(บันทึกเมื่อ 3 มกราคม 2004)
มีโอกาสอ่านหนังสือของ Dr. Paul Pearsall เรื่อง Beethoven Factor เป็นหนังสือที่ดีมากเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมรู้จักจิตวิทยาแขนงใหม่ที่เรียกว่า Positive Psychology
จิตวิทยาแขนงนี้จะเน้นให้ความสนใจทาง Salutogenic
Salutogenic = คือการอ้างอิงถึง มุมมอง(point of view) ที่มองหาพลังหรืออะไรที่ทำให้เราเข้มแข็งหรือความต้านทาน (strenghts) และมุ่งทำความคิดนั้นๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด (focus on maximizing)
ตรงนี้มันนาจะเปรียบได้กับการมอง น้ำดีกับน้ำเสีย จิตวิทยาแนวเดิม (หรือในแนวตะวันตก) จะพยายามแสวงหาจุดที่เป็นปัญหาแล้วแก้ ก็เหมือนกับการที่พยายามจะหาแหล่งน้ำเสียแล้วพยายามบำบัด แต่ positive psychology ก็มองว่าลองหยุดแล้วพยายามมองดูความเป็นจริงของโลก มีคนที่เกิดปัญหาเดียวกันแต่กลับไม่เป็นป้ญหาทางจิตแสดงว่าบุคคลเหล่านั้นต้องมีจุดแข็ง (strength)อะไรสักอย่างที่ช่วยเป็นภูมิคุ้มกัน ลองมามองย้อนกลับไป จริงๆแล้วการบำบัดน้ำเสียมันยาก มาลองใช้น้ำดีไล่น้ำเสียคือการใส่ (strength) ในคนที่มีปัญหาแทนดีกว่า
positive psychology จึงเป็นศาสตร์ที่ศึกษาอะไรที่จะสามารถเป็นภูมิคุ้มกันทางจิต
ในหนังสือเล่มนี้ Dr. Paul ได้ยกย่อง พระพุทธเจ้า ว่า เป็น บิดา ของ Positive Psychology
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ณรินทร์ เจ. ใน Thinking Out Loud
สวัสดีค่ะคุณ นาย ณรินทร์ เจริญทรัพยานนท์