ทำงานกับผู้กำหนดนโยบาย


ไม่ว่าจะเป็น การปฏิรูประบบราชการ การมีส่วนร่วม การทำ KM … ทุกกระบวนท่าคงต้องเอามาใช้เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ช่วงเดือนที่ผ่านมา  มีงานให้ประสานกับองค์กรระดับผู้กำหนดนโยบายอยู่หลายแห่งหลายเรื่อง   (อย่าให้ระบุชื่อหน่วยงานเลย)  แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้ ก็คือ

ประการแรก   ความรู้ทางวิชาการจริงๆไม่ค่อยมีโอกาสไปถึงหูถึงตาของผู้กำหนดนโยบายตัวจริงเท่าใดนัก   เพราะทุกครั้งที่เชิญเข้าร่วมประชุม  ท่านมักส่งลูกน้องมาฟัง  เพราะท่านอาจยุ่งเกินไป  หรือท่านยังมองไม่เห็นความสำคัญ   จนเกิดปัญหา จึงวิ่งลงมาหาตัวนักวิชาการให้ช่วยเล่าให้ฟังอีกที 

ประการที่สอง   ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ระดับกลางจะเป็นผู้กรองงานให้เจ้านาย  โดยที่ตัวเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องงานที่ตนกำลังพิจารณาอยู่    การตัดสินใจบางอย่างจึงรู้มากเกินนาย  และมักสำคัญว่า หน่วยงานของตนมีความสำคัญมาก เจ้าหน้าที่บางหน่วยงานเรียกร้องสิทธิพิเศษ   และคิดว่าเจ้านายของตนเป็นบุคคลสำคัญที่สุด 

 ประการที่สาม    เป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ต้องการ มักใช้หน่วยงานของตนเป็นตัวตั้ง (โดยมีกฎหมายเป็นตัวกำหนดกรอบในการตัดสินใจของตน)  ลืมตั้งคำถามเอากับกฎหมายที่ถูกกำหนดมาจากผู้รู้ไม่กี่คน หรือ กฎหมายถูกกำหนดมานานแล้ว ในขณะที่สถานการณ์เปลี่ยนไป  

 ไม่ว่าจะเป็น  การปฏิรูประบบราชการ  การมีส่วนร่วม  การทำ KM … ทุกกระบวนท่าคงต้องเอามาใช้เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ปรับเปลี่ยนให้ทุกฝ่ายเห็นเป้าหมาย มีทัศนคติที่ดีต่อกัน  เห็นปัญหาร่วมกัน  และทำงานเพื่อชาวบ้านจริงๆ
   
คำสำคัญ (Tags): #ผู้กำหนดนโยบาย
หมายเลขบันทึก: 87419เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2007 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ความรู้ทางฟิสิกส์พยายามค้นหากฏเกณฑ์ธรรมชาติทางวัตถุ และได้เข้ามาครอบคลุมพื้นที่ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิถีทางของมนุษย์ ซึ่งเป็นพรมแดนทางศาสนา

พักหลังทฤษฎีทางฟิสิกส์ประจักษ์ว่ากฏเกณฑ์ลี้ลับทางธรรมชาติมีความใกล้เคียงกับความรู้ทางศาสนา นักฟิสิกส์ชั้นนำหลายท่านได้ใช้กรอบความรู้ทางศาสนาเป็นแนวทางค้นหาความรู้ตามศาสตร์ของตน(ซึ่งมีคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือ) ที่เด่นชัดคือ          ไฮเซนเบร์ก(พุทธ) และไอสไตน์(คริสต์)

แต่ความนึกคิด ความเข้าใจ โครงสร้างและการจัดองค์กรทางสังคมตั้งแต่ระดับย่อยสุดจนถึงระดับโลกยังคงใช้กระบวนทัศน์ที่เป็นฟิสิกส์เดิมของนิวตัน      ส่วนใหญ่จึงไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง        ที่รวดเร็ว

ที่อาจารย์พบและบอกเล่าให้ฟังคือ ความนึกคิด  ความเข้าใจ และการจัดองค์กรที่ไม่สอดคล้องกับสถานะการณ์ซึ่งจะเกิดความอึดอัดกดดันจากทุกทาง

ความเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทัน
ความสามารถในการดำเนินชีวิตที่ต้องเกี่ยวข้องกับความนึกคิดและการจัดองค์กรทางสังคมทั้งของเราและของผู้อื่นเพื่อให้เกิดประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นและประโยชน์ร่วมกันคือ การจัดการความรู้ตามที่ผมเข้าใจครับ

                เห็นด้วยกับความคิดอาจารย์ภีมครับ เพิ่มเติมหน่อยหนึ่งว่าวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรหน่วยงานสำคัญมากครับ เปลี่ยนวงประชุมเชิงควบคุมสั่งการเชิงอำนาจในแนวดิ่งเป็นวงเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแนวระนาบ แบบเพื่อนเรียนรู้กันก็น่าจะดีนะครับ องค์กรจะได้เป็นองค์กรเรียนรู้กันมากขึ้น พูดง่ายแต่ทำยาก หลายหน่วยงานทำการเรียนรู้แบบนี้แล้วติดกรอบ ทำโชว์ กพร. ว่าทำองค์กรเรียนรู้แล้ว แต่ถึงแม้จะทำโชว์ ทำติดกรอบแบบนี้ ก็ยังดีกว่าไม่ทำใช่ไหมครับ แต่ที่อยากเห็นแบบว่าทำแล้วเนียนจริงๆ ยังจะหาดูไม่ค่อยได้ ลงทุนเป็นผู้เรียนรู้งานด้วยตนเองอย่างเป็นคุณกิจ ที่ทำกิจกรรมนั้นๆด้วยตนเอง

                แลกเปลี่ยนเท่านี้ครับ

ขอบคุณอาจารย์ภีมและอาจารย์จำนง  ทั้งสองท่านเป็น"ครู" ที่ให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์มากในเรื่อง KM     อาจารย์ภีมเคยบอกว่า ต้องลงมือปฏิบัติจึงจะรู้จริง

"เห็นประโยชน์ร่วม"  "share vision" คิดว่าตรงนี้สำคัญมากสำหรับการทำงานแบบ KM ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท