การพัฒนาบุคลากร กศน.ประจำปีงบประมาณ 2550


กรอบแนวคิดสำคัญการพัฒนา

กระบวนการพัฒนาบุคลากรประจำปีงบประมาณ 2550

ยุทธ์ศาสตร์ที่ 5 : การปรับระบบบริหารเพื่อมุ่งบริการที่มีคุณภาพ        

กรอบแนวคิดสำคัญในการพัฒนาบุคลากร      

1) ทำอย่างไรให้การพัฒนาและฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ (Training Efficiency)

- มีมาตรฐาน (Standard)

- มีความน่าเชื่อถือ (Reliability)

- มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (Flexibility)

2) ทำอย่างไรให้คนมีความสามารถเพิ่มขึ้น (Employees Competent)

3) ทำอย่างไรให้คนสามารถเพิ่มผลงานให้องค์กร (Business Performance)

เงื่อนไขการพัฒนา                                                

1) มติคณะรัฐมนตรีให้ข้าราชการทุกคนต้องได้รับการพัฒนาอย่างถ้วนทั่ว

2) การพัฒนาอย่างน้อยต้อง 10 วัน : คน : ปี งบประมาณในการพัฒนา 3% ของเงินเดือน

3) การพัฒนาต้องสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ 5 ประการ คือ      

- หลักธรรมาภิบาลและระบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

- แนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

- สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการศึกษา

- การจัดการความรู้

- การบริหารการเปลี่ยนแปลง

วิธีการพัฒนา

ตอนนี้กำลังเร่งจัดทำหลักสูตรการพัฒนา โดยดำเนินการหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้สนองตอบเป้าหมาย

1) ปลุกจิตสำนึก พัฒนากระบวนการคิด สร้างทัศนคติ และค่านิยมที่ดีต่อองค์กร

2) พัฒนาประสิทธิภาพ ทักษะ ความชำนาญในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กรในทิศทางเดียวกัน

3) เสริมสร้างให้มีการพัฒนาตนเอง (Self-Development)

วิธีการบริหารจัดการ

1)       หลักสูตรผู้บริหาร สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร รับผิดชอบดำเนินการ

2)       หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน ครู บรรณารักษ์ ศึกษานิเทศก์ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคทั้ง 5 แห่ง รับผิดชอบดำเนินการ

3)       หลักสูตรข้าราชการส่วนกลาง กลุ่มการเจ้าหน้าที่ รับผิดชอบดำเนินการ

4)       หลักสูตรเฉพาะ ข้าราชการ ศว. / ศท.     ศว./ศท.ดำเนินการพัฒนาเอง

5)       หลักสูตรเฉพาะ กลุ่ม ศวจ. ต่าง ๆ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ รับผิดชอบดำเนินการ

สมาชิก กศน. ทุกท่านอดใจรอ อีกนิด ทราบแล้วกระจายข่าวต่อไปด้วย และเตรียมตนเองให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อเข้ารับการพัฒนา ขอบคุณในความร่วมมือคะ

 

หมายเลขบันทึก: 87916เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2007 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  •  เป็นเรื่องที่ใหม่ทันสมัยสำหรับ กศน.มากๆเลยครับ ทุกคนจะได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน จะเป็นซีเล็กซีน้อยปานใดก็ตาม แต่แนวคิดใหม่นี้ไม่ละเลย มองว่าทุกคนว่าคือส่วนหนึ่งขององค์กร
  • อยากให้ข้อมูลออนไลน์ บล็อกของเจ๊แอ๊วนี้เสริมข้อมูลหนังสือราชการที่อาจารย์จะส่งตามทีหลังจะดีมากๆครับ หากเป็นไปได้ท้ายหนังสือราชการอาจารย์จะได้บอกว่าอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากhttp://gotoknow.org/blog/toomtip ก็จะเป็นการปลุกคน กศน.ให้มาสนใจการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางบล็อกกันมากขึ้น ตอนนี้คนที่เขียนบล็อกอยู่แล้วจะได้เปรียบ ทราบข่าวก่อนใครเพื่อน โดยเฉพาะที่นครศรีธรรมราชมีบล็อกเกอร์มากมาย และเสน่ห์ที่สำคัญของข้อมูล/ความรู้ในบล็อกคือสิ่งที่พูดและเขียนไม่ได้ในแบบทางการ ก็จะมาบอกเล่ากันในบล็อกนี้ คงจะเสริมความเข้าใจข้อมูลที่เป็นทางการแบบแห้งแล้ง ให้มีชีวิตชีวาขึ้นด้วยเรื่องเล่าในบล็อก
  • ทุกหลักสูตรสำหรับข้าราชการทุกระดับจะต้องทำการอบรมอย่างจัดการความรู้ แยกการจัดการความรู้ออกจากงานไม่ได้ครับ ต้องมองให้เห็นปลาทู ( TUNA MODEL ) ปลาทูตลอดทั้งตัว ทั้งส่วนหัว ส่วนกลางลำตัว และส่วนหางในงานต่างๆ ถ้าจะอบรมจนผู้เข้ารับการอบรมเห็นได้มากกว่าหนึ่งตัวคือมองเห็นได้ทั้งฝูงก็จะเยี่ยมมากเลยครับ
  • ต้องสร้างกลไกต่อเนื่องหลังจากอบรมเสร็จว่าจะจัดให้มีวงแชร์ประสบการณ์ เทคนิคการทำงานให้สำเร็จ เคล็ดลับ เคล็ดวิชากันอย่างไรในวงย่อย - ใหญ่ ทุกหลักสูตรที่จะทำการอบรม แบบ ATM หรืออบรมในงาน on the job training กำหนดการพบกลุ่มในแต่ละวงเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่จบสิ้นเมื่อวันสุดท้ายของการอบรม
  • ผมเชื่อว่าถ้าอบรมกันอย่างนี้เราจะยังประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายได้แน่นอน หนึ่งอำเภอหนึ่งวิธีสอนก็ดี ห้องสมุดมีชีวิตก็ดี การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ก็ดี การเทียบระดับการศึกษาก็ดี ตำบลนำร่องในเรื่องยกระดับปีการศึกษาเฉลี่ยประชากรวัยแรงงานก็ดี ทักษะชีวิต พัฒนาอาชีพ การศึกษาชุมชน ฯลฯ ใช้กระบวนการของการจัดการความรู้ ไม่แยกส่วนอย่างนี้จะได้ประโยชน์อย่างแน่นอน
  • ขอบคุณครับ หยุดก่อนนะครับ ยาวมากไปแล้ว
  • มาต้อนรับเจ๊แอ้วสู่บ้าน G2K ครับ
  • รับทราบ จะกระจายข่าวต่อไป ไม่ต้องห่วงนะเจ๊

สวัสดีค่ะครูนง

  • ขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะครูนง สำหรับแนวความคิดในการพัฒนาเจ๊จะ print แนวความคิดนี้ไปเสนอกรรมการบริหารหลักสูตรด้วย
  • ;การแชร์ความคิดเห็นอย่างนี้เจ๊ว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่ผู้เข้ารับการพัฒนาจะได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นจัดทำหลักสูตร แต่ปัญหาที่จะต้องประสบ คือ ทำอย่างไรจะให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำหลักสูตรเข้าใจ/เห็นความสำคัญและนำกระบวนการการจัดการความรู้เข้าไปอยู่ในกระบวนการพัฒนาอย่างไม่แยกส่วน   ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายท่านไม่เข้าใจในเรื่องของการจัดการความรู้ เมื่อคิดทำหลักสูตรจึงเป็นการคิดแยกส่วน คนส่วนใหญ่คิดว่าการจัดการความรู้ คือ การจัดการเอกสารความรู้ทางวิชาการแล้วนำมาเผยแพร่ติดบอร์ดก็เรียบร้อยแล้ว
  • ทำไงดีล่ะ...ครูนงช่วยคิดต่อและแนะนำวิธีการที่แยบยลด้วยนะคะ
  • แนวความคิดในการที่จะทำให้การพัฒนาดำเนินไปอย่างต่อเนื่องที่คิดไว้ประการหนึ่ง คือ การจัดตลาดนัดความรู้ กะไว้ว่าจะนัดกันที่สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร เพื่อเสริมสร้างให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่องภายหลังจากได้รับการพัฒนาแล้ว และเป็นการกระตุ้นเตือนให้เห็นความสำคัญ เห็นพลังใน การนำเรื่องการจัดการความรู้มาแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานเพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ครูนงต้องเป็นหัวแรงสำคัญนะคะ

สวัสดีค่ะท่าน ดร.ดิศ

  • แอบมาให้กำลังใจคนแก่ ขอบคุณมาก
  • ช่วยกระจายข่าวอย่างเดียวยังไม่พอท่านดิศ  ต้องช่วยกันทำหลักสูตร เพราะศนภอ.           เป็นเสาหลักสำคัญในการจัดทำหลักสูตร
อ.แอ๊วเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆของบุคคลเรียนรู้นะคะ ขอมายกนิ้วให้ (จะไปให้กำลังใจในบันทึกแรกก็ย้าว ยาวแล้ว เลยมาให้ตรงนี้ดีกว่านะคะ) และตามมาส่งกำลังใจให้เต็มๆเลยค่ะ นโยบายและแผนงานยอดเยี่ยมจริงๆค่ะ
ที่สถาบันฯสิรินธร กะลังเตรียมวางแผนเรื่องแบบสอบถามความต้องการอบรมของผู้บริหารแล้วนะ..... หลังจากทราบว่า เจ๊กะลังจะโอนเงินให้.......

สวัสดีค่ะน้องรัฐ

  • นัดหมายมาเลยจะ

ท่านรองรัฐเขต และเจ๊แอ๊ว

             แบบสอบถามความต้องการอบรมไม่ว่ากลุ่มเป้าหมายใดก็ตาม น่าจะประมาณว่า theme ของผู้เข้ารับการอบรมคนนั้น ประสงค์จะนำอะไรเข้ามาแลกเปลี่ยน หนึ่งอำเภอหนึ่งวิธีสอน หรือเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ หรือทักษะชีวิต หรือพัฒนาอาชีพ หรือการอบรม หรือค่ายนักศึกษา ฯลฯ ผู้บริหารก็มองในมุมของคุณเอื้อ เอื้อหรือหนุนเสริมกลไกเชิงระบบในสิ่งนั้นให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างไร ครู จนท.ก็มองในมุมของคุณอำนวยหรือคุณกิจแล้วแต่ว่าบทบาท ณ ขณะนั้นเขาเป็นอะไร พกพาความรู้ ประสบการณ์ เคล็ดลับ เทคนิคการทำงานไปด้วยกันทั้งนั้น ไม่ใช่จะไปรับความรู้จากวิทยากรอย่างเดียว เป็นการอบรมที่ยึดโยงกับงานที่ทำจริงๆ ถ้าเป็นอย่างนี้จะไม่มีใครแย่งผลงานใคร แต่จะมีแต่บรรยากาศของการทำงานเป็นทีมช่วยกันทำงานในฟังชั่นของตนเองให้ดีที่สุดเพเอบรรลุเป้าหมายอันเดียวกัน

          เข้ามาแจมๆครับ

สวัสดีค่ะครูนง

  • เป็นแนวคิดที่ดีมากค่ะขอน้อมรับและจะลองเสนอผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดูค่ะ
  • สถาบันฯควรจะเชิญครูนงมาร่วมประชุมด้วยทราบแล้วดำเนินการด่วน
  • ครูนงจะได้หลวมตัวเข้ามาแจมๆๆๆๆ อย่างเต็มตัวและเต็มร้อยจะได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกแล้วช่วยกันแก้ปัญหาต่อไป

                                                             ขอบคุณค่ะ

รับทราบครับ  จะเตรียมการไว้ ส่วนกำหนดจะคุยกับเจ๊ ตอนนี้กำลังรอท่าน ผอ.กลับมาจากภาคใต้ครับ จะได้หารือกันอีกครั้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท