จับประเด็น National Forum HA (1)


เหตุเกิดที่นครพิงค์ สันทราย และสปร (1)

หวังว่าคงไม่สายเกินไป ที่จะขอมานั่งจับประเด็น (เย็นแล้ว) ตามหลักของทฤษฎีตัว U ก็พึ่งผ่านไปไม่ถึงสองอาทิตย์ดี

เนื่องจากคราวนี้ผมไปไม่ได้ถูก assigned ให้ต้องจดอะไรจากห้องไหนมา present ก็เลยมีโอกาสเลือกเต็มที่ และในวาระอันต่อเนื่องจากการอบรม อ่าน เขียน แปล กระบวนทัศน์ใหม่ หากจะขาด session สุนทรียสนทนา เหตุเกิดที่นครพิงค์ สันทราย และสวรรค์ประชารักษ์ ก็คงจะเสียแฟนพันธุ์แท้ไปแน่ๆ ได้ข่าวมาเนืองๆว่าจะมี "โชว์สด" ประกอบการแสดงด้วย พี่วิรัชอุบรายละเอียด บอกว่าให้มาดูเอง (ตามธรรมเนียมของสุนทรียสนทนาจริงๆ)

เนื่องจากเป็นวันสุดท้าย หอบข้าวของ check-out จาก รร.บางกอกกอล์ฟ หิ้วมาฝากไว้ที่ IMPACT บัดดลก็มีเสียงโทรศัพท์ดัง จับยามสามตาดู (ที่จอโทรศัพท์) ก็ทราบได้ในดวงจิตทันทีว่าท่านเจไดวฆ กำลังพยายามติดต่อมา เราก็รับสายเดินหา (นัยว่าบอกว่าเดินไปมาอยู่ชั้นเดียวกันนี่แหละ) ก็ไปเจอกันที่เชิงบันไดเลื่อน ด้วยความรักและคิดถึงทั้งสองก็ผวาเข้าหากัน กอดกันปานจะกลืนกิน ฉวยโอกาสนั้นประลองทุยโส่วกันในบัดดลสามประบวนท่า ด้วยความไม่ได้ซ้อมกันมานาน (ไม่เคยซ้อมเลย) เจไดทั้งสองคนก็ได้ลงไปวัดพื้นที่หน้าบันไดเลือนอย่างละเอียดว่ากว้าง ยาว เท่าไร สกปรกไหม ท่ามกลางสายตาของปุถุชนคนธรรมดา (ที่จะไม่เข้าใจว่าพวกเจไดเขาทำอะไรกัน)

ตั้งหลักเสร็จ (หลังทำสัญญานให้ยาม ตำรวจ ที่เฝ้า กลับไปนั่งสัปหงกตามหน้าที่เหมือนเดิม) ก็ควงแขนกันพากันไปร้านหนังสือสวนเงินมีมา (พี่วิรัชพาเสียเงินอีกแล้ว) ท่านเจไดวฆ ไม่รอช้า ควักซองค่าวิทยากรมาซื้อหนังสือหมดทันที (เธอกะไม่ควักกระเป๋าตัวเองเลย ลงมา กทม.ครั้งนี้) ผมก็ได้มาหลายเล่ม รวมทั้ง "อยู่กับมาร" ซึ่งพึ่งอ่านจบไปเมื่อคืนวาน ของ Stephen Batchelor (และทำให้ต้องสั่งซื้อ Buddhism without Belief จาก Amazon มาอีกเล่มทันที) แล้วเราก็ยกทัพไปห้องบรรยาย เพื่อเตรียมตัว เตรียม file ที่จะพูดกัน

ก็เจอทีมใหญ่ของวิทยากรทั้งหมดรวมตัวกัน (ทีมใหญ่จริงๆครับ พี่วิรัชเป็น moderator มีพี่กุลเป็นวิทยากร หมออภิชาตจาก สปร ท่านเจไดวฆ จากสันทราย หัวหน้างานที่นครพิงค์อีกท่านนึง พี่ชวนพิศ (คนนำเข้าสุนทรียสนทนา และคนขลุ่ยที่จะมาสะกด alpha wave ของคนในห้อง ทั้งหมดหกคน) เราก็ตั้งวง mini-talk กันทันทีทันใด ถูกมองด้วยสายตาแปลกๆจากเจ้าหน้าที่อ.อนุวัฒน์ว่าพวกนี้มันมาจากไหนกัน (ฟะ)

และแล้ว Anahatta ของอัลบัม Infinity ที่พวกบรรดาเจไดได้ยินได้คุ้นเคยทุกเช้าตรู่ตอนรำมวย ก็เริ่มสะกดบรรยากาศ พลัง wave beta เริ่มหดหายไป คราบหลงเหลือของบรรยากาศ debate บรรยากาศอภิรายค่อยๆจางลงไปถูกแทนที่ด้วย transquility ของเสียงบรรเลงเพลง new age ทีละน้อยๆ

พี่วิรัชเริ่มต้นเกริ่นนำ บอกพวก audience ในห้องว่า สักประเดี๋ยว ทีมวิทยากรจะขอเชิญชวนทำพิธีกรรม "ชักนำ" เข้าสู่กระบวนการฟังอย่างสุนทรีย์ ด้วยการเข้าสมาธิ คล้อยตาม narration ด้วยเสียงอันหวาน เย็น ของพี่ชวนพิศ และเสียงขลุ่ยเพียงออล้อเลียน เลียบเคียงไปกับคำรจนา ปรับ alpha และ theta ของคนให้ตื่นรู้ ตื่นตัวขึ้น

เริ่มต้นด้วยสุนทรียสนทนามันเป็นอะไรกันแน่ ซึ่งคำตอบก็คือ "มันพูดยาก" ตามแบบเดิมๆ เหมือนกับพยายามบอกใครว่าอาหารในปากของเรานั้นมัน "อร่อยอย่างไร" นั้นแหละ พี่วิรัชก็ปูพื้นว่าด้วย concept ของ Margaret Wheatley การฟังอย่างยินยอม ไม่ตัดสิน ไม่ปิดบัง และด้วยความเท่าเทียมกัน ไม่ต้องกังวลกับปัญหา หรือกลัวสนทนาจะไม่ราบรื่น (ซึ่ง Wheatley ช่วยให้กำลังใจโดยบอกว่า "เกิดขึ้นแน่ๆ") พูดถึง

  • การเรียนรู้วัยเยาว์
  • ความกระตือรือร้น อย่างรู้อยากเห็นของเด็กๆ
  • สมองสามชั้น
  • ไข่ไดโนเสาร์
  • สี่ทิศ
  • voice dialogue
  • deep listening
  • Hologram theory
  • Mode of brain
  • Biology of Belief (Bruce Lipton)\
  • คลืนสมอง Anna Wise (The Awaken Mind)
  • ไท้เก๊ก
  • จี้กง
  • จิตตปัญญาศึกษา (contemplative education)
  • ทฤษฎีเรื่องร่องอารมณ์
  • มณฑลแห่งพลัง (Flow: Mihaly Czigzenmihaly)
  • และทั้งหมดอยู่ในสุนทรียสนทนา

จากนั้นก็เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมู่ ว่าถึงความเป็นมา ที่มา แรงผลักดันของแต่ละโรงพยาบาลว่าทำไมจู่ๆอยู่ดีไม่ว่าดี ลุกขึ้นเต้นไทเก๊ก จิบชา กัน ไม่ยอมไปทำ HA กันให้เต็มที่ ฮึ

นครพิงค์ จะนำไปใช้ในการประชุม เพราะประชุมแล้วพูดไม่ค่อยรู้เรื่องกันเลย ทุกคนมาเพื่อจะพูด ไม่มีใครฟัง

สวรรค์ประชารักษ์ นำไปใช้แก้ปัญหาครอบครัว!! เผื่อจะได้ผ่าน HA ได้ดีขึ้น (แน่ไหมล่ะ!)

สันทราย เจไดวฆ เสียงสั่นเครือ กระแอม กระไอ ขากอยู่ในลำคออยู่พักใหญ่ก่อนจะพูดออก (ผมเข้าใจว่าเธอกำลังตัดสินใจว่าวันนี่จะลุยผิวน้ำ หรือจะดำน้ำอย่างที่โยดาว่าดี) แล้วก็เริ่มจากเหตุผลความเป็นมาของนักอ่าน นักทำ TQA, MBA, HA, TQM, QA, ETC A-Z BLAH BLAH BLAH จบลงที่ job สุดท้ายที่ได้รับมอบหมายที่กลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่อูฐตัวนี้จะรับไหว (ไม่ค่อยเหมือนอูฐเท่าไหร่เลย หลังเป็นหนอกก็จริง แต่มีเขา มีปีก ขากีบ เหมือนซาตานมากกว่านะครับ)

คนฟังขยับตัว อะไรมันจะหลากหลาย มากประโยชน์กันขนาดนี้ แก้ได้ทั้งปัญหาประชุม ปัญหาครอบครัว ปัญหาคุณภาพทีเดียวเจียวหรือ และแล้วแต่ละที่ก็เริ่มบรรยายประสบการณ์ แลกเปลี่ยน และแสดงผล (ระยะสั้น) ให้ฟัง

ผมคิดว่าประสิทธิภาพในการสื่อสารไม่ได้ถูก optimize เหมือนตอนที่เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย dialogue เพราะเป็นบรรยาย และการที่เวลาจำกัดมากๆ บรรยากาศการฟัง อะไรหลายๆอย่างทำให้เกิด sub-optimal condition ถึงแม้กระนั้นก็ตาม สำหรับคนที่พอมีพื้นอยูบ้าง ต้องขอชื่นชมที่พี่วิรัชและทีมได้ประสบความสำเร็จในการเชื่อมโยง แนะนำ และแสดงประโยชน์ของ การฟังที่ดี ออกมาได้หลากหลายรูปแบบ และน่าประทับใจ ยังไงๆก็คงจะต้องขอบพระคุณ HA และ อาจารย์อนุวัฒน์ที่ได้กรุณาเชิญทีมมาบรรยาย และนำเสนอผลงานกัน ในงานนี้อย่างที่เรียกว่า หลาย sessions มาก

ตอนจะจบมีคนถามคำถามน่าสนใจ "เอ... ถ้าหาก การสนทนามันไม่สุนทรีย์ มีพลังลบแทน แล้วจะแก้ไขปัญหาอย่างไร?"

หมออภิชาตชี้แจงว่า สุนทรียสนทนานั้น ไม่ได้หมายถึง สนทนาเรื่องสุนทรีย์ คือไม่ได้มารวมหัวกันเพื่อพูดจาไพเราะเพราะพริ้ง แต่เป็นความสุนทรีย์ที่เกิดจากการฟังอย่างมิติของใจเปิดรับได้ทุกอย่าง ท่านเจไดวฆเสริมว่าด้วยหลักการทำจิตใจ และผมก็เดินไปเติมนิดนึง ขอยืม slide พี่วิรัช บอกว่า การหน่วง หรือ suspension การตัดสินทุกชนิดนั้น ถ้าใช้ได้ดีแล้ว ตอนฟัง เราจะไม่เกิดความรู้สึกถูก ผิด positive หรือ negative ได้เลย

งานเลี้ยงมิมีวันไม่เลิกรา แต่งานนี้เสร็จสิ้นลง น่าจะเหมือนที่หนุ่มนครสวรรค์เรา (ศรชัย) บรรยายไว้ในบทความอำลาที่เชียงราย "ณ ที่นี้ เป็นเพียงจุดจบของจุดเริ่มต้นเท่านั้น" ดังที่ต่อมาอีกอาทิตย์นึง ภาคเหนือก็ได้มี movement การอบรมสุนทรียสนทนารอคอยอยู่อีก ไปเรื่อยๆ ตามมรรคาอันชีวิตมีความหมาย

 

หมายเลขบันทึก: 85914เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2007 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เป็นสุนทรียลิขิต ที่ทำให้อ่านเพลินดีนะคะ คุณ Phoenix ได้ทั้งยิ้มๆ และได้คิดอีกตามเคย ขอบคุณค่ะ
เน้นยิ้มเยอะๆก็แล้วกันครับ คิดมากเดี๋ยวหัวบวมไม่รู้เน้อ

สกลครับ

ช่วยอธิบาย interconnectedness เวลาที่แต่ละคนพูดเรื่องของตัวเอง ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นคนละประเด็น กัน มันมาเชื่อมกันได้อย่างไร

ผมลืมไปแล้ว

 

 

วิสัชนา

พี่เต็มครับ

"คนละประเด็น" นั้นเป็น perceptive หรือ proprioceptive meaning เป็นเพราะยิ่งเรามี background in common น้อยเท่าไร โอกาสที่จะทำอะไรๆ "คนละประเด็น" ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

วันก่อนผมไปราวน์ palliative care ให้กลุ่ม ใจและกาย (Soul & Physique) ของภาคศัลย์ ผมถามน้องพยาบาลคนหนึ่งว่า "จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าน้องที่มีหน้าที่ดูคนไข้ตามห้องพิเศษ ซึ่งมีมากมายหลายห้อง เราก็รีบจะไปทำหน้าที่ตามห้องต่างๆ พอกำลังจะออกจากห้อง จู่ๆ คนไข้ก็ถามมาว่า "คุณพยาบาลครับ ตอนนี้น้ำท่วมที่นาทวีลดลงรึยัง เป็นยังไงบ้างพอทราบไหมครับ" จะทำอย่างไร

คำตอบก็มีหลายแบบ เช่น "ประเดี๋ยวพยาบาลขอไปดูคนไข้อีกห้องแป๊บเดียวนะคะ เดี๋ยวจะมาคุยด้วยใหม่" หรือ อธิบายให้คนไข้เข้าใจว่าพยาบาลต้องไปทำหน้าที่อืนๆก่อน บางคนก็บอกว่าถ้าพิจารณาเห็นว่าเรื่องนั้น "ไม่สำคัญ หรือไม่เกี่ยวกับตัวโรค" ก็อาจจะขอตัวไปห้องอื่นๆก่อน

ซึ่งผมว่าก็ไม่มีถูก ไม่มีผิดอะไรหรอกครับ

แต่กลับมาประเด็นเดิมของเรา ผมเขียนถึงตอนนี้คนก็อาจจะเริ่มคิดว่า ผมกำลังนอกประเด็นอีกแล้ว เพราะเราไม่เห็น ความเชื่อมโยง หรือ interconnectedness ของสิ่งต่างๆ ข้อมูลต่างๆตรงหน้านี้

คนเรามี learning style หลายแบบนะครับ บางคนชอบอะไรที่เป็นรูปธรรม บางคนชอบนามธรรม บางคนชอบข้อมูลเข้ามาเป็นลำดับ เป็นขั้นตอน บางคนก็ชอบมาแบบสุ่ม แบบ random ดังนั้นเวลาที่ คนแต่ละคนจะ "เข้าประเด็น" นั้น มีทิศทางที่เคยชินแตกต่างกัน และแตกต่างกันได้เยอะจริงๆ

อย่างที่คนไข้ถามเรื่องน้ำท่วมนาทวีนั้น ผมอธิบายอย่างนี้ครับ คนไข้คนไทยนี้ขี้เกรงใจ และใครๆก็ไม่ชอบการถูกทอดทิ้ง เพราะเป็นการเสียฟอร์ม เสีย self โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ self นั้น fragile หรือกำลังเปราะบาง เราก็จะพยายาม เลียบๆ เคียงๆ เพื่อดูลาดเลา ดูเขาดูเรา ดูทีท่าว่าเรา เป็นที่ยอมรับไหม ของคณพยาบาล ของคุณหมอ ดังนั้นคนไข้ของเราจะมีวิธี อารัมภบท ได้หลากหลายครับ และบางครั้งจะอ้อมจนไกลมากกว่าจะเข้าเรื่อง

เรื่องของเรื่องก็คือ การที่คนไข้ "เลียบๆเคียงๆ" นั้น เขาอาจจะกำลังบอกเรื่องราวสำคัญต่อไปก็ได้ เช่น คนไข้อาจจะกำลังได้ยาเคมีบำบัดระหว่าง course อยู่ แต่เว้นไปวันสองวัน เผอิญเขาอยากจะทราบว่าถ้าจะลากลับบ้านไปสักวัน เพื่อไปดูสวนของเขาที่น่าทวี และจัดการอะไรให้เรียบร้อย จะเป็นไรไหม

เรื่องที่ไม่เกี่ยวก็เกี่ยวได้เหมือนกัน

เวลาที่คนเรานั่งในที่ประชุม และพูดเหมือนกับต่างคนต่างพูด และบางทีเหมือนกับคนละประเด็นนั้น จริงๆในมหาสมุทรแห่ง theta นั้น เราแทบจะไม่มีช่องแบ่งแยกใช่ไหมครับ และใน sub-realm แห่ง Delta นั้น หลายๆท่าน claim ว่ามันต่อเนื่องกันหมดทุกมิติ รวมทั้งเวลาด้วยซ้ำไป สิ่งที่เกิดขึ้นกับ Isaac Newton ใต้ต้นแอปเปิ้ลนั้น ก็อาจจะเกิดกับเราใต้ต้นพุทราได้ (อย่าเกิดใต้ต้นทุเรียนก็แล้วกัน)

David Bohm บอกเราว่าภายหลังการทำ Dialogue นั้น เราน่าจะเกิด collective thought และมี awareness ของ Proprioceptive thought คือเมื่อ The Observer becomes the observed นั่นเอง ดังนั้นเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวหรือไม่เกี่ยว ถ้าเราทำให้เชื่อมโยง (แม้แต่คนพูดอาจจะไม่ aware ก็ตาม) เราก็จะได้ collective thought ใหม่ของเรา เราได้ ดูดซึม ดูดซับ ความเป็นตัวตนของผู้เข้าร่วมประชุม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา เกิดเป็น "new เรา" หรือ "new ฉัน" (ไม่ใช่ Newton) ก็เป็น สุนทรียสนทนา ฉบับส่วนตัวก็ยังได้

ความเชื่อมโยงยังอาจจะหมายถึงอีกเรื่องหนึ่ง คือ ทฤษฎีตัว U ที่เราสามารถ suspend หรือห้อยแขวน judgemental attitude ต่างๆ (รวมทั้งที่ว่า "มันคนละประเด็น") เอาไว้ก่อน แล้วเรารอให้มันค่อยๆจมลงไปใน theta wave ของเรา (หรือแหล่งทำงาน subconsciousness ของเรานั้นแหละครับ) สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เราเคยประสบพบมาแต่เด็ก ลืมไปแล้วบ้าง (จาก beta consciousness) หรือคิดว่าทิ้งไปแล้วบ้าง ฯลฯ จะค่อยๆแทรกตัวมาจับ มาผูกพัน กับข้อมูลใหม่อันนี้อย่างอิสระ ไม่มี bias มาขัดขวาง จนเต็มที่แล้วค่อยๆลอยตัวขึ้นมา beta consciousness ใหม่อีกครั้งหนึ่ง Collective Thoughts แบบที่ห้อยแขวนไว้แล้วจะเป็น Mature Thought จากเราทั้งหมด ไม่ใช่แค่ "เราที่พื้นผิว" แต่เป็นเราจากทั้ง beta, alpha, theta oceon และ delta community ทั้งหมดเลย ก็เป็น ความเชื่อมโยงภายใน

เมื่อ ความเชื่อมโยงภายใน (suspend, U-theory) มาประสานกับ ความเชื่อมโยงภายนอก (non-judgemental attitude และ interconnectedness) เราก็จะมีอะไรที่น่าสนใจมากๆเกิดขึ้นในการรับรู้แบบนี้ เราจะใจกว้างมากขึ้น สนใจอะไรต่อมิอะไรได้อย่างกระตือรือร้นมากขึ้น

มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง เอวํ ก็มีด้วยประการละฉะนี้

กระจ่าง ขึ้นครับ

ขอบคุณ ขอบคุณ ถูกใจมากเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท