อะไรคือภาวะแห่งความสมดุลย์


เราทุกข์ เพราะเรา ทำอะไรที่ฝืนธรรมชาติ ใช้ความพยายาม หรือทำ หรือคิด เกินขนาดไป

        เมื่อฉันมีความทุกข์ ก็มักจะนึกถึง พี่  เพื่อน น้อง ....และโทรไปปรึกษา....มีพี่คนหนึ่งอยู่ภาคใต้ งานยุ่งมาก ไม่ค่อยมีเวลาคุยกับฉันเท่าไหร่ พอฟังฉันเล่าปัญหาจบ พี่บอกว่า

  ให้ดูลมหายใจ  มันไม่จีรังหรอก เดี๋ยวมันก็หมดไป   โอโอ้พี่... โยนหลักการให้เลย ไม่มีปลอบโยน

ถ้ามันไม่หายเล่า  ฉันพยายามอย่างคนดื้อ

หายซิ ไม่ฝึก แล้วมันจะหายเหรอ   ดุอีกพี่เรา

     ฉันเลือกไปคุยกับน้องนักดนตรี น้องคนนี้เคร่งครัด ศีล 5 มาก หรือบางที มากกว่า 5 ข้ออีก สมัยก่อนน้องก็แต่งเพลงเพื่อชีวิตแบบหวานๆดี ระยะหลังสนใจอ่านหนังสือธรรมะและปฏิบัติก็หันมาแต่งเพลงแนวธรรมะ

แบบใสๆ....

       หลังจากที่ผลัดกันเล่าเรื่องของแต่ละคน ก็คุยกันเรื่อง ฝึกสมาธิ

ผมนั่งสมาธิทุกบ่ายแหละ  แต่ตอนนี้ ผมหาลมหายใจของผมไม่เจอ...

เฮ้ย ขนาดนั้นเลยเหรอ

ก็ไอ้น้องคนหนึ่งมาคุยชวนผมเปลี่ยนวิธี จากตามลมหายใจ ไปเป็นยุบหนอพองหนอ    ผมไม่คุ้น กลับมาทำแบบเดิม

มันเลยตีกัน เดี๋ยววันนี้นั่งใหม่ ทำแบบเดิม

     ฉันก็เคยทำแบบที่พี่บอก น้องบอกอยู่ แต่ว่าประเดี๋ยว สั้นๆ เวลามีงานยุ่งๆก็ลืมตัว ฉันต้องคอยเตือนสติตัวเองอยู่บ่อยเหมือนกัน

บางทีก็มาพิจารณาทุกข์   เราทุกข์ เพราะเรา ทำอะไรที่ฝืนธรรมชาติ   ใช้ความพยายาม หรือทำ หรือคิด เกินขนาดไป

  อะไรคือ ธรรมชาติของเรา 

  อะไรคือ ธรรมดา  

  อะไรคือภาวะแห่งความสมดุลย์

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ความทุกข์
หมายเลขบันทึก: 87490เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2007 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
สมพงศ์ ตันติวงศ์ไพศาล

ท่านพุทธทาส เคยกล่าวว่า

ที่เราทุกข์  ก็เพราะจิตผิดผัสสะ  

ที่เราไม่รู้ทุกข์  ก็เพราะเราโง่ผัสสะ

ที่เราทุกข์ไม่คลาย  ก็เพราะไม่เข้าใจในผัสสะ

ทุกข์ที่แท้  เกิดแต่ผัสสะ

ผัสสะ คือปรากฏรู้  และตัวรู้  ทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  และใจ  ถ้าเราเห็นผัสสะเป็นเช่นนั้นเอง  กิเลสไม่เกิด  ทุกข์น้อยลง  ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องแก้ทุกข์(นิโรจ) ต้องรู้สาเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) สมุทัยเกิดจากตัณหา และกิเลส 

การรู้ทุกข์ เป็นการติดตามทุกข์ แต่ไม่เป็นทุกข์ ติดตามเหมือนการดูวิวทิวทัศน์ทางหน้าต่าง บนรถไฟ  เราทำได้แค่ชม แต่ไม่ปรุงแต่งว่าสวยงาม เขียวดี หรือนาแถวนี้สวยจัง แต่ไม่คิดต่อ เพราะรถไฟวิ่งไปเรื่อย ๆ ภาพที่เห็นทางหน้าต่าง จะไม่หยุด อยู่กับที่ ถ้ารถไฟไม่หยุด 

ดูแค่ดู ไม่คิดต่อ รับทานก็รับทาน เพราะมนุษย์เราต้องกินข้าวกินอาหาร ไม่คิดต่อ ฟังก็ฟังตามสาระ ไม่เสริมให้วุ่นวาย ไม่ติดในรูป รส กลิ่น เสียง โผฐธัพภะ และธรรมารมณ์

เมื่อเราไม่ติด  จิตจะว่าง นาน ๆ ไป จะไม่ทุกข์

การทำสมาธิ หรือกัมมฐาน(หน้าที่ของใจ) มี 2 ชนิด คือ สมถะกัมมฐาน  และวิปัสสนากัมมฐาน

เมื่อต้องการทำจิตให้สงบ ให้นิ่ง ใช้สมถะกัมมฐาน มี 32 ฐาน ตามหลักของโพชฌงค์ ๗

เมื่อต้องการเจริญปัญญา ให้ทำวิปัสสนากัมมฐาน  เริ่มที่การเจริญ สติปัฎฐาน  ๔ (กาย,เวทนา,จิต,ธรรม)

ก่อนที่จะเจริญกัมมฐาน ควรจะดำเนินตาม ไตรสิกขา คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวจ ควรศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าให้เข้าเป็นฐานในการปฏิบัติ  ที่ถูกที่ควร

ไม่ควรปฏิบัติ โดยขาดปริยัติ เพราะจะกลายเป็นฤาษี ชีไพร เสีย เกิดอภิญญา เกิดวะสี แต่ไม่เข้าใจธรรมพื้นฐาน ท่านพุทธทาส  มักสอนธรรม แต่ท่านรู้เรื่องปฏิบัติธรรมด้วย 

เพราะฉะนั้น ถ้าเรายังไม่ประพฤติธรรม แต่ปฏิบัติธรรม ก็จะไม่สมบูรณ์  แต่ถ้าเราประพฤติธรรม แต่ขาดปฏิบัติธรรม เราก็ไม่สมบูรณ์อีกนั่นแหละ เพราะอย่างนี้ จึงต้องเข้าใจทั้งสองอย่างควบคู่กันไป แล้วจะเข้าใจทุกข์

ขอสุคติจงเป็นของคุณตลอดกาลนานเทอญ..............

 

 

พี่พงศ์ หรือเปล่าคะ.....หน่อยเองคะ.......

คำแนะนำนี้ดีจังคะ.......

".....ถ้าเรายังไม่ประพฤติธรรม แต่ปฏิบัติธรรม ก็จะไม่สมบูรณ์  แต่ถ้าเราประพฤติธรรม แต่ขาดปฏิบัติธรรม เราก็ไม่สมบูรณ์อีกนั่นแหละ ...."

   พี่พงศ์และครอบครัว สบายดีนะคะ.....มีโอกาสมาเยี่ยมกันอีกนะคะ
 

ผมเตือนตัวเองด้วยคำว่า "กลับบ้าน" ซึ่งหมายถึง กลับเป็นตัวของตัวเองที่ไม่อยู่ในอารมณ์ที่ขึ้นหรือลงเกินไป เหมือนเวลาเรากลับเข้าบ้านจากงาน บ้านที่อบอุ่น สงบเงียบ

การกลับบ้านของผม คงจะคล้ายๆกับ ภาวะแห่งความสมดุลย์ของคุณดอกแก้วนะครับ 

 

บางทีก็มาพิจารณาทุกข์   เราทุกข์ เพราะเรา ทำอะไรที่ฝืนธรรมชาติ   ใช้ความพยายาม หรือทำ หรือคิด เกินขนาดไป

เผอิญผม เป็นคนชอบการใช้ชีวิตพอดี ๆ  กลาง ๆ   เห็นคน สุข ๆทุกข์ๆ มามาก    ตัวเองมาสังเกตุดู ก็พบว่าเป็น สุข ๆ ทุกข์ เหมือนๆ  คนอื่น (  ทำนอง เรา เป็นเพื่อน ทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น    ครับ  )     เห็นเมื่อวันก่อนได้ ชัยชนะ ฉลองอย่างมีความสุข   วันนี้ล้มไม่เป็นท่า วันก่อนทุกข์แทบขาดใจ วันนี้ สงบสุข ใจ   เอาอะไรแน่กับชีวิตไม่ได้  เลยชอบกลาง ๆ  ไม่ดีใจเกินขนาด ไม่เสียใจฟูมฟาย  กตัญญู  ให้เต็มที่ จะได้ไม่เสียใจวันหลัง   ทำงานตามกำลัง ที่พอเหมาะ   มีความฝัน มีความหวัง แล้วก็ค่อย ๆ เดินไป เรื่อย ๆ

ได้ฟังเพลง Live and learn  ที่ร้องโดยคุณ กมลา สุโกศล แต่งโดยคุณ บอย โกสิยพงษ์  เลยชอบมาก คิดว่าคนแต่งได้แบบนี้ ก็คงผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านสุข ผ่านทุกข์ มามากเหมือนกัน

P

นาย เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี

     "  กลับบ้าน "  คำนี้ น่าสนใจคะ....กลับมาอยู่นิ่งๆ....

เ ดี๋ยวนี้ คุณหมอ ยังเดินจงกลม เป็นวง  อยู่หรือเปล่าคะ

P

หมอจิ้น

เลยชอบกลาง ๆ  ไม่ดีใจเกินขนาด ไม่เสียใจฟูมฟาย  กตัญญู  ให้เต็มที่ จะได้ไม่เสียใจวันหลัง   

..............................................................

   ดีจังคะ  กลางๆ  ดิฉัน ไม่ค่อยกลางๆเท่าไหร่

ต้องฝึกใหม่อีก   เป็นอย่างนี้่ก็ดีนะนะคะ

ประคองตนให้ใจมีที่อยู่ มีที่ลง ที่พักบ้าง 

 

ยังเดินครับ เกือบทุกเช้า แต่เดินคิดเรื่องงานนะครับ มันแล่น..ดี แต่ใจไม่ค่อยสงบเท่าไรครับ

สวัสดีค่ะคุณดอกแก้ว

  •  เริ่มต้นที่ตัวเองก่อนเลยค่ะคุณดอกแก้ว
  • เริ่มจากมองโลกในแง่ดีก่อนค่ะ(แง่ร้ายช่างมันก่อนค่ะ)
  •  ผ่อนคลายตามโอกาสได้ทั้งออกกำลังกายโดยเดินนะค่ะ(อย่าวิ่ง 4 คูณ 100 ก็แล้วกันค่ะ)
  • ทำใจให้สบาย (อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด)
  • กินอาหารเพื่อสุขภาพ (ส่งผลที่ดีต่อร่างกายด้วยค่ะ)
  • ทำใจให้สบาย อย่าให้เดือดร้อนคนอื่น แค่นี้ก็พอค่ะ (เพราะเรายังมีกิเลสอยู่ค่ะ5555)
P

Ranee

  ขอบคุณมากเลยคะ

  มองโลกในแง่ดี....ดีจริงๆคะ

  ทำใจให้สบาย  ก็สบายดีนะคะ หน้าตาไม่ยับ...

  • (อย่าวิ่ง 4 คูณ 100 ก็แล้วกันค่ะ )

 .....................อันหลังนี้ชอบจังคะ

       

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท