เรื่องแปลเกี่ยวกับการใช้ E-journal ของ Colorado State University


ทดลองแปลบทความเกี่ยวกับ E-journal ไม่รู้ว่าแปลถูกผิดอย่างไร อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้กำลังศึกษาเรื่องนี้บ้างไม่มากก็น้อย

Cochenour, D. & Moothart T. 2003. E-journal Acceptance at Colorado State University : a case study. Serial  Review. 29(1) :16-25                 การศึกษาการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโด (CSU-Colorado state University) นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้ฐานข้อมูลเพื่อนำไปปรับปรุงการให้บริการที่ดีกว่าเดิม และเป็นข้อมูลในการจัดหาวารสารอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับนโยบายของห้องสมุดที่ต้องการจัดหาวารสารอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 40 ของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด โดยมีแผนดำเนินการในอีก 4-6 ปี รวมถึงใช้เป็นข้อมูลในการจัดหาวารสารอิเล็กทรอนิกส์ให้มีคุณภาพที่สุดตามงบประมาณที่ได้รับ โดยที่ผ่านมาได้รับงบประมาณในการจัดหาวารสารเป็นจำนวนร้อยละ 17 ของงบประมาณในการจัดหาทรัพยากรทั้งหมด                การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ   ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาปริญญาตรี นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้ปฏิบัติงาน ในคณะวิชาต่างๆจำนวน 6,968 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 322 ชุด ศึกษาข้อมูลในภาคฤดูร้อน ปี 2001 ผลการศึกษาเกี่ยวกับทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และการสืบค้นฐานข้อมูล พบว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 มีการเชื่อมต่อใช้ข้อมูลจากสถานที่ทำงาน รองลงมาร้อยละ 33 เชื่อมต่อใช้ข้อมูลจากบ้านส่วนใหญ่ร้อยละ 83.3มีทักษะเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ และร้อยละ 81.6 ทักษะการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตในระดับดี จำแนกตามช่วงอายุพบว่า กลุ่มผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ และทักษะการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตในระดับดี (ร้อยละ 65.9, 61.5 ตามลำดับ) จำแนกตามประเภทของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ และทักษะการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตในระดับดีมากกว่ากลุ่มนักศึกษาปริญญาตรี และบุคลากร                ผู้ใช้ส่วนใหญ่ร้อยละ  65.2 ติดต่อฐานข้อมูลจากการเชื่อมโยงผ่านหน้า OPAC ร้อยละ 58.8 เชื่อมโยงจากรายชื่อหัวเรื่องบนเว็บ ร้อยละ 55.5 เชื่อมโยงจากลำดับอักษรื่อวารสารบนเว็บ และร้อยละ 39.4 ใช้การเชื่อมโยงจากรายการบรรณานุกรมที่ปรากฏในฐานข้อมูล ด้านความถี่ในการใช้ฐานข้อมูลพบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 42.5 ใช้ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ทุกสัปดาห์ รองลงมาร้อยละ 30.2 ใช้ทุกเดือน ร้อยละ 10.1 ใช้ทุกปี ร้อยละ  9.4 ใช้ทุกวัน และร้อยละ 7.9 ไม่เคยใช้ฐานข้อมูลดังกล่าว จำแนกตามสาขาวิชาพบว่า ร้อยละ 55.0 ใช้ฐานข้อมูลทุกเดือน ซึ่งได้แก่ สาขาธุรกิจ และสาขาวิจิตรศิลป์เป็นสาขาวิชาที่มีจำนวนผู้ไม่เคยใช้ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์สูงสุด (ร้อยละ 20.5)                 สำหรับปัญหาที่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาพบในการดูผลการสืบค้นพบว่า ร้อยละ 40 พบปัญหาในระดับบ่อยๆ เกี่ยวกับการแสดงผล  ร้อยละ 38.7 พบปัญหาเป็นบางครั้งในการดาวน์โหลดข้อมูล   และร้อยละ 33.4 พบปัญหาเป็นบางครั้งในการพิมพ์ผลข้อมูล   เมื่อจำแนกตามสาขาวิชาพบว่า สาขาวิศวกรรมศาสตร์ร้อยละ 57.4  พบปัญหาที่เกิดจากการแสดงผลที่หน้าจอมากที่สุด    ร้อยละ 3.5 ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษาสาขามนุษยศาสตร์ประยุกต์พบปัญหาในการแสดงผลที่หน้าจอเป็นประจำ  และร้อยละ 14.0 ของสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติไม่เคยพบปัญหาดังกล่าว                 ในด้านการให้ความสำคัญของวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอายุมากกว่า 4 ปี พบว่า ร้อยละ 82.0 เห็นว่ามีความสำคัญ จำแนกตามระดับความสำคัญ ได้ดังนี้ ในระดับสำคัญมากที่สุด  สาขาวิศวกรรมศาสตร์เห็นด้วยร้อยละ 57.4 รองลงมาสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเห็นด้วยร้อยละ 57.1 และสาขาทรัพยากรธรรมชาติเห็นด้วยร้อยละ 53.1  ในระดับมีสำคัญ สาขามนุษยศาสตร์ประยุกต์เห็นด้วยร้อยละ 47.1 สาขาสัตวแพทยศาสตร์เห็นด้วย 45.5 และสาขาเกษตรศาสตร์เห็นด้วยร้อยละ 42.2  ในระดับไม่สำคัญ สาขาธุรกิจเห็นด้วยร้อยละ 38.9  อื่นๆ เช่นโครงการต่างๆ เห็นด้วยร้อยละ 29.7 สาขามนุษยศาสตร์ประยุกต์เห็นด้วยร้อยละ 18.8 และในระดับที่ไม่มีความสำคัญเลย ได้แก่ สาขามนุษยศาสตร์ประยุกต์เห็นด้วยร้อยละ 5.9  อื่นๆ เช่นโครงการต่างๆ เห็นด้วยร้อยละ 4.4 และสาขาเกษตรศาสตร์เห็นด้วยร้อยละ 2.2                ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการยกเลิกวารสารฉบับพิพม์และการจัดหาวารสารรูปแบบต่างๆ ให้เหมาะสมนั้น  พบว่านักศึกษาบัณฑิตศึกษาร้อยละ 47.5 ต้องการให้ห้องสมุดจัดหาประเภทอิเล็กทรอนิกส์อย่างเดียว ร้อยละ 48.6 ต้องการให้ห้องสมุดจัดหาทั้งประเภทวารสารอิเล็กทรอนิกส์และฉบับพิมพ์ และร้อยละ 3.8 ต้องการให้ห้องสมุดบอกรับเฉพาะวารสารฉบับพิมพ์เท่านั้น เมื่อจำแนกตามสาขาวิชาพบว่า สาขาที่สนับสนุนให้จัดหาเฉพาะวารสารที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ 3 ลำดับแรกได้แก่ สาขาธุรกิจเห็นด้วยร้อยละ 30.0 อื่นๆ เช่นโครงการต่างๆ เห็นด้วยร้อยละ 29.5 และสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เห็นด้วยร้อยละ 29.2   ปัจจัยที่สนับสนุนให้บอกรับเฉพาะวารสารที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์นั้น สาขาวิศวกรรมศาสตร์ร้อยละ 87.0 เห็นว่าสำนักพิมพ์ได้การันตีในการเข้าใช้ฐานข้อมูล สาขาทรัพยากรธรรมชาติร้อยละ 31.5 เห็นว่าเป็นเพราะวารสารฉบับพิมพ์มีจำนวนผู้ใช้น้อย  สาขามนุษยศาสตร์ประยุกต์เห็นว่ามีการใช้วารสารฉบับพิมพ์ที่มาก และไม่สามารถที่ยกเลิกการบอกรับฉบับพิมพ์ได้ (ร้อยละ 19.5, 20.7 ตามลำดับ) และสาขาทรัพยากรธรรมชาติร้อยละ 13.7 เห็นว่ามีเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่สามารถยกเลิกการบอกรับวารสารฉบับพิมพ์ได้  สำหรับการจัดสรรงบประมาณนั้น  นักศึกษาบัณฑิตศึกษาร้อยละ 59.5 เชื่อว่าห้องสมุดจะสามารถจัดสรรงบประมาณในการจัดหาวารสารที่เป็นฉบับพิมพ์และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

  •  สงวนลิขสิทธิ์โดยสิริพร ทิวะสิงห์ ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 10 สิงหาคม 2552

หมายเลขบันทึก: 85660เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2007 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขออนุญาตท้วงติงเล็กน้อยค่ะ  ด้วยความเป็นบรรณารักษ์และนักวิชาการ

การเขียนอ้างอิงเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ค่ะ 

กรณีบทความนี้ ตีพิมพ์ใน Serials Review
Volume 29, Issue 1, Spring 2003, Pages 16-25   ไม่ใช่ Elsevier Science ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ค่ะ 

หากต้องการอ้างว่า ได้ค้นมาจากฐานข้อมูลอะไร เข้าใจว่า น่าจะเป็นค้นจาก ฐานข้อมูล ScienceDirect หรืออาจเป็น Scopus นะคะ  ซึ่งข้อมูลแหล่งที่ค้นสามารถให้เพิ่มเติมได้ค่ะ แต่ bibliographic information ต้อง complete เสียก่อนค่ะ 

 ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ สำหรับการเสนอแนะและให้ข้อมูลที่ถูกต้อง

ซึ่งต่อไปจะต้องตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องมากกว่านี้... 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท