ได้อะไรจากประสบการณ์โครงการ Asia Link


          ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ Asia Link  ซึ่งเป็นโครงการที่ทางคณะเกษตรโดย ดร.ชนินทร์ อัมพรสถิร ได้ทำโครงการพัฒนาหลักสูตรสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว [รายละเอียด ]โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยนิวคลาวเซิล ประเทศอังกฤษ โดยทางมหาวิทยาลัยนิวคลาวเซิลได้ เดินทางมาวางแผนร่วมกัน การที่มหาวิทยาลัยจะเปิดหลักสูตร โดยเป็นการเรียนการสอนทางไกล นั้นไม่ใช่ว่าเราจะสามารถเปิดรายวิชาขึ้นมา จัดผู้สอน หาผู้สอนเท่านั้น แต่มหาวิทยาลัยนิวคลาสเซิล เค้าได้ส่งทีมงานเข้ามาศึกษากับมหาวิทยาลัยนเรศวรว่ามีความพร้อมเพียงใด มีการส่งทีมงานบรรณารักษ์ เข้ามาดูว่ามหาวิทยาลัยนเรศวรมี หนังสือทางด้านที่จะเปิดการเรียนการสอนเพียงพอหรือไม่ มีฐานข้อมูลที่จะรองรับการวิจัย มี e-book และมีบรรณารักษ์ที่มีความรู้สามารถช่วยให้นิสิตใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่างๆ จากห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        หลังจากเสร็จสิ้นโครงการทางมหาวิทยาลัยนิวคลาสเซิล และมหาวิทยาลัยนเรศวรจะต้องเขียนรายงานให้กับทางเอเชียลิ้งทราบต่อไป ซึ่งไหนๆ ผมจะต้องเขียนรายงานอยู่แล้วจึงขอเขียนลงในบล็อคเลยเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ทำกิจกรรมอะไรบ้าง

        การที่มีโครงการดังกล่าวทำให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังนี้

  1. ทางมหาวิทยาลัยนิวคลาสเซิลได้ส่ง บรรณารักษ์ Moira Bent มาเยี่ยมสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเรศวร
  2. สำนักหอสมุดส่งบรรณารักษ์ 2 คน คือ น.ส. ศศิธร ติณมาศ และ น.ส.วันเพ็ญ ตันจันทร์กูล ไปเยี่ยมห้องสมุด Robinson Library ของมหาวิทยาลัยนิวคลาสเซิล
  3. สำนักหอสมุดส่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ไปเยี่ยมห้องสมุด Robinson Library ของมหาวิทยาลัยนิวคลาสเซิล

ได้อะไรบ้าง

         ผลของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ห้องสมุดของสองสถาบันจากแนวคิดและประสบการณ์ที่ผมได้รับมีดังนี้

    1. ทำให้มีการแลกเปลี่ยนแนวความคิดในการบริหารจัดการห้องสมุด เช่น ห้องสมุด Robinson Library มีการจัดการสารสนเทศ การจัดหาหนังสือโดยมีบุคลากรเฉพาะสาขาวิชา ในการประสานงานกับคณะ และสาขาวิชา เพื่อให้การจัดหาสารสนเทศสอดคล้องกับความต้องการของสาขาวิชา

     2. ทำให้ได้แนวคิดเรื่องการจัดทำวิดีโอแนะนำบริการ เพื่อแนะนำการบริการของสำนักหอสมุดให้กับนิสิตใหม่ ซึ่งสำนักหอสมุดต้องแนะนำบริการให้กับนิสิตใหม่อยู่เสมอแต่ไม่ได้จัดทำเป็นวิดีโอจึงมีแนวคิดจัดทำเป็นวิดีโอเพื่อเพิ่มช่องทางความสะดวกให้กับผู้รับริการ โดยจัดทำเป็นวิดีโอในปีที่ผ่านมา

     3. แนวคิดเรื่องของการรักษาความปลอดภัยของสำนักหอสมุด ห้องสมุด Robinson Libraryมีการรักษาความปลอดภัยโดยตั้งแต่การเข้าใช้บริการต้องมีบัตรประจำตัวผู้ใช้บริการแบบบาร์โค๊ด เมื่อเข้ามาถึงทางเข้าต้องนำบัตรไปรูดกับเครื่องที่บริเวณทางเข้าทำให้ ข้อมูลชื่อนามสกุลและภาพถ่ายของนิสิตแสดงที่หน้าจอของเจ้าหน้าที่ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบว่าผู้เข้ารับบริการ กับบัตรที่นิสิตใช้เป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่ และถ้าไม่มีบัตรจะไม่สามารถเข้าใช้บริการห้องสมุดได้ นิสิตต้องไปจัดทำบัตรชั่วคราวเพื่อขอใช้บริการ ทำให้สามารถควบคุมผู้เข้าใช้บริการในเรื่องการรักษาความปลอดภัยได้ และห้องสมุดจะมีการติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด ในทุกๆ บริเวณเพื่อช่วยรักษาความปลอดภัย และการป้องกันหนังสือหายได้

   4. ห้องสมุด Robinson Library มีการติดตั้งระบบยืมคืนอัติโนมัติ และระบบประตูป้องกันการนำหนังสือออกโดยไม่มีการยืม เป็นการช่วยลดภาระการยืมคืนของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ทำให้ผู้ให้บริการสามารถไปให้บริการด้านอื่นๆ ได้เช่นการให้คำแนะนำบริการ

   5.  ได้แนวคิดเรื่องป้ายแสดงแนะนำบริการ และหมายเลขช่วยการค้นคว้า ที่ ห้องสมุด Robinson Library จะมีป้ายแนะนำบริการ และหมายเลขสัญลักษณ์ เพื่อบอก ข้อมูล infomation เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการสามารถรับบริการด้วยตนเอง ในการสืบค้น การถ่ายเอกสาร

http://www.ncl.ac.uk/biol/staff/profile/john.broderick

หมายเลขบันทึก: 8587เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2005 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท