บุญผะเหวด ขนบธรรมเนียมประเพณีชาวอิสาน


บุญผะเหวด
          เมื่อวาน (16 มีนาคม 2550) ผมได้กลับบ้านเพื่อไปร่วมงานบุญผะเหวด รู้สึกว่าประเพณีงานบุญแถวบ้านเรานี้ ให้อะไรเราหลายๆ อย่าง นอกจากจะร่วมสนุกสนานแล้ว ยังได้พบปะกับญาติ หรือบุคคล ที่ห่างหายไปนาน มารวมตัวกันอีกครั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่าง นอกจากนั้นที่มาที่ไปของบุญผะเหวดนี้ ซึ่งจังหวัดผม( ร้อยเอ็ด ) ได้ยึดประเพณีนี้เป็นประเพณีประจำจังหวัด ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในวันที่  3 - 5 มีนาคม 2550 หลังจากนั้น ตามหมู่บ้านต่างๆ ก็ทยอยจัดตามมา

  
ขบวนกัณฑ์ชูชก ในงานประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด  
ประเพณีงานบุญผะเหวด (พระเวส) หรือ "งานบุญเทศน์มหาชาติ" เป็นงานบุญที่สำคัญสำหรับชาวพุทธทั่วประเทศ ทั้งใน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) และ ภาคใต้ จะจัดขึ้นในราวเดือน11 - 12 หลังออกพรรษาของทุกปี
          ส่วนในภาคอีสาน งานบุญผะเหวดเป็นงานบุญที่สำคัญที่สุดในรอบปีของชาวอีสาน ซึ่งจัดขึ้นในเดือน 4 ของทุกปี(ประมาณเดือนมีนาคม  -  เมษายน )   ตามจารีตประเพณีที่ทำสืบทอดกันมาแต่โบราณเชื่อกันว่า หากผู้ใดได้ฟังเทศน์ผะเหวด หรือเทศน์มหาชาติจบทั้ง 13 กัณฑ์ (มีกัณฑ์ทศพร,กัณฑ์หิมพานต์,กัณฑ์ทานกัณฑ์,กัณฑ์วนประเวศน์,กัณฑ์ชูชก,กัณฑ์จุลพน, กัณฑ์มหาพน, กัณฑ์กุมาร,กัณฑ์มัทรี,กัณฑ์สักกบรรพ,กัณฑ์มหาราช, กัณฑ์ฉกษัตรย์,และนครกัณฑ์)  
          ภายในวันเดียวและบำเพ็ญความดีผลบุญที่ผู้นั้นได้กระทำลงไป) จะส่งให้บุคคลนั้นได้ไปเกิดร่วมชาติเดียวกับพระพุทธเจ้า
  
ขบวนแห่นครกัณฑ์ กัณฑ์ที่ 13 ที่ยิ่งใหญ่สวยงามในประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด   
          นอกจากจะมีการฟังเทศน์มหาเวสสันดรชาดกเพื่อสืบศาสนาแล้วชาวอีสานยังถือเป็น ประเพณีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ในวันนี้จึงจัดให้มีพิธีกรรมขอฝนด้วย และในงานบุญพระเวสนี้ นับแต่โบราณคนอีสานนิยมเล่นผีตาโขนด้วยเพราะชาวบ้านจินตนาการว่าในช่วงที่พระเวสสันดร และพระนางมัทรีเข้าเมืองคงจะมีคนป่าหรือผีป่าที่เคยปรนนิบัติและเคารพรักพระเวสสันดร ร่วม ขบวนตามไปส่งด้วย ในวันงานบุญผะเหวดนี้ชาวบ้านจะนำผ้าพระเวส (ผ้าที่วาดเป็นเรื่องราวในมหาเวสสันดร ชาดก เหมือนกับภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังแต่วาดลงในผ้า) ไปขึงรอบสิม เพื่อให้ผู้ที่มาร่วมงาน บุญหลวงได้ปะพรมด้วยน้ำอบน้ำหอม และมีการจัดทำข้าวปุ้นหรือขนมจีนให้ผู้มาร่วมงานบุญได้ กินฟรีกันทุกคน
คำสำคัญ (Tags): #บุญผะเหวด
หมายเลขบันทึก: 84513เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2007 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2013 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ตามมาอ่านครับผม
  • อยากให้เขียนเรื่องแนวนี้อีก
  • ไม่เสียชื่อที่ทำ IT
  • ขอบคุณครับผม

ถึงพี่ ขจิต ครับ

แนววัฒนธรรมพื้นบ้าน เป็นแนวปฏิบัติมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย สืบทอดกันมาเรื่อยๆ ดังนั้นเราควรที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่เหลืออยู่ให้อยู่กับเราตลอดไปครับ

ประเพณีบ้านผมเองครับ สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยคุณย่าตาทวดโน่นคับ อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม เข้ามาคุยกับ...............วิมานเทพ  นะครับ

เยี่ยมเลยยอดด้วยอยากเข้าร่วมพิธีนี้มั่งจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท