เสวนาสร้างทีมจัดการความรู้เคลื่อนงานองค์กรการเงินสวัสดิการชุมชน


แลกเปลี่ยนความคิดฝันและสร้างทีมทำงานด้วยกัน

วันที่ 11 เมษายน 2550 หน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะจัดประชุมเสนอแนวความคิดชุดประสานงานวิจัย องค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน และพิจารณาโครงการวิจัยโดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน ณ ห้องประชุม 1 หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชั้น19 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ โดยมีกำหนดการ ดังนี้

09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียน

09.30 น. เปิดการประชุม

09.30 - 09.40 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประชุม

09.40 - 10.00 น. นำเสนอแนวความคิดชุดประสานงานวิจัย platform องค์กรการเงินและ สวัสดิการชุมชน
10.00 - 12.00 น. เสวนา "การขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน" โดยภาคีสนับสนุน

-สำนักงานพัฒนาชุมชน
-สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

-ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย
-สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

-เครือข่ายพระสงฆ์

-มูลนิธิดร.ครูชบ ยอดแก้ว

-กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
-สมาคมนักพัฒนาหมู่บ้านฯโดยอาจารย์จำนง สมประสงค์และมูลนิธิเผยแพร่ชีวิตประเสริฐโดยอาจารย์วิโรจน์ ศิริอัฐ
-สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
-สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฯลฯ

12.00 - 13.00 น. พักอาหารเที่ยง

13.00 - 14.00 น. นำเสนอร่างข้อเสนอโครงการวิจัยจากภาคีวิชาการ

14.00 - 16.00 น. อภิปรายให้ข้อเสนอแนะโครงการวิจัยเชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน

16.00 น. ปิดการประชุม

การประชุมในครั้งนี้สืบเนื่องจากการจัดเวทีสวัสดิการการชุมชนคนไม่ทิ้งกันของขบวนองค์กรชุมชนโดยการสนับสนุนของพอช.เมื่อวันที่4-5กุมภาพันธ์ 2550ที่มสธ. ซึ่งผมมองว่าเป็นหนึ่งในขบวนที่ใช้แนวคิด3เหลี่ยมเขยื้อนภูเขามาขับเคลื่อนงานให้บรรลุผล คือ 1)ใช้กระบวนการทางชุมชน/สังคมในการขับเคลื่อน เชื่อมโยงกับ2)การจัดการความรู้ และ3)เชื่อมโยงกับภาคการเมือง

1)ภาคการเมืองมีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยท่านรัฐมนตรีซึ่งขึ้นนั่งรองนายกฯฝ่ายสังคมเป็นอาจารย์ใหญ่

2)กระบวนการทางชุมชน/สังคมเป็นแนวคิดในการดำเนินงานของพอช.ซึ่งผู้บุกเบิกจัดตั้งสำคัญก็คือท่านรัฐมนตรีนั่นเอง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆโดยให้ขบวนองค์กรชุมชนเป็นแกนกลางของการขับเคลื่อน มีพอช.ทำหน้าที่เป็นกองเลขา

3)การจัดการความรู้ คือ การให้ความสำคัญกับความรู้ในตัวคน คือการเห็น/เคารพ/ให้คุณค่ากับความเป็นคนที่มีความรู้ตามความจำเป็น/สนใจของแต่ละคนและสามารถเรียนรู้ได้

ผมเห็นว่า นอกจากขบวนองค์กรชุมชนที่ร่วมกันขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนโดยการสนับสนุนของ พอช.แล้ว ยังมีภาคีอื่นที่มีแนวคิดหรือมีหน้าที่ในการสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนไม่ต่างกันมากนัก เช่น กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และชุมนุม สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย เป็นต้น จึงน่าจะได้มาเสวนาร่วมกันเพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความคิดฝันและสร้างทีมทำงานด้วยกัน

ชุดประสานงานวิจัย องค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน โดยการดำเนินงานของหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน จะขอมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเหลี่ยมจัดการความรู้เพื่อทำให้ขบวนองค์กรการเงินและระบบสวัสดิการชุมชนมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยในวันประชุมจะเชิญภาคีสนับสนุนระดับนโยบาย ที่สำคัญมี2ชุดคือ ชุดแผนแม่บทการเงินฐานรากของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและชุดสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นของพม.และพอช. รวมทั้งภาคีปฏิบัติการสนับสนุนในพื้นที่คือกรมการพัฒนาชุมชน เครดิตยูเนี่ยน เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน ธกส. สัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาท พอช. เป็นต้น มาหารือกันให้เห็นภาพการขับเคลื่อนเพื่อให้ภาคีวิชาการเข้ามาเสริมทั้งการสร้างฐานความรู้ และการจัดการความรู้ เป็นการทำงานร่วมกันของนักปฏิบัติการและนักวิชาการ

หมายเลขบันทึก: 85545เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2007 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
        เป็นโครงการที่น่าสนใจมากค่ะ ทำอย่างไรจะให้สัมพันธ์กับการปฏิบัติการที่ได้ลงมือทำไปบ้างแล้วไม่ว่าจะเป็น กลไก แนวทางการขับเคลื่อน ที่พอช กำลังดำเนินการอยู่ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนการสร้างความเข้าใจแนวคิด ทิศทางการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนมีการหมุนเวียนไปจัดเวทีในระดับภาคทุกภาคและแต่ละภาคก็มีรายละเอียดในการทำงานที่คล้ายกันและเห็นตรงกันว่าน่าจะใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการยกระดับการพัฒนาองค์กรการเงินให้สามารถบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกด้านและเป็นแกนหลักในการเชื่อมโยงสู่การพัฒนาในด้านอื่น ๆ สำหรับในภาคใต้จะมีการจัดประชุมคณะทำงานเพื่อปรึกษาหารือ และติดตามความก้าวหน้าหลังจากกลับจากการสัมมนาเมื่อวันที่ 30-31 มค แล้ว ในวันที่ 3 เมษายน ที่ พอช ภาคใต้ ขอเชิญพี่ภีมด้วนนะคะ แล้วจะส่งหนังสือตามมา     ส่วนวันที่ 11เม ย ชวนพัชด้วยหรือเปล่า จะได้จองตั๋วแต่เนิ่น ๆเพราะใกล้กับวันหยุดสงกรานต์จะเดินทางลำบาก

วันที่3เมษายนพี่มีรายการเข้าร่วมประชุม โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของอาจารย์อภิชัย พันธเสนที่กรุงเทพ

เสียดายที่ตรงกันพอดี

ที่จริงก็ตรงกับแนวคิดของพัชคือให้ภาคีวิชาการ     เข้ามาเสริมการเคลื่อนขบวนทั้งฐานความรู้และการจัดการความรู้ ในส่วนของพอช.พี่เชิญพี่มิบกับผอ. เพราะเน้นส่วนหัวของหน่วยสนับสนุน เป็นวงเรียนรู้ส่วนกลาง

สำหรับวงเรียนรู้พื้นที่จะใช้ขอบเขตจังหวัดและตำบล

คงนำร่องในแต่ละภาคๆละจังหวัด โดยใช้เป็นต้นแบบขยายผลภายในภาค

พี่เข้าร่วมขบวนภาคตะวันตกที่ตำบลหนองสาหร่าย

วันที่21-22มี.ค.เป็นขบวนภาคเหนือที่เชียงราย       ทีมงานชวนไปร่วมงานด้วย แต่พี่ไม่ได้ไป มีทีมดร.ทิพวัลย์ อ.วิไลลักษณ์ และอ.ยุทธภัณฑ์ที่ร่วมอยู่ในเครือข่ายวิชาการจัดการความรู้ขบวนการเงินและสวัสดิการชุมชนไปร่วมด้วย คงเก็บรายละเอียดเล่าให้ฟังภายหลัง

 ก็ตั้งใจจะเชื่อมโยงเครือข่ายวิชาการจัดการความรู้เพื่อหนุนเสริมขบวนให้ครบทุกภาคครับ เพราะเท่าที่เห็นขบวนยังต้องการการหนุนเสริมอยู่พอสมควร

ขอบคุณพัชที่ส่งข่าวให้ทราบ อยากให้พัชช่วยเชื่อมโยงจนท.ของพอช.ที่ตามเรื่องนี้ในภาคต่างๆเปิดBlogสื่อสารความเคลื่อนไหวกัน เราจะได้เรียนรู้จากกันได้มากขึ้นครับ

การเข้าประชุม ถ้าพัชสามารถใช้งบองค์กรได้พี่ก็ขอเชิญด้วย เพราะค่อนข้างรู้เรื่องนี้ดีมากคนหนึ่ง
           ตั้งใจว่าจะไปร่วมประชุมด้วยพอดีเจอจิ๋ม (ศรีไพร  )  ที่กรุงเทพฯ บอกว่าพี่มิบจะให้ไปแทนพัชก็เลยตัดสินใจว่าน่าไปด้วย แล้วก็หาซื้อตั๋วเดินทางปรากฏว่าไม่มีตั๋วเลยทั้งไปและกลับ

พี่ซื้อไว้แต่เนิ่นๆก็ยังไม่มีโดยเฉพาะขากลับ ต้องลงที่สุราษฎร์วันที่12เมษายน ขึ้นวันที่10

ที่จริงเที่ยวขึ้นน่าจะพอหาตั๋วได้ รถทัวร์น่าจะมี ขากลับมาลงสุราษฎร์ด้วยกันซีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท