เปรียบเทียบสัญญายืมใช้คงรูปกับสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง


กฎหมายลักษณะยืม

สัญญายืม

(Loan) 

เป็นสัญญาซึ่งมีคู่กรณีเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ยืม ส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ยืม เพื่อใช้สอยทรัพย์สินนั้น และผู้ยืมตกลงว่าจะส่งคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว 

ลักษณะของสัญญา

.สัญญาเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย ซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป เพื่อต้องการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ก่อสิทธิและหน้าที่ผูกพันกันเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้  ( ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๔๙ )

.สัญญาจะเกิดขึ้นเมื่อคู่กรณีแสดงเจตนาเป็นคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน
.สัญญาต้องมีวัตถุประสงค์ และเป็นวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ( ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๐ )
.สัญญาที่จะสมบูรณ์ตามหลักแห่งนิติกรรมนั้น คู่สัญญาจะต้องมีความสามารถตามกฎหมาย มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆียะ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา ๑๕๓ )ยืม เป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ยืมส่งมอบทรัพย์สินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า   ผู้ยืมเพื่อให้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นได้ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วผู้ยืมส่งคืนทรัพย์สินให้เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว
               
ลักษณะของสัญญายืม 

. สัญญายืมเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่ง

.เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน กล่าวคือ เป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดหน้าที่แก่คู่กรณี ฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว คือฝ่ายผู้ยืมที่ต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมให้แก่ผู้ให้ยืม
. เป็นสัญญาที่บริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม ( มาตรา ๖๔๑และ ๖๕๐ วรรคสอง )                สัญญายืมมีลักษณะเฉพาะของสัญญา ตรงที่อาศัยการส่งมอบทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาเพื่อความสมบูรณ์ ( conplete) ในการทำสัญญา หลักในเรื่องนี้ปรากฏในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา๖๔๑ และมาตรา ๖๕๐ วรรค ๒ ที่บัญญัติว่า การให้ยืมใช้คงรูป ท่านว่าย่อมบริบูรณ์ เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม และสัญญาให้ยืมใช้สิ้นเปลืองนั้น ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม แสดงให้เห็นว่าสัญญายืมที่สมบูรณ์ อันจะมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมาย ย่อมเกิดขึ้นจากการกระทำที่แยกออกได้เป็นสองส่วนคือ ส่วนที่ว่าด้วยการแสดงเจตนาที่ตรงกันเพื่อการยืมของคู่สัญญา และส่วนที่เป็นการแสดงออกทางกายภาพคือการได้ส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสัญญาของผู้ให้ยืมต่อผู้ยืม  โดยเหตุนี้แล้วแม้จะได้มีการตกลงเพื่อการยืมระหว่างคู่กรณีเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ยังไม่เกิดผลเป็นสัญญายืม จนกว่าจะได้มีการส่งมอบทรัพย์ซึ่งยืมให้แก่ผู้ยืม เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์ที่ยืม จะทำให้การทำสัญญายืมครบถ้วนบริบูรณ์ เกิดผลเป็นสัญญายืมที่สมบูรณ์ ฉะนั้นจะเห็นได้ชัดว่าการส่งมอบทรัพย์ที่ยืมนั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้อันเกิดจากการตกลงเพื่อการยืมทรัพย์ของคู่สัญญาแต่อย่างใด[1]         

        การทำสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายนั้น แบ่งได้เป็น ๒วิธี คือ

) สมบูรณ์โดยการแสดงเจตนาตกลงกันระหว่างคู่สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย

) สมบูรณ์โดยการทำตามแบบ กล่าวคือ เพียงแต่คู่สัญญาแสดงเจตนาตกลงกันระหว่างคู่สัญญานั้นยังไม่เพียงพอ คู่สัญญาจะต้องทำตามแบบแห่งสัญญาตามที่กฎหมายกำหนดอีกด้วย เช่น ต้องทำเป็นหนังสือ หรือต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น สัญญาเช่าซื้อ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น หากไม่ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด สัญญานั้นจะเป็นโมฆะ ( ดูมาตรา ๑๕๒)  มีปัญหาว่า การส่งมอบทรัพย์เป็นแบบแห่งสัญญายืมหรือไม่ ในเรื่องนี้นักกฎหมายยังมีความเห็นต่างกันอยู่ บางท่านเห็นว่าการส่งมอบทรัพย์เป็นแบบแห่งสัญญา ดังนั้น สัญญายืม ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์ สัญญานั้นก็ไม่บริบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ เป็นโมฆะ เพราะไม่ทำตามแบบ ดังนั้น คำว่า บริบูรณ์ ในสัญญายืมกับคำว่า สมบูรณ์ย่อมไม่แตกต่างกัน    แต่นักกฎหมายบางท่านเห็นว่า การส่งมอบทรัพย์ไม่เป็นแบบแห่งสัญญายืม เนื่องจากมาตรา ๖๔๑ และมาตรา ๖๕๐วางหลักไว้ว่า สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม กฎหมายไม่ได้ใช้คำว่า สมบูรณ์ ดังนั้น สัญญายืมที่ไม่มีการส่งมอบทรัพย์จึงไม่ใช่สัญญาที่เป็นโมฆะ ปัญหาต่อไปที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสัญญายืมบริบูรณ์โดยการส่งมอบ หากคู่สัญญาตกลงทำสัญญาจะให้ยืมโดยยังไม่ส่งมอบทรัพย์ จะทำได้หรือไม่ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันเป็น ๓ แนว คือ

แนวความเห็นที่ ๑เห็นว่า สัญญาจะให้ยืม (หรือคำมั่นจะให้ยืม) จะใช้บังคับตามกฎหมายไม่ได้ เนื่องจากไม่มีการส่งมอบทรัพย์ ดังนั้นไม่ว่าคู่สัญญาจะตกลงกันเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์ก็จะฟ้องศาลบังคับผู้ให้ยืมให้ส่งมอบทรัพย์นั้นไม่ได้

แนวความเห็นที่ ๒เห็นว่า สัญญาจะให้ยืม (หรือคำมั่นจะให้ยืม) น่าจะเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ฟ้องร้องกันได้ เนื่องจากไม่ใช่สัญญายืมซึ่งเป็นเอกเทศสัญญาแต่เป็นสัญญาอีกชนิดหนึ่งจึงอยู่ภายใต้หลักทั่วไปตามบรรพ ๒ คือ สมบูรณ์โดยการแสดงเจตนาตกลงกัน

แนวความเห็นที่ ๓เห็นว่า สัญญาจะให้ยืม (หรือคำมั่นจะให้ยืม) จะใช้บังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ จะต้องดูว่ามีค่าตอบแทนหรือไม่ หากไม่มีค่าตอบแทนก็ใช้บังคับไม่ได้ เช่น นาย ก ยืมหนังสือของนาย ข มาอ่าน โดยไม่ได้ให้ค่าตอบแทน ตกลงกันว่าจะส่งมอบหนังสือให้ในวันรุ่งขึ้น เป็นสัญญาจะให้ยืมโดยไม่มีค่าตอบแทน ใช้บังคับ ไม่ได้ ตราบใดที่นาย ข ยังไม่ได้ส่งมอบหนังสือให้นาย ก นาย ข ก็สามารถเปลี่ยนใจไม่ยอมให้นาย ก ยืมหนังสือได้ และนาย ก จะมาฟ้องร้องให้นาย ข ส่งมอบหนังสือไม่ได้. สัญญายืมเป็นสัญญาซึ่งมีวัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สิน 

โดยสรุปสาระสำคัญของสัญญายืม ได้แก่ 

๑.เป็นสัญญาที่มีคู่สัญญา ๒ ฝ่าย คือ  ฝ่ายผู้ให้ยืม กับฝ่ายผู้ยืม๒.ผู้ยืม ต้องคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้ยืม 

 สัญญายืมแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ 

) สัญญายืมใช้คงรูป) สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง



๑ สุธีร์  ศุภนิตย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วิชาเอกเทศสัญญา ๒ ยืมและฝากทรัพย์, พิมพ์ครั้งที่ ๓ (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๘), น.๘.

 
หมายเลขบันทึก: 87881เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2007 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบ คุณ คร๊ สำ หลับ ความ รู้ ดีดี

จ๊ นำ ไป ใช้ ทำ เป็น รายงาน คร๊

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท