เริ่มต้นการเดินทางของนักพัฒนา : กระบวนการวิเคราะห์ปัญหา


ความเป็นนักพัฒนามีอยู่ในใจของทุกๆคน

     ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ Patho OTOP ในฐานะกรรมการโครงการ  พี่เลี้ยง และที่ปรึกษาโครงการ  ดูเหมือนว่าจะสวมหมวกอยู่หลายใบ แต่ในความเป็นจริงหมวกทุกใบก็มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันคือ ต้องการเห็นนักพัฒนาฝีมือฉมังแจ้งเกิดขึ้นในภาควิชาของเรา   ความจริงที่ว่า "ความเป็นนักพัฒนามีอยู่ในใจของทุกคน" เห็นได้ชัดเจนจากการที่มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ Patho OTOP เป็นจำนวนมาก และมีความกระตือรือร้นที่จะจัดทำโครงการตามกระบวนการที่สร้างไว้ให้

     ในหน่วยโลหิตวิทยาเอง ก็มีบุคคลากรรวมกลุ่มเพื่อสร้างโครงการพัฒนางานถึง 3 ทีมหลักด้วยกัน คือทีม เก็บตก  สาวน้อยประแป้ง และ บานไม่รู้โรย ทั้งสามทีมนี้ดูกระตือรือร้นในการจัดทำโครงการเป็นอย่างมาก เท่าที่ได้สังเกตจากกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป้าหมายหลักที่เป็นจุดให้บริการของทั้งสามทีม คือผู้ป่วย (ผู้รับบริการหมายเลข1) อาจเป็นเพราะส่วนหนึ่งทำเลที่ตั้งของหน่วยงานอยู่ใกล้กับ OPD ทำให้มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย เห็นใจและเข้าใจในการรอคอยอันยาวนานของผู้ป่วยก็ได้ เป้าหมายของทั้งสามทีมจึงคล้ายคลึงกัน คือลดระยะเวลาการรอคอยผลการทดสอบ (turnaround time)

หมายเลขบันทึก: 858เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2005 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พี่คะ คือ อยากรู้ว่า"กระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและจรรยาบรรณ"มีความหมายรวมๆว่าอย่างไรค่ะ

พี่กรุณาบอกหน่อยนะค่ะ ช่วยส่งทางเมลนะค่ะ

ขอขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท