ค่ายอาสาพัฒนา (ตอนที่ 1)


ช่วงเวลาการอยู่ค่ายถึงแม้จะไม่ยาวนานนัก แต่ความผูกพันธ์ทางใจนั้นยิ่งใหญ่

          ได้อ่านข้อเขียนของคุณแผ่นดิน   เกี่ยวกับเสียงนกหวีดที่หายไปจากค่ายอาสาพัฒนา   กลายเป็นเครื่องเสียงสมัยใหม่      อ่านแล้วตกใจว่าค่ายอาสาพัฒนา เดี๋ยวนี้เปลี่ยนแปลง (จากสามสิบกว่าปีที่แล้ว) ไปถึงขนาดนี้แล้วหรือ   หรือว่าเราวิ่งตามสังคมไม่ทันแล้ว (เพราะอายุมากแล้ว)       อย่างไรก็ตามก็ยังอยากจะพูดถึงประสบการณ์การอยู่ค่าย (พูดถึงทีไรมีความสุขทุกที)     ถึงแม้วันเวลาที่ผ่านมาจะสามสิบกว่าปีแล้วก็ตาม  แต่ในความรู้สึกเหมือนเพิ่งผ่านไปเร็วๆนี้เอง  ความรู้สึกแบบนี้คงจะเหมือนกันกับชาวค่ายส่วนใหญ่นั่นเอง               

            เมื่อสมัยเป็นนิสิต   ได้สมัครไปค่ายของกลุ่มนิสิตนักศึกษาอาสาสมัครแห่งประเทศไทย (รวมทุกสถาบัน)        ก่อนออกไปอยู่ค่ายจริงจะต้องไปอยู่ค่ายทดลองก่อน ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์      เพื่อให้เราได้เรียนรู้ชีวิตและการทำงานของชาวค่าย     รู้บทบาทหน้าที่ของเราเมื่อออกสู่สถานการณ์จริง เพราะในการไปอยู่ค่ายจริงเรา (นิสิตนักศึกษา)  จะต้องแยกย้ายกันไปตามจังหวัดต่างๆ  ค่ายละ 10-20 คน      ไปทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ของนักเรียนระดับมัธยมในจังหวัดที่อาสาสมัครมาเป็นชาวค่ายด้วย          พวกพี่เลี้ยงจะต้องบริหารจัดการค่ายเองทั้งหมด   ตั้งแต่การหาทุนในการดำเนินการ ไปจนถึงปิดค่าย    นับเวลาในการเข้าค่ายจริง ๆ  20 วัน (ไม่รวมการเตรียมงาน)      ช่วงเวลาการอยู่ค่ายถึงแม้จะไม่ยาวนานนัก   แต่ความ ผูกพันธ์ทางใจนั้นยิ่งใหญ่ จำได้ว่าวันปิดค่าย ร้องไห้กันเกือบทุกคน  คนที่ไม่ร้อง  ก็กลั้นน้ำตากันแบบสุดๆเลย   ถึงแม้กิจกรรมค่ายจะจบลง แ  ต่สิ่งทีชาวค่ายได้รับติดตัวมาซิ ยิ่งใหญ่และคงทนอย่างไม่มีวันสิ้นสุด  เข้าใจอย่างลึกซึ้งกับคำพูดที่ว่า คนสร้างงาน  แต่งานก็สร้างคน

***************** 

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรม
หมายเลขบันทึก: 86795เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท