สุขภาพคนไทย-คนเอเชีย


วารสารสรรสาระ (Reader’s Digest) สำรวจสุขภาพคนเอเชียมากกว่า 24,000 คนจากไทย ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไต้หวัน

Hiker

วารสารสรรสาระ (Reader’s Digest) สำรวจสุขภาพคนเอเชียมากกว่า 24,000 คนจากไทย ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไต้หวัน

การสำรวจนี้ทำผ่านการกรอกแบบสอบถาม... ผู้ตอบคำถามเป็นผู้ชาย 45% ผู้หญิง 55% อายุเฉลี่ย 47 ปี (มากกว่าผู้เขียนตั้งปีกว่าๆ) จบปริญญาตรี 60%

ผลการสำรวจสุขภาพคนเอเชียพบว่า คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะกังวล หรือ "เป็นกังวลค่อนข้างมาก" กับโรคมากกว่า "เป็นโรค" จริงๆ เสียอีก (ตารางที่ 1)

    ตารางที่ 1:    

แสดงคนเอเชียที่เป็นโรค และคนที่ "เป็นกังวลค่อนข้างมาก" กับโรค

โรค

คน "เป็นโรค"

คน "เป็นกังวล"

ความดันเลือดสูง

59.9

65.3

คอเลสเตอรอลสูง

44.1

62.0

ปัญหาการมองเห็น

40.1

41.4

ปัญหาน้ำหนักตัว/โรคอ้วน

39.7

45.5

เบาหวาน

37.4

60.5

ข้อเสื่อม

36.2

35.3

นอนไม่หลับ/ปัญหาการนอน

28.9

26.3

กระดูกพรุน

20.2

36.0

ซึมเศร้า

12.9

22.2

มะเร็ง

11.9

46.4

ตับอักเสบ

7.8

31.6

 

ข่าวดีอย่างหนึ่งคือ อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่พบมากในปีที่ผ่านมานั้น... เราๆ ท่านๆ อาจจะนึกว่า เราป่วยอยู่คนเดียว

จริงๆ แล้ว... คนส่วนใหญ่มีอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ด้วยกันทั้งนั้น (ตารางที่ 2)

    ตารางที่ 2:    

แสดงอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่พบมากในปีที่ผ่านมา

โรค

คนที่เป็นกังวล (%)

ไอ หวัด เจ็บคอ

68.5

ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ

57.9

ปวดหัว

51.9

ปัญหาช่องปาก ฟัน

41.1

โรคผิวหนัง

35.7

เครียด

29.9

ภูมิแพ้

28.0

อ่อนเพลีย

27.1

อาหารไม่ย่อย

26.6

โรคกระเพาะฯ

21.9

ท้องผูก

21.0

 

ผลการสำรวจสุขภาพคนไทยพบว่า คนไทยไปตรวจร่างกายทุกปี 60% สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของคนเอเชีย ซึ่งอยู่ที่ 48%

คนไทยเป็นโรคความดันเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูง เบาหวาน และมีปัญหาน้ำหนักตัว หรืออ้วนพอๆ กับคนเอเชีย

ข่าวดีคือ คนไทยเป็นโรคซึมเศร้า และโรคเครียดน้อยกว่าคนเอเชีย (ตารางที่ 3)

    ตารางที่ 3:     

แสดงคนไทยที่เป็นโรค และคนที่ "เป็นกังวลค่อนข้างมาก" กับโรค

โรค

คน "เป็นโรค"

คน "เป็นกังวล"

ความดันเลือดสูง

54.0

66.7

คอเลสเตอรอลสูง

46.4

70.6

ปัญหาการมองเห็น

31.4

39.8

ปัญหาน้ำหนักตัว/โรคอ้วน

39.9

49.3

เบาหวาน

35.9

64.1

ข้อเสื่อม

33.1

37.4

นอนไม่หลับ/ปัญหาการนอน

29.4

24.8

กระดูกพรุน

15.9

40.7

ซึมเศร้า

7.2

14.9

มะเร็ง

11.5

52.4

ตับอักเสบ

7.8

32.1

 

ข่าวที่คงจะไม่เป็นข่าวดีสำหรับคนไทยคือ คนเอเชียที่คิดว่า อาจจะต้องเดินทางไปรักษาโรคต่างประเทศมีเกือบร้อยละ 30

ท่านที่ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า อาจจะต้องเดินทางไปรักษาโรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจต่างประเทศ

ประเทศยอดนิยมที่คนเอเชียจะเดินทางไปรักษาโรคกลับไม่ใช่ประเทศไทย (ตารางที่ 4)

    ตารางที่ 4:    

แสดงประเทศยอดนิยมที่คนจะเดินทางไปรักษา

ประเทศ

ร้อยละ (%)

สหรัฐอเมริกา

80.0

สิงคโปร์

43.6

ยุโรป

38.3

จีน

18.0

ฮ่องกง

12.8

ไทย

10.8

 

อาจารย์ดอกเตอร์เจสัน ซี. เอช. ยัพ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการสุขภาพ การท่องเที่ยวสิงคโปร์กล่าวว่า

โรงพยาบาลในสิงคโปร์มีความก้าวหน้าทางการแพทย์และเทคโนโลยี มีคดีอาชญากรรมน้อย มีความปลอดภัยสูง มีการยอมรับความแตกต่างด้านศาสนา-วัฒนธรรม และมีความปลอดภัยในการให้เลือด

ทีนี้มาดูว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วเอเชียทำอย่างไร เพื่อให้สุขภาพดีขึ้น ผลการสำรวจปรากฏดังตาราง (ตารางที่ 5)

    ตารางที่ 5:     

แสดงแนวทางที่คนเอเชียใช้รักษาสุขภาพ

แนวทาง

ร้อยละ (%)

กินผัก ผลไม้มากขึ้น

82%

กินวิตะมิน หรืออาหารเสริม

60%

ออกกำลังเพิ่มขึ้น

50%

ลด ละ หรือเลิกสูบบุหรี่

11%

 

ข่าวดีคือ คนไทยลด ละ หรือเลิกสูบบุหรี่ในปีที่ผ่านมาสูงที่สุดในเอเชีย คือ 14% เรื่องนี้น่าอนุโมทนาสาธุกับคนไทยจำนวนมากที่มีส่วนในการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่...

ปีนี้เป็นปีที่รัฐบาลประกาศห้ามโฆษณาเหล้า เบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งน่าจะมีส่วนช่วยลดป้องกันอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ และการทำร้ายคนอื่น เช่น คนในครอบครัว ฯลฯ

                        

คำกล่าวที่ว่า "บุหรี่ทำร้ายคนรอบข้าง เหล้าทำร้ายสังคม" น่าจะเข้ากับสังคมไทยได้ดี เพราะคนไทยมักจะ "เมาแล้วขับ" ทำให้คนอื่นพลอยรับเคราะห์ บาดเจ็บ ล้มตายจากคนเมาปีละมากๆ

ใกล้สงกรานต์ (2550) แล้ว... ขอเรียนเชิญพวกเรามาร่วมกันลด ละ เลิกอาหารประเภท "หวาน มัน เค็ม" เช่น อาหารทอด อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน (fast food) ฯลฯ

                        

เพิ่มอาหารประเภท "เปรี้ยว ขม เผ็ด ฝาด" เช่น ผัก ผลไม้ น้ำพริก ฯลฯ ลดเนื้อลงหน่อย กินปลาสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ดื่มน้ำให้มากพอทุกวัน ออกกำลัง

และช่วยกันลด ละ เลิกเหล้า เบียร์ ไวน์ บุหรี่... เพื่อสุขภาพของพวกเรา และเพื่อช่วยชาติประหยัดค่ารักษาพยาบาลครับ...

    แหล่งที่มา:    

  • ขอขอบพระคุณ > สรรสาระ (Reader’s Digest) > www.readersdigest.co.th > ฉบับ 03/07 > มีนาคม 2550. H1-16.
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ IT + พต.ศรัณย์ มกรพฤฒิพงษ์ โร > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และคุณเบนซ์(ชื่อรวย ตัวจริงไม่รวย) IT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. จัดทำ > ๒ เมษายน ๒๕๕๐.
  • บ้านสาระ > [ Click - Click ] 
หมายเลขบันทึก: 88043เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2007 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณอาจารย์วัลลภ สำหรับประเด็นที่สำคัญ "ผู้ป่วยไม่ได้ป่วยคนเดียว"

มีขบวนการกลุ่มที่เรียกว่า "Self help group" เป็นกระบวนการกลุ่ม ที่เน้นการช่วยเหลือกัน ของสมาชิกกลุ่ม โดยให้สมาชิกคนหนึ่งพูดถึง สิ่งที่ตนเองไม่สะบาย และความรู้สึกของตน เกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่  แล้วให้สมาชิกกลุ่มเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหา ในแง่มุมต่างๆ กัน

มีการศึกษาการใช้กระบวนการนี้้ ในผู้มีผื่นสะเก็ดเงิน แต่ยังไม่ทราบผลการวิจัยครับ

หมอสุข 

 

ขอขอบพระคุณอาจารย์หมอสุขและท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • กระบวนการ "เพื่อนช่วยเพื่อน" คงจะมีในหลายๆ วิชาชีพ และคนไข้หลายๆ โรค

การที่คนมีโรคมาพบกัน...

  • ข้อความในพระพุทธศาสนามีตอนหนึ่งกล่าวว่า เวลาที่เกิดโรคระบาด... คนเรามีโอกาสไปเกิดในสุคติ (เทวดาหรือมนุษย์) สูงกว่าเวลาเกิดการตายหมู่ด้วยเหตุอื่นๆ เช่น สงคราม ฯลฯ
  • สาเหตุคือ เวลาเกิดโรคระบาด... คนหมู่มากมาป่วยโรคคล้ายๆ กัน เกิดเมตตา(ปรารถนาให้ตนเอง + สัตว์อื่นเป็นสุขป หรือเกิดกรุณา(ปรารถนาให้ตนเอง + สัตว์อื่นพ้นทุกข์ / บรรเทาทุกข์จากโรค)

ปรากฏการณ์...

  • ปรากฏการณ์นี้คงจะคล้ายกันกับการที่คนไข้มารวมกันเป็นกลุ่ม "เพื่อนช่วยเพื่อน" ครับ
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท