คุณมีความแตกฉานด้านสุขภาพระดับไหนคะ


ในวันที่ 16 มีค. ดิฉันได้เข้ารับฟัง ที่ meeting room 4 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Health Promotion เรื่อง ความแตกฉานด้านสุขภาพ (Health Literacy )ซึ่งวิทยากรนำทีมโดย ผศ. ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ (เป็นหญิงเก่ง ขวัญใจของดิฉันอีกท่านหนึ่ง) ขอนำมาเล่าคร่าวๆ ดังนี้ค่ะ

 ความแตกฉานด้านสุขภาพ (Health Literacy ) เป็นผลลัพธ์ของการส่งเสริมสุขภาพ และเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการให้อำนาจแก่ประชาชนให้ได้เรียนรู้อย่างเข้าถึงระดับที่สามารถใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ  

ระดับ 1  เป็นระดับพื้นฐาน เช่น การให้ข้อมูลในรูปแผ่นพับ  การให้สุขศึกษาแบบดั้งเดิม

 

ระดับ2  เป็นระดับการปฏิสัมพันธ์  ซึ่งเน้นการพัฒนาทักษะส่วนบุคคล ทักษะทางสังคม และผลลัพธ์ด้านพฤติกรรม

 ระดับ 3 เป็นระดับวิพากษ์  ซึ่งจะสะท้อนพฤติกรรมด้านพุทธิปัญญา( Cognitive) เชื่อมประโยชน์ประชาชน สังคม ไปพร้อมกับประโยชน์บุคคล

 ซึ่งในระดับโรงพยาบาลควรมีถึงระดับที่2 เป็นอย่างน้อย 

เราอาจประเมินผลลัพธ์ความไม่แตกฉานด้านสุขภาพของผู้ป่วยแบบง่ายๆ ได้ เช่น

 *มาพบแพทย์เมื่อมีอาการหนักมากแล้ว

*บอกไม่ได้ว่ากังวลใจเรื่องอะไร

*ขาดนัดหลายครั้ง

*ไม่มาตามนัด

*ใช้ยาไม่ถูกต้อง 

มีการนำเสนอตัวอย่างผลการทำวิจัยเพื่อสร้างเครื่องมือวัดความแตกฉานทางปัญญาอย่างเป็นระบบ ของนศ.ป.โท 3 ท่าน ใน 3 แผนก ได้แก่ สูติกรรม  ผู้ป่วยมะเร็ง  และผู้ป่วยอายุรกรรม ซึ่งทำให้ทราบและเข้าใจว่าการใช้แบบสอบถามและแบบฟอร์มที่เป็นระบบจะช่วยประเมินความเข้าใจ เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ในขณะที่ให้บริการผู้ป่วย เช่น การจัดกลุ่มเรียนรู้ การให้สุขศึกษาที่ OPD

แต่ถ้าไม่มีแบบประเมินก็อาจใช้เทคนิคง่ายๆ เช่น

1.ถามชื่อยาที่ผู้ป่วยกินอยู่อย่างน้อย 2 ชนิด และให้ระบุความแตกต่าง หรือวัตถุประสงค์ของยาที่กินแต่ละประเภท

2.ให้ผู้ป่วยดูรูปหรือเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งและให้เล่าว่าภาพนั้นพูดว่าอย่างไร หรือเขียนอธิบายว่าอย่างไร

3ให้ผู้ป่วยเขียนข้อความที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการรักษา 

สิ่งที่ได้เรียนรู้         

 -จะส่งเสริมให้ผู้ป่วยตกผลึกในข้อมูลที่ได้รับ เพื่อตัดสินใจด้านสุขภาพตนเองได้อย่างไร         

-เกิดคำถามว่าแผ่นพับมากมายในโรงพยาบาล มีผู้ป่วยรู้เรื่องแค่ไหน         

-แบบประเมินระดับ Health Literacy น่าจะเป็นเครื่องมือพัฒนาเพื่อผลิตสื่อ สำหรับผู้เกี่ยวข้องได้อย่างดี  

หมายเลขบันทึก: 84601เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2007 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ถ้าเป็นคนธรรมดาที่ไม่ได้อยู่ในวงการสาธารณสุข ผมจะทราบได้อย่างไรครับว่าผมมี ความแตกฉานด้านสุขภาพ (Health Literacy) ระดับใด
น่าจะมีวิธีประเมินสำหรับคนทั่วไปนะคะ

กำลังสนใจเรื่องนี้อยู่เหมือนกันค่ะ อยากทำเป็น dissertation ด้วย แต่ยังไม่รู้จะเริ่มยังไง เพราะในเมืองไทยดูเหมือนเป็นเรื่องที่ใหม่มาก และยังไม่ค่อยมีข้อมูล คิดอีกทีหนึ่งก็ท้าทายดีนะคะ ^ ^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท