จรรโลงชีวิต : สมพร เพชรสงค์


จรรโลงชีวิต

จุดเปลี่ยนรอยต่อของกาลเวลาเหมือนคนจะแยกอดีต คือปีเก่า และอนาคตคือ ปีใหม่ หลายคนหันมาสนใจอย่างจริงจังอีกครั้งในการรำลึกถึงตนเอง ถึงการดำรงอยู่อย่างมีความสุข แต่ก็อาจมีบางมุมมองที่น่าสนใจนำมากล่าวอ้าง (คนเดิม: 2521)

ผมไม่เคยคิดถึงอนาคตประเดี๋ยวมันก็มา (Albert Einstein : 1879-1955)”

สิ่งที่ดีที่สุดเกี่ยวกับอนาคตก็คือ มันมาทีละวัน (Abraham Lincoln : 1809-1865)”

ผมสนใจในอนาคตก็เพราะว่าผมต้องใช้ชีวิตส่วนที่เหลือของผมที่นั่น (Clarles Kettering:1876-1958)”

ถึงอย่างไรใคร ๆ ก็ยอมรับนับว่าเป็นห้วงเวลาของการเข้าสู่ปีใหม่กันแล้วและมันหมายถึงการต้องใช้ชีวิตต่อไปอีกสามร้อยหกสิบห้าวันในอนาคต แล้วจะวนเวียนเข้าสู่บรรยากาศเช่นช่วงนี้ในปีหน้า ก็ขอให้มีเวลานี้ในปีหน้ากันทุก ๆ คน

กลิ่นอายของการอวยพร การส่งความสุขความปรารถนาดี มีกระจายให้เกลื่อนตา สรวลเสเฮฮา ปาร์ตี้ ร่าเริงบันเทิงใจ มีให้เห็นเป็นประจำ ก็หนึ่งปีมีหนึ่งครั้งนี่ ไม่อยากพูดถึงที่อาจมีบางคนเป็นการจบลงด้วยความเศร้าของห้วงเวลารอยต่อนี้... ไม่ปรารถนาให้เป็นเช่นนั้นเลย

ปีใหม่นี้ลองมาพิจารณาการใช้เวลาจรรโลงชีวิตตัวเองอีกมิติหนึ่งดีไหม ในสามร้อยหกสิบห้าวัน

ต่อจากนี้มีอยู่ สิบ ประการ (ปาฏิหาริย์ : หาเวลาเพื่อจรรโลงชีวิต) ให้แนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้

หนึ่ง รู้จัก ใช้เวลาที่จะคิด เพราะความคิดเป็นบ่อเกิดแห่งพลังปัญญา ความคิดก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ และจินตนาการ หลายคนประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้ด้วยการค้นพบความคิดของตนเอง แต่ละวันลองหยุดคิดพินิจสักครู่ตรวจสอบดูตนเองคงจะเป็นประโยชน์ ในการก้าวต่อไป คนเริ่มต้นชนะกันที่ความคิด

สอง รู้จัก ใช้เวลาที่จะเล่น เพราะการเล่นและออกกำลังกายจะทำให้พลังความเป็นหนุ่มเป็นสาวคงอยู่ยาวนาน การเสริมความแข็งแรงของร่างกายที่เหมาะสมทำให้ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ เสริมสร้างสุขภาพจิตให้สดใส ในสติปัญญาเปรื่องปราชญ์ วันนี้ออกกำลังกายแล้วหรือยังสาม รู้จัก ใช้เวลาที่จะอ่าน

เพราะการอ่านทำให้เกิดความฉลาดและรอบรู้ การอ่านก่อให้เกิดการสะสมความคิดสติปัญญาการแก้ปัญหา การอ่านเป็นหนทางหลักของความสำเร็จทางการศึกษา และความก้าวหน้าของชีวิต ก็เลือกอ่านที่ชอบก่อนซิ และถ้าจดบันทึกไว้บ้างก็จะดี

สี่ รู้จัก ใช้เวลาที่จะสวดมนต์ภาวนา การสวดมนต์ภาวนาทำสมาธิ จะสร้างพลังแห่งการต่อสู้ในภาวะที่เกิดปัญหาหรือในภาวะที่ต้องผจญกับปัญหา การท่องจำสวดมนต์ภาวนาเสริมสร้างความแข็งแกร่งพัฒนาสมาธิก่อให้เกิดสติ การระลึก การจำแนกแยกแยะและปฏิบัติได้โดยชอบห้า รู้จักใช้เวลาที่จะรัก

ความรักทำให้ชีวิตมีคุณค่า การรักตัวเอง รักพ่อรักแม่ รักคนรัก รักลูก รักหลาน รักความยุติธรรม รักสภาพแวดล้อม ที่พึงควรจะทำให้เกิดการหวงแหนการห่วงใยผูกพันและสันติสุข มีชีวิตชีวา หวือหวาและมุ่งมั่นหรือใครปฏิเสธรัก ไม่พร้อมที่จะได้รักและถูกรัก

หก รู้จักใช้เวลาที่จะหัวเราะ การหัวเราะ เป็นเสมือนดนตรีที่จะให้ความสุนทรีย์แห่งจิตใจ ในทางการแพทย์ การหัวเราะทำให้กล้ามเนื้อบนใบหน้าเคลื่อนไหวหลายมัด เสริมสร้างความสดใสบนใบหน้าให้อ่อนวัยไม่อมทุกข์ มีอารมณ์ขันบ้างจะเพิ่มเสริมเสน่ห์แก่ตนเอง แต่คงไม่หัวเราะขำเกินพร่ำเพรื่อน่าเบื่อหน่ายเจ็ด รู้จักใช้เวลาที่จะเสริมสร้างมิตรภาพคบเพื่อน

นกไม่มีขนคนไม่มีเพื่อนบินไม่ได้ช่าง หดหู่แสนเหงา มนุษย์เป็นสัตว์สังคม การคบหาเพื่อนยังประโยชน์ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ สร้างรสชาติให้แก่ชีวิต การร่วมกิจกรรมสมาคม การรู้จักคบคนก็เป็นมงคลต่อตนเอง คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล

แปด รู้จักใช้เวลาที่จะทำบุญ การทำบุญการให้ที่พึ่งให้เป็นความสุข ทั้งผู้ให้และผู้รับความเพียรในการกุศล ควรทำเสียแต่วันที่ ใครจะรู้ความตายว่าจักมีในวันพรุ่งนี้ บุญเป็นสายใยสายรัดโครงสร้างทางสังคมเก้า รู้จักใช้เวลาที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อความภาคภูมิใจ สร้างกำลังใจ และความชื่นชมให้กับตัวเองงานยากงานท้าทายเป้าหมายใหม่ ๆ วิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยมถูกกำหนดขึ้น เป็น แรงขับเคลื่อนพัฒนาเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ งานเสร็จคือความสุขของผู้ปฏิบัติกับความชื่นชมที่ตามมา

สิบ รู้จักใช้เวลาที่จะสำนึกถึงบุญคุณของผู้อื่น การรู้สำนึกต่อบุญคุณของผู้อื่นหรือกตัญญูต่อผู้มีอุปการคุณจะช่วยให้ผู้รับมีความสุขรับรู้และชอบชื่นชมต่อผู้กตัญญูนั้น จากสำนึกเป็นการแสดงออกถึงการกตัญญูรู้คุณเสียแต่วันนี้ ก่อนที่ไม่มีโอกาสได้ให้ผู้มีบุญคุณต่อเรารับรู้ได้

สิบประการที่เล่ามาไม่คาดหวังปรารถนาให้ใคร ๆ เปลี่ยนอะไร เพราะมีความเชื่อตามที่ Richard S.Zera (คนเดิม:2521) บันทึกไว้ว่า

Consider how hard it is to change yourself and you’ll understand what little change others.ลองพิจารณาดูว่าเป็นเรื่องยากเพียงใด ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวของคุณเอง แล้วคุณจะเข้าใจว่า

คุณมีโอกาสน้อยเพียงใดที่พยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่น”

 

แต่ก็มีความมั่นใจและเชื่อว่าทั้งหมดนี้หลายคนรู้จักมีและปฏิบัติแล้ว อยู่ที่ตัวเราเอง ก็ลองทบทวนการใช้เวลาอีกสักนิดและหวังว่าคงไม่คิดไปเปลี่ยนแปลงคนอื่น ฝึกชอบที่เขาเป็นมากกว่าให้เขาเป็นที่เราชอบ เพราะแทนที่จะเกิดสุข กลับกลายเป็นทุกข์ของเราเอง และจะสำคัญมีคุณค่ายิ่งกว่านั้นก็คือ ความสามารถดำรงตน การทำงานลดส่วนเกินเติมส่วนขาดในความเป็นของเราและคนอื่นอย่างราบรื่นและเป็นสุข.... ได้ตลอดไป

คำสำคัญ (Tags): #จรรโลงชีวิต
หมายเลขบันทึก: 84868เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2007 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

รู้ว่าบทความจรรโลงชีวิตของอาจารย์มีสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบันได้ดีมากคับผมขออนุญาตินำไปใช่บางนะคับ

ดีมากค่ะ ชอบมาก จะเป็นข้อมูลครูรักการอ่านก้ได้ นำปรับเปลี่ยนสอนนักเรียนให้ข้อคิดได้ ต่อไปจะฝึกค้นหาข้อมุลจากเขตพื้นที่ให้มากว่านี้ จากหลาย ๆ ฝ่าย เพื่องานเสร็จทันเวลาบ้าง

จรรโลงชิวิตจริงๆค่ะ ผ่านมา 10ปี ก็ยังใช้ได้

“ชอบที่เขาเป็นมากกว่าให้เขาเป็นที่เราชอบ”

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท