเบียบ แบบฟอร์ม ที่มากมายเกินไปนัก เอาแค่พอเป็นแนวทางก็พอ ส่วนรายละเอียดนั้นจะต้องลงมือปฏิบัติจริงๆ

คุณแต้วได้ปูพื้นฐานด้านการควบคุมภายในว่าเป็นมาอย่างไร พร้อมทั้งยกตัวอย่าง Best Practice ในเรื่องการควบคุมภายใน จากประสบการณ์ตรวจหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งก็พอมีหน่วยที่ CARD น่าจะไปศึกษาดูงานได้ในอนาคตอันใกล้นี้

ผมและกรรมการจาก CARD ได้เล่าให้ฟังว่า CARD มีประสบการณ์ออกแบบระบบควบคุมภายในว่า เป็นการกรอกแบบฟอร์มตามระเบียบที่ คตง. กำหนดมาให้เท่านั้นหรือไม่ ที่ CARD เราออกแบบเรื่องนี้เฉพาะ ระบบการบริหารจัดการ และระบบการเงินและบัญชี เท่านี้เอง และต้องเพิ่มเติมอะไร อย่างไรอีกบ้าง



ขั้นตอนการออกแบบระบควบคุมภายใน

จาก Slide ของคุณแต้ว

 

สาระที่ได้นำสู่แนวปฏิบัติ

  • ความรู้ที่ได้ : หลังจากได้เล่าประสบการณ์ให้ฟังแล้ว คุณแต้วและคุณอุ๊ ก็ได้สรุปว่า ควรพิจารณา พันธกิจ โครงสร้างงาน ลึกลงไปจนถึงกระบวนการทำงานของบุคลากรแต่ละคนด้วย แล้วนำมา ออกแบบระบบควบคุมภายใน โดยเน้นที่ ภารกิจหลักของหน่วยงาน เรียงลำดับตามความสำคัญ แต่ต้องครบตามโครงสร้างงานที่มีอยู่ ดังสรุปในตาราง

ตาราง สรุปสาระความรู้เดิม กับ ความรู้ใหม่ เรื่องการควบคุมภายใน

 ความรู้เดิม

ความรู้ใหม่ 

- ระบบการบริหารจัดการ
- ระบบบัญชีและการเงิน

นอกจาก "ความรู้เดิม"  แล้วต้องออกแบบระบบการควบคุมภายใน
ตามภารกิจหลักของหน่วยงาน ให้ครบทุกด้านตามโครงสร้างงาน
เช่น การออกแบบและผลิตสื่อการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ
  • CARD : ต้องจัดทำ ICQ แล้วนำเสนอผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน โดยแต่ละฝ่ายงานจะต้องออกแบบ ICQ แล้วนำมาวิเคราะห์รวมกันให้เป็น ICQ หลักของหน่วยงานให้ได้
  • บันทึกลงแบบฟอร์ม : หลังจากที่ได้ ICQ ของหน่วยงานแล้ว ก็ทำการออกแบบระบบควบคุมภายใน โดยกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มที่มีอยู่แล้ว เช่น แบบ ปย. 1 ปย. 2 ปย. 2-1 แบบ ปม. เป็นต้น
  • องค์ประกอบการออกแบบระบบควบคุมภายใน (จาก Slide คุณแต้ว)

 

 

ช่วงท้ายมอบของที่ระลึก


ขอขอบคุณ

  • วิทยากรทั้งสองท่านจากหน่วยตรวจสอบภายใน มมส.
  • คณะกรรมการควบคุมภายใน CARD
  • ผู้จัดทำของที่ระลึก (คุณศิริพร พร้อมจันทึก)
  • ภาพนิ่ง (คุณขวัญชัย ศิริสุรักษ์ และคุณปิยะศักดิ์ สีหนาท)
หมายเลขบันทึก: 88612เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2007 04:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ขอบคุณพี่วิชิต วิทยากรจากตรวจสอบภายใน ที่ทำให้ทราบว่าที่จริงแล้ว "ตรวจสอบภายใน" มันไม่ใช่แค่เรื่องเงิน ซึ่งเข้าใจมาโดยตลอดว่า มันเกี่ยวกับเงินอย่างเดียวเลย
  • แวะมาเยี่ยมเยือน ตามประสาคนคุนเคยกัน
  • สิ่งที่ได้จากการไปCARDในครั้งนี้คือความประทับใจในวัฒนธรรมการทำงานไว้วันหลังจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
  • และขอบคุณสำคัญการต้อนรับที่อบอุ่นค่ะ

KM เข้มข้น ...กับคนคุ้นเคย

ขอบคุณ...

P
  • ดีใจที่เห็นวันนี้ครับ
  • เป็นตัวอย่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานใน มมส. ที่ผมอยากจะให้เกิดระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นครับ
  • ขอบคุณ คุณวิชิต และ คุณแต้ว ที่เริ่มสิ่งดี ๆ

ขอบคุณ

P

ที่ให้กำลังใจด้วยดีเสมอมาครับ

ผมพบบางสิ่งที่น่าจะนำไปปรับใช้กับ มมส. ...เพียงแต่ยังไม่มีการจุดไฟ...แห่งความสำเร็จ ตรงนี้เพื่อกระจาย Best Practice

อันที่จริง...ผมอยากเริ่มมานานแล้วครับ ...รอให้โอกาสอำนวย จึงได้มีวันนี้เกิดขึ้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท