เมื่อได้รับมอบหมายให้ เป็นนักวิชาการท้องถิ่น


ทำให้ย้อนคิดถึงพื้นที่แถว ๆ บ้านผมในอดีตไม่ได้ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสวนฯแห่งนี้ในปัจจุบัน ซึ่งจะ สวนทางกัน ที่ในอดีตของสวนแห่งนี้เหมือนกับปัจจุบันบ้านผม และปัจจุบันของสวนฯ กลับเหมือนอดีตที่บ้านผม
        ได้รับมอบหมายให้ เข้าร่วมกิจกรรม เป็นที่ปรึกษา ด้านสิ่งแวดล้อมกับเยาวชนโดย เกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ท่านเหมวงศ์  ประกอบบุญ ได้มอบหมายให้ไปปฏิบัติภารกิจแทนท่านที่จังหวัดเพชรบุรี ตอนแรกก็ไม่ทราบว่าภารกิจใด ทราบเพียงแต่ว่าเป็นงานด้าน สิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานอื่น จึงเก็บสัมภาระ เดินทาง เข้าร่วมกิจกรรม  เมื่อมาเห็นหนังสือเชิญ ก็รู้สึกแปลก ๆ ดี ชื่องานว่า กิจกรรมเสริมความรู้ระดับภูมิภาค โครงการ โรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่น เฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 4 จัดขึ้น ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจัดโดย บริษัทฮอนด้าฯ น้องๆที่ สนง.แซวว่า เป็นนักวิชาการบ้านนอกไงพี่

        โดยเข้าพักแรมที่โรงแรม เจมส์ ชะอำ โดยมีบุคคลเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นน้องๆ นักเรียน ชั้นประถมปลาย-มัธยมต้น และนักวิชาการจาก เกษตร พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเขตการศึกษาพื้นที่ จังหวัดละ 4 หน่วยงาน เป็นที่ปรึกษา มีสมาชิกจากภาคใต้รวม 7 จังหวัด ประมาณ 100 คน

       วันแรก กิจกรรม  walk rally  พืชสมุนไพร และแปลงตัวอย่างฯ  แบ่งกลุ่มย่อยกลุ่มละ ประมาณ 30  คน 3 กลุ่ม รับคำถามจากทีมที่ปรึกษา แล้วแยกย้ายกันไปเป็นกลุ่ม  ค้นหาปริศนา และหาคำตอบ จากเจ้าหน้าที่ของสวนฯ จุดละ 3 คำถาม ทุกคนในทีมมีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยจะเน้นให้เด็ก  ๆ ได้แสดงออก มากที่สุด จนถึงเที่ยงก็พักรับประทานอาหาร ที่ทางสวนฯจัดให้  

       อาหาร เป็นข้าวห่อใบบัว ประกอบด้วยข้าวสวย ไข่ต้ม  น้ำพริกปลาทู  ผักจิ้ม  น่องไก่อบ และต้มจืดอีก 1 ถ้วย ก็ได้บรรยากาศดี (เหมือนย้อนยุคในสมัยที่ผมเด็ก ๆ ที่ห่อข้าวไปหาปลากับคุณทวด)  พอถึงภาคบ่าย เวลา 13.00 น ก็ Rally กันต่อในด้าน วนเกษตร+ไม้หอม, ไม้ผลเศรษฐกิจ / เกษตรผสมผสานและทฤษฎีใหม่ เดินกันทั้งวัน ระยะทางประมาณ 5 กม.เห็นจะได้ จนทุกคนเหนื่อยอ่อน บ่าย 4 โมง กลับที่พัก หลังจากทานอาหารเย็น ก็ต่อกันอีก ที่โรงแรม โดยได้สรุปบทเรียน และวางแผนร่วมกัน ระหว่างโรงเรียน ชุมชน และ ทีมพี่เลี้ยงเพื่อจะมาดำเนินการต่อที่จังหวัด

ที่น่าสนใจคือ การพัฒนาของโครงการฯ  (มีภาพถ่ายให้ดูพัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงเกือบทุกปี) จากที่โครงการมาเริ่มต้นเมื่อปี 2530 พื้นที่เป็นสภาพพื้นที่ไร่ ดินทราย ไม่มีพืชหรือต้นไม้ใหญ่ขึ้นเลย (เขาหัวโล้น) ดินเสื่อมโทรม ต่อมาเมื่อมีโครงการเข้ามา ก็ค่อยปรับสภาพขึ้นมาเรื่อย ๆ ตามลำดับ มีต้นไม้ขึ้นมาบ้างและก็มีต้นไม้ใหญ่ ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันนี้ เป็นพื้นที่ป่าไม้ ดี ๆ นี่เอง (เสียดายไม่ได้ถ่ายรูปมาฝาก)

ทำให้ย้อนคิดถึงพื้นที่แถว ๆ บ้านผมในอดีตไม่ได้ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสวนฯแห่งนี้ในปัจจุบัน ซึ่งจะ สวนทางกัน ที่ในอดีตของสวนแห่งนี้เหมือนกับปัจจุบันบ้านผม  และปัจจุบันของสวนฯ กลับเหมือนอดีตที่บ้านผม  มันเป็นไปได้อย่างไร?  แล้วในอนาคตล่ะ จะเป็นอย่างไร ? ไม่ทราบว่ามีทฤษฎีอะไร มารองรับกับเหตุการณ์อย่างนี้บ้างเปล่า  นอกจากจะหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและสังคมส่วนใหญ่ ด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระเจ้าอยู่หัวฯ พ่อหลวงของเรา

ผมจะนำประสบการณ์ที่ได้พบมา มาบอกเล่าให้กับชุมชนแถวๆบ้าน หรือในพื้นที่ ที่ลงไปทำงาน เมื่อมีโอกาส และคงต้องช่วยกัน อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ร่วมกันต่อไป
หมายเลขบันทึก: 87085เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2007 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ปัจจุบันการทำงานในด้านการส่งเสริมและพัฒนามีการปรับรูปแบบไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมนะครับ ดังตัวอย่างการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเยาวชนที่พี่ชัยพรได้บันทึกเล่า
  • งานส่งเสริมฯ ของเราก็น่าจะปรับรูปแบบ หรือให้แต่ละพื้นที่พัฒนารูปแบบการทำงาน แล้วนำสิ่งที่สำเร็จมา ลปรร. เพื่อพัฒนาและให้เกิดผลต่อเกษตรอย่างแท้จริง ได้อย่างหลากหลาย ไม่น่าจะเป็นแบบเดียวสำเร็จรูป.....
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน
  • ขอบคุณท่านสิงห์ฯ
  • ผมรู้สึกเหมือนย้อนอดีต จริงๆ

ประสบการณ์ดี ดี เหล่านี้ ทำให้คนในสังคมเมือง ก็อยากจะย้อนอดีตไปใช้ชีวิตอย่างพอเพียงได้เหมือนกันนะค่ะ

  • คุณ km
  • คุณ เด็กบันทึก
  • ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยือน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท