ยุทธศาสตร์การดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน


ภาษาไทยครับ

 

ยุทธศาสตร์ในการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

        ปัจจุบันเบาหวานถือเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ซึ่งผู้ที่มีอาการชาเปรียบได้เสมือนการก้าวเข้าสู่ประตูของการตัดขา การเพิ่มอุบัติการณ์ของผู้เป็นเบาหวานอย่างรวดเร็วในปัจจุบันนี้สามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการเพิ่มการตัดขาได้เช่นกันเพราะต้องยอมรับว่าการตัดขาเกือบทั้งหมดในปัจจุบันมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยจะเริ่มเป็นแผลก่อนแล้วจึงนำพาไปสู่การตัดขาหรือบางส่วนของเท้า ดังนั้นการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าถือเป็นยุทธศาสตร์ในการป้องกันการตัดขาสำหรับประชากรในกลุ่มเสี่ยงได้

ยุทธศาสตร์สู่ความเป็นเลิศในการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

1.   ต้องมีการตั้งคลินิคเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

        เพื่อให้มีความชัดเจนของการทำงาน และเจาะจงในการดูแลแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ เป็นช่องทางที่ให้ผู้ป่วยง่ายต่อการเข้าถึงการรับบริการ นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาบุคลากรทางสาธารณสุขของประเทศไทยให้มีความเข้าใจการดูแลเท้า  โดยบทบาทหลักของคลินิคคือเน้นในการเพิ่มความตระหนักกับผู้ป่วยในการระวังการเกิดแผล, การดูแลตนเองขณะเป็นแผล,  , ระแวดระวังการเกิดแผลซ้ำ

2.การตั้งมาตรฐานการดูแลแผล (establish C.P.G. of DM wound management)

       ตั้งมาตรฐานเบื้องต้นของการดูแลเมื่อผู้ป่วยเป็นแผลที่เท้ามารับบริการ เช่น   

    ทำความสะอาด อันดับแรกควรทำความสะอาดแผลให้สะอาดด้วยน้ำเกลือสะอาด(Normal Saline) เนื่องจากเนื้อเยื่อของแผลค่อนข้างอ่อนแอ แล้วจึง Dressing โดยใช้น้ำยาที่เหมาะสมกับสภาพแผล  แต่ถ้าหากมีหนังแข็งบริเวณขอบแผลหรือเนื้อตายจำเป็นต้องขูด (Trim callus around the wound) หรือทำ Debridment ก่อน  

   มีการบันทึก ขนาด และจำแนกชนิดของแผล(Classification)เพื่อใช้ในการประเมินความก้าวหน้าของการรักษา

   การไม่ให้แผลมีการลงน้ำหนัก หลักการรักษาแผลเบาหวานคือต้อง ไม่ให้มีแรงกดที่บริเวณแผลอย่างเร่งด่วน (ผู้ป่วยเท้าชาสามารถเหยียบแผลโดยไม่รู้สึกเจ็บ เป็นสาเหตุที่ทำให้แผลหายช้า) วิธีการเช่น การเข้าเฝือก(Total contact Casting) วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด สามารถทำให้แผลหายได้ถึง 85%

cast

 casting

   การออกแบบรองเท้าพิเศษและ เครื่องช่วยพยุงต่างๆ ที่จะสามารถลดแรงกดที่แผลได้เวลาเดิน อาทิเช่น รองเท้าที่มี metatarsal bar สามารถลดแรงกดฝ่าเท้าส่วนหน้าได้ ดังรูป <p> DM shoe </p><p> </p><p>    การผ่าตัด</p><p>        การรักษาแผลด้วยการผ่าตัด จะเป็นข้อบ่งชี้ในกรณีที่มีความผิดรูปต่างๆ(Deformities) เช่น </p><p>การรักษาแผลด้วยการผ่าตัด(Therapeutic surgery) </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 18pt" class="MsoNormal">นิ้วเท้าจิกงอ(Claw toe or Hammer toe) มักจะส่งผลให้เกิดแผลที่ปลายนิ้วผู้ป่วยเนื่องจากแรงกด (Pressure) จากการจิกนิ้วกับพื้น การตัดเส้นเอ็น long Flexor digitorum เพื่อให้นิ้วเหยียดออก เป็นวิธีหนึ่งในการรักษาแผล</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 18pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 18pt" class="MsoNormal"></p>tenotomy <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 18pt" class="MsoNormal"></p><p>การผ่าตัดเพื่อทำให้สภาพแผลดีขึ้นแผล</p><p>    Complicated ulcer หรือแผลที่ลึกถึงกระดูก จนมีกระดูกติดเชื้อ (osteoitis) จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อนำโครงสร้างที่ติดเชื้อออกไปก่อน เพื่อเตรียมสภาพแวดล้อมที่แผลจะสามารถหายได้</p><p>การผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิดแผล (Preventive surgery)</p><p>   กรณีที่มีปุ่มกระดูกยื่น (Bony prominence) อันส่งผลให้เกิดแรงกดมากเป็นพิเศษ อาจส่งผลให้เกิดแผลหรืออาจเกิดแผลซ้ำในบริเวณที่เคยเป็นแผลจากสาเหตุดังกล่าว และยังถือว่าเป็นการไม่ให้แผลลงน้ำหนักอีกวิธีหนึ่งอีกด้วย</p><p>   การผ่าตัดเพื่อแก้ไขโครงสร้างเท้า(Reconstructive surgery)</p><p>      ผู้ป่วยเท้าชาสามารถเดินจนกระดูกเท้าหักได้ แม้กระนั้นก็ยังไม่หยุดเดินส่งผลให้ เกิดเท้าผิดรูปอย่างรุนแรงเช่น Charcot foot, Bone disorganization เป็นต้น จึงจำเป็นที่ต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อ ให้เท้ากลับคืนสู่โครงสร้างปกติ</p><p>3. การจัดหารองเท้าเพื่อการป้องกันแผล</p><p>       เป็นส่วนสำคัญของการดูแลรักษาเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจำเป็นต้องใส่รองเท้าเพื่อป้องกันตลอดชีวิต รองเท้าที่ดีต้องมีพื้นสัมผัสที่นุ่ม, มีพื้นที่เพียงพอสำหรับนิ้วเท้า, พื้นรองเท้ากว้างป้องกันข้อเท้าพลิก, สามารถปรับได้, สวมใส่พอดีไม่คับหรือหลวม รูปแบบเหมาะสม ทั้งราคาและน้ำหนัก</p><p>      อย่างไรก็ตามประสบการณ์ผู้ป่วยเกี่ยวกับรองเท้า เป็นสิ่งที่สำคัญ และช่วยให้ผู้ป่วยตัดสินใจได้ว่า รองเท้าแบบใดที่ดีกับเท้า การออกแบบที่เหมาะสมจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมด้วย </p><p>    </p><p>             บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ อ.สมเกียรติ มหาอุดมพร จากสถาบันราชประชาสมาสัย บรรยายที่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับเชิญจาก Dr. Shigeo Kono จากKyoto Medical center  โดยเป็นการจัดงานร่วมกับองค์กรอนามัยโลก(WHO) เพื่อหาแนวทางการทำงานเกี่ยวกับการวางแนวทางการรักษาที่ถูกต้องและการให้ความรู้กับผู้เกี่ยวข้อง ในเรื่องการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก </p><p> </p><p> </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 88447เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
รุ่งศักดิ์ ศิรินิยมชัย

ขอบคุณมากครับที่ช่วยนำมาเผยแพร่ อยากกลับไปเทพธารินทร์อีกครั้งครับ

 

เนื้อหาดีมากเลยติดตามตลอด

มีCase อยากขอคำแนะนำจากผู้รู้ทุกท่าน

 

ป๋าแนนถ้าเห็นข้อความนี้รบกวนลงภาพลักษณะของแผลที่เกิดที่เท้าตามจุดที่พบบ่อยและแนวทางในการปฏิบัติ +รูปแบบของการวัดเท้าเพื่อรอการใส่รองเท้า..จะได้นำไปประกอบกับ case ที่พบ

สาระดีมากค่ะ ตอนนี้ดิฉันก็กำลังติดตามผู้ป่วยเบาหวานมที่มีปัญหาเกี่ยวกับเท้าพอดี

เยี่ยมมากเลยค่ะ...อยากได้แบบประเมินแผลด้วยอะ ทำไงดี ตอนนี้น้องแนนยังอยู่สรปสหรือเปล่าเนี่ย ไม่เห็นหน้าเลย..คิดถึง

ขอขอบพระคุณอ.สมเกียรติ และ อาจารย์ทุกๆท่านที่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำรองเท้าเบาหวาน กระผมนายบรรพจน์ ลุนชนะ โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีจะไม่มีวันลืมพระคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท